หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

การเคารพนับถือนักบุญ

     พระเจ้าทรงศักดิ์สิทธิ์ และพระองค์มีพระประสงค์ที่จะประทานความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ พระเจ้าทรงเรียกชาวอิสราเอลให้เป็นประชากรศักดิ์สิทธิ์ ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์ทุกคนศักดิ์สิทธิ์
 
     วิวัฒนาการการเคารพนักบุญ และการวิงวอนพระเจ้าโดยผ่านทางนักบุญ เริ่มต้นมาจาก การเคารพมรณสักขี ในศตวรรษที่สอง (ค.ศ. 155) มีเอกสารยืนยันเกี่ยวกับการฉลองวัน
ครบรอบการเป็นมรณสักขีของนักบุญโปลีการ์ป พระสังฆราชแห่งสมีนาร์ คริสตชนมาชุมนุมก ันในวันครบรอบการเป็นมรณสักขีของท่าน และมีพิธีบิปัง (มิสซา) ที่หลุมศพของท่าน
คริสตชนได้เก็บรักษา “กิจการของมรณสักขี” และรายละเอียดเกี่ยวกับการสิ้นใจของมรณ
สักขีด้วยความเอาใจใส่ มีการส่งเอกสารเหล่านี้ต่อกันตามวัด และมีการอ่านในพิธีกรรม
เพื่อเป็นการเตือนใจและเป็นแบบอย่างแก่คริสตชน

     ต่อมามีการฉลองนักบุญที่ไม่ได้เป็นมรณสักขี (confessor) (พระสังฆราช หญิงพรหมจารี นักพรต จิตตาภิบาล นักปราชญ์ ฯลฯ) ซึ่งมีกำเนิดมาจากความศรัทธาของคริสตชนต่อชีวิตอันเป็นแบบอย่างของบุคคลเหล่าน ี้ จะเห็นได้ว่าในยุคแรกการแสดงความเคารพต่อนักบุญเป็นกิจกรรมในระดับพระศาสนจักรท้องถิ่น ยังไม่มีกระบวนการแต่งตั้งนักบุญอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน การเคารพบรรดานักบุญเริ่มต้นมาจากความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อผู้ศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจั กรท้องถิ่นของตน โดยการรับรองของพระสังฆราชในท้องถิ่นนั้นๆ  

         ในศตวรรษที่ 6-12 เริ่มมีกระบวนการแต่งตั้งนักบุญโดยพระสังฆราชในท้องถิ่นนั้นๆ ในเบื้องต้นพระสันตะปาปาแต่งตั้งนักบุญที่กรุงโรม ต่อมาในศตวรรษที่ 4 พระสันตะปาปาเริ่มแต่งตั้งนักบุญใน
สังฆมณฑลอื่นๆ ด้วย

         ตั้งแต่ปี  ค.ศ. 993-1234 พระสันตะปาปาแต่งตั้งนักบุญพร้อมกับพระสังฆราชอื่นๆ  หลังจาก
ค.ศ. 1234  การแต่งตั้งนักบุญสงวนไว้สำหรับพระสันตะปาปา  พระสันตะปาปายอห์นที่ 15 เป็นพระ
สันตะปาปาองค์แรกที่ประกาศแต่งตั้งนักบุญอย่างเป็นทางการ คือ นักบุญอุลริก สังฆราชแห่งออสเบิร์ก
(ค.ศ. 993) ในปี ค.ศ. 1634 มีกฎให้เป็นบุญราศีก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญ

สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้ปรับปรุงกฎการฉลองนักบุญดังนี้

     1. การฉลองนักบุญขึ้นอยู่กับการฉลองพระคริสตเจ้าและเทศกาลของปีพิธีกรรม
     2. ปฏิทินสากลเสนอเฉพาะนักบุญที่มีความสำคัญในระดับสากล ส่วนท้องถิ่นและหมู่คณะนักบวชสามารถมีการฉลองนักบุญของตนเองได้ตามปฏิทินท้องถิ่น
     3. แบ่งการฉลองเป็น
         สมโภช  เช่น สมโภชนักบุญยอแซฟ สมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล สมโภช
                     นักบุญทั้งหลาย ฯลฯ
         ฉลอง   เช่น ฉลองอัครสาวก ฉลองผู้นิพนธ์พระวรสาร
         ระลึกถึงบังคับ และไม่บังคับ

     แนวทางในการฉลองนักบุญในพิธีกรรม คือ ถ้าขั้นสมโภช และฉลอง พระศาสนจักรจะจ ัดบทอ่านและบทภาวนาให้ทั้งหมดในมิสซา โดยในขั้นสมโภชจะอ่านบทอ่าน 2 บท และพระวรสาร ส่วนในขั้นฉลองจะอ่านบทอ่าน 1 บท และพระวรสาร แต่ถ้าขั้นระลึกถึงจะมีบทภาวนาให้อย่างเดียว (ยกเว้นบางคนที่ม ีชื่อในพระคัมภีร์ เช่น ทิโมธี ติตัส ฯลฯ พระศาสนจักรจะจัดบทอ่านที่เกี่ยวข้องกับนักบุญท่านนั้นๆ ไว้ในมิสซาด้วย)

พระศาสนจักรให้ความหมายของการฉลองนักบุญไว้ ดังนี้

     1. นักบุญมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้า 
     2. พวกท่านเลียนแบบพระเยซูและเป็นแบบอย่างแก่เรา
     3. การวิงวอนผู้เป็นนักบุญ คือ การวิงวอนพระเป็นเจ้าผ่านทางคำเสนอวิงวอนของท่าน

วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย

     ตามปฏิทินสากลของพระศาสนจักรคาทอลิก เราสมโภชนักบุญทั้งหลายในวันที่ 1 พฤศจิกายน แต่เนื่องจากวันสมโภชนี้เป็นว ันฉลองบังคับ พระศาสนจักรในประเทศไทยไม่สามารถสมโภชตรงวันได้ (ถ้าวันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวันธรรมดา) จึงเลื่อนการสมโภชนักบุญทั้งหลายมาสมโภชในวันอาทิตย์ถัดจากวันที่ 1 พฤศจิกายน (ยกเว้นถ้าวันที่ 1 พฤศจิกายน ตรงกับวันอาทิตย์ก็สมโ ภชตรงวัน)

ประวัติความเป็นมา

        จุดกำเนิดของการสมโภชนี้มาจากพระศาสนจักรตะวันออก ได้มีการฉลองมรณสักขีทั้งหลายในตอนต้นศตวรรษที่ 4 ซึ่งกา รกำหนดวันฉลองนี้แตกต่างกันไปตามพระศาสนจักรท้องถิ่นในแต่ละแห่ง

       ที่กรุงโรม   พระสันตะปาปาบอนิฟาสที่ 4  (ค.ศ. 608-615)  ได้กำหนดการฉลองนี้ในวันที่  13
พฤษภาคม เมื่อพระสันตะปาปาได้รับวิหารของคนต่างศาสนา คือ พานเทออน (ซึ่งไม่ได้ใช้มากว่า 100 ปี) เป็นของขวัญจากจักรพรรดิโพคาส และในวันที่  13  พฤษภาคม ปี ค.ศ. 609 (610?) พระองค์ได้อ ภิเษกวิหารนี้ให้เป็นวัดของคริสตชน  เพื่อเทิดเกียรติพระนางพรหมจารีมารีย์และบรรดามรณสักขีทั้ง
หลาย

     พระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 3 (ค.ศ. 731-741) ทรงสร้างวัดน้อยในมหาวิหารนักบุญเปโตรเพื่อถวายเกียรติแด่นักบุญทั้งหลาย และทรงกำหนดให้มีการฉลอง
ประจำปีในวันที่ 1 พฤศจิกายน

         พระสันตะปาปาเกรโกรีที่  4 (ค.ศ. 828-844) ทรงขยายการสมโภชนักบุญทั้งหลายในวันที่ 1
พฤศจิกายนไปทั่วพระศาสนจักร

มิสซาและความหมายของวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย

         บทนำขอบพระคุณในมิสซาสมโภชนักบุญทั้งหลาย  ได้ให้ความหมายของธรรมล้ำลึกในการฉลองนี้
“พระองค์โปรดให้
ข้าพเจ้าทั้งหลายคิดถึงสวรรค์ ซึ่งเป็นนครเยรูซาเล็มใหม่ เป็นบ้านเกิดเมืองนอนแท้จริงของข้าพเจ้าทั้งหลาย ณ  ที่นั้นบรรดา พี่น้องที่ได้รับมงกุฎ ต่างสรรเสริญพระองค์... ขอร่วมยินดีกับบรรดาสมาชิกของพระศาสนจักร ซึ่งได้รับเกียรติรุ่งโรจน์ในบรรดาชาวสวรรค์เหล่านั้น  ในโอกาสนี้  พระองค์ประทานความ
ช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายให้ชนะความอ่อนแอ และประทานแบบอย่างจูงใจให้ประพฤติตามอีกด้วย”
ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า  ในวันสมโภชนักบุญทั้งหลายไม่ได้เป็นการ
ฉลองแค่เพียงนักบุญที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระศาสนจักร   แต่เป็นการฉลองสำหรับผู้ตาย
ทุกคนที่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ณ เมืองสวรรค์

       บทอ่านที่ 1 (วว 7:2-4, 9-14) บรรยายถึงบรรดานักบุญในฐานะ
“ผู้ที่ได้รับการประทั บตราจำนวนหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันคน..  มาจากทุกเผ่าของชาวอิสราเอล”   และในฐานะ
“ประชาชนมากมายเหลือคณานับจากทุกชาติ ทุกเผ่า ทุกประเทศและทุกภาษา” ซึ่งยืนอยู่เฉพาะพระบัลลังก์และเฉพาะพระพักตร์ลูกแกะ ทุกคนสวมเสื้อขาว ถือใบปาล์ม ในตอนท้ายของบทอ่านได้กล่าวว่า “คนเหล่านี้คือผู้ที่มาจากการเบียดเบียนครั้งใหญ่ เขาซักเสื้อของเขาจนขาวในพระโลหิตของลูกแกะ”เป็นคำอุปมาซึ่ง
แสดงความจริงว่า นักบุญทั้งหลายเป็นผลมาจากธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้า พวกเขาต้อง
ผ่านทางแห่งกางเขนก่อนจึงจะได้รับสิริรุ่งโรจน์

         บทอ่านที่ 2 (1ยน 3:1-3) ได้กล่าวถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของพระบิดา ที่ทรงทำให้เราเป็นลูกของพระองค์ เรามีความหวังว่าที่สุดแล้วเราจะได้อยู่กับพระองค์ และเราต้องดำเนินชีวิตในโ ลกนี้ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ เหมือนกับที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์ โดยมีแนวทางที่เราจะปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่
ความศักดิ์สิทธิ์ คือ บุญลาภ 8 ประการจากบทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นเนื้อหาของ
พระวรสารในวันสมโภชนี้ (มธ 5:1-12ก)

       ในบทภาวนาของประธานและบทภาวนาเตรียมเครื่องบูชา เราวอนขอบรรดานักบุญให้อ้อนวอนพระเป็นเจ้าเพื่อเรา
“ข้าพเ จ้าทั้งหลายขอให้บรรดานักบุญจำนวนมากมายนี้  ช่วยอ้อนวอน
พระองค์ให้ประทานความช่วยเหลือที่ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะได้รับด้วยเถิด”
(บทภาวนาของประธาน) “โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้สึกอยู่เสมอว่าท่านนักบุญในสวรรค์เหล่านี้ คอยเอาใจใส่ช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายได้รับความรอดพ้นอยู่เสมอ” (บทภาวนา
เตรียมเครื่องบูชา) ในบทภาวนาหลังรับศีลเรากราบนมัสการและอ้อนวอนขอพระหรรษทานจากพระเป็นเจ้า
“โปรดช่วยเหลือข้าพเจ้าให้บรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ มีความรักพระองค์อย่างบริบูรณ์ จะได้ผ่านจากการเลี้ยงศักดิ์สิทธิ์ชั่วคราวในโลกนี้ ไปร่วมการ
เลี้ยงนิรันดรในสวรรค์บ้านแท้ด้วยเถิด”

       วันสมโภชนี้จึงเตือนใจเราว่า เราทุกคนเป็นลูกของพระเจ้า  พระองค์ทรงปรารถนาให้เราเป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับพระองค์  เป้าหมายปลายทางในชีวิตของเราคือ บ้านเที่ยงแท้นิรันดรในเมืองสวรรค์  เราจึงต้องพยายามดำเนินชีวิตของเราในโลกนี้อย่างดีโดยปฏิบัติตามคำสอนและแบบฉ บับของพระเยซูเจ้า  นอกจากนั้น  เรายังมีบรรดานักบุญซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เรา  ในการดำเนินชีวิตที่เราสามารถยึดเอาชีวิตของพวกท่านเป็นแบบอย่างได้ และเรายังสามารถวอนขอบรรดานัก บุญให้อ้อนวอนพระเป็นเจ้าเพื่อการดำเนินชีวิตของพวกเรา จะได้เป็นไปอย่างดีตามพระประสงค์ของพระองค์

หน้าหลักหน้ารวมเปิดโลกคำสอน