หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

ประวัติวันสมโภชพระคริสตสมภพ

         เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่พูดถึงการสมโภชพระคริสตสมภพในวันที่ 25 ธันวาคม มีต้นกำเนิดมาจากพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก คือ ปฏิทินซึ่งบันทึกวันครบรอบการสิ้นชีวิต (เกิดใหม่ในพระเจ้า) ของพระสังฆราชแห่งกรุงโรม (พระสันตะปาปา) (Depositio episcoporum) และปฏิทินซึ่งบันทึกวันครบรอบการสิ้นชีวิต (เกิดใหม่ในพระเจ้า) ของมรณสักขีชาวโรมัน (Depositio martyrum) ซึ่งสันนิษฐานว่าบันทึกโดยฟูริอุส ดิโอนีซิอุส ฟิโลกาลุส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 354 ทำให้เราทราบว่าอย่างน้อยในปี ค.ศ. 336 ที่กรุงโรมได้ทำการสมโภชพระคริสตสมภพในวันที่ 25 ธันวาคมแล้ว

         ทำไมที่กรุงโรมจึงฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม มีสมมุติฐานดังนี้ คือ

               1.เป็นการแทนที่วันฉลองของชาวโรมันซึ่งฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม คือ ฉลองการบังเกิดของสุริยเทพผู้พิชิต (Natale (Solis) Invicti) ที่จักรพรรดิเอาเลเรียนเป็นผู้ริเริ่มให้ฉลองในปี ค.ศ. 274 คริสตชนฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทนที่วันฉลองนี้ โดยเปรียบเทียบว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น
“ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรม” (Sun of  Justice) “แต่ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรมซึ่งมีปีกรักษาโรคภัยได้   จะขึ้นมาสำหรับคนเหล่านั้นที่ยำเกรงนามของเรา   เจ้าจะกระโดดโลดเต้นออกไปเหมือนลูกวัวออกไปจากคอก” (มลค 4:2) “เดชะพระเมตตากรุณาของพระเจ้าของเรา พระองค์จะเสด็จมาเยี่ยมเราจากเบื้องบน ดังแสงอรุโณทัย” (ลก 1:78) และพระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก (ยน 8:12)

         2.ธรรมประเพณีโบราณในศตวรรษที่ 2-3 ที่เชื่อว่า พระเยซูเจ้าทรงปฏิสนธิและสิ้นพระชนม์ในวันและเด ือนเดียวกัน คือ วันที่   25 มีนาคม (วันที่ 14 เดือนนิสาน) ดังนั้น วันบังเกิดของพระองค์จึงเป็นวันที่ 25 ธันวาคม

       การฉลองวันพระคริสตสมภพแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วทั้งทางตะวันตกและตะวันออกในศตวรรษที่ 4 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะธรรมล้ำลึกที่ฉลองในวันพระคริสตสมภพเป็นคำตอบที่ถูกต้องต่อคำสอนที่หลงผิดของ พวกเฮเรติ๊กลัทธิอาเรียน (Arianism) ที่สอนว่าพระบุตร (พระเยซูเจ้า) ไม่เท่ากับพระบิดา  พระบุตรเป็นเพียงสิ่งสร้างแรกของพระบิดาแม้ จะทรงเป็นสิ่งสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  ในเรื่องการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระบุตรนั้น  เฮเรติ๊กลัทธินี้สอนว่าธรรมชาติพระเจ้าของพระบุตรเ ข้าแทนที่ธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์  เราเห็นคำสอนที่ถูกต้องของพระศาสนจักรเรื่องการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าได้อย่า งชัดเจนในพิธีกรรมวันสมโภชพระคริสตสมภพ  ซึ่งเน้นที่ธรรมชาติพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ของพระเยซูเจ้า สอดคล้องกับคำสอนของสังคายนาที่นิเชอา (ค.ศ. 325) ซึ่งประณามคำสอนของลัทธิอาเรียน

       พิธีกรรมสมโภชคริสตสมภพ

         ตามธรรมประเพณีโรมัน  จากบทเทศน์พระคริสตสมภพของพระสันตะปาปาเกรโกรี่  มหาสมณะ (ค.ศ. 604) เราพบว่าในวันสมโภชพระคริสตสมภพ อนุญาตให้พระสงฆ์ถวายมิสซาได้ 3 มิสซา คือ มิสซากลางค ืน (Missa in nocte) มิสซารุ่งอรุณ (Missa in aurora) และมิสซากลางวัน (Missa in die) (สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เพิ่มมิสซาเย็นเตรียมสมโภชเข้าไปอีก 1 มิสซา) บทอ่านของทั้ง 3 มิสซา เป็นคำยืนยันของพยาน และผู้นิพนธ์พระวรสารเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า พระบุตรพระเจ้า

         อันที่จริงในศตวรรษที่ 4  มีมิสซาสมโภชพระคริสตสมภพเพียงมิสซาเดียวที่มหาวิหารนักบุญเปโตร (เ วลาประมาณ 9.00 น.) ต่อมาในศตวรรษที่ 5 มีมิสซาเที่ยงคืนที่มหาวิหารแม่พระ (St. Marry Major)  ซึ่งสร้างขึ้นหลังสังคายนาที่เอเฟ ซัส  ในปี ค.ศ. 431 สังคายนานี้ประกาศว่า พระนางมารีย์คือพระมารดาของพระเจ้า  และในวัดน้อยใต้ดินของมหาวิหารนี้ได้เก็บรักษา พระธาตุของถ้ำเลี้ยงสัตว์ที่เบธเลเฮม สถานที่ที่พระเยซูทรงบังเกิดไว้ด้วย จึงเป็นธรรมเนียมที่พระสันตะปาปาจะมาถวายมิสซาในตอนเที่ ยงคืนที่วัดน้อยแห่งนี้ เชื่อว่าการถวายมิสซาเที่ยงคืนน่าจะมาจากธรรมเนียมของคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็ม ในคืนก่อนวันสมโภชพระคริส ต์แสดงองค์ (Epiphany) คริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็มจะร่วมขบวนแห่เพื่อไปร่วมมิสซาที่เบธเลเฮม ในวัดที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสร้างขึ้น บนสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นถ้ำที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด หลังจากนั้นพวกเขาจะแห่กลับไปยังกรุงเยรูซาเล็มและร่วมมิสซาเช้าที่นั่น   ประมาณกล างศตวรรษที่ 6  เพิ่มมิสซารุ่งอรุณที่วัดนักบุญอนาสตาเซียแห่งซิมิอุม   (St. Anastasia of Sirmium)  นักบุญองค์นี้เป็นมรณสักขีที่คร ิสตชนจารีตตะวันออกให้ความนับถืออย่างมาก  และฉลองท่านในวันที่ 25 ธันวาคม พระสันตะปาปาจะแวะมาถวายมิสซาที่นี่ก่อน จึงจะไปถวายมิสซาที่มหาวิหารนักบุญเปโตร

         หลังจากนั้นธรรมเนียมการถวาย 3 มิสซาในวันสมโภชพระคริสตสมภพ ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือพิธีกรรมของพระสันตะปาปาเกรโกรี่ (Gregorian Sacramentary) ในศตวรรษที่ 7 และแพร่หลายต่อไปทั่วยุโรป

       1.มิสซากลางคืน

         พิธีมิสซานี้เต็มไปด้วยบรรยากาศของการสำแดง
“พระสิริรุ่งโรจน์” ของพระเจ้าในพระคุณของพระผู้ไถ่ท ี่ประทานแก่มนุษย์ และบรรยากาศของ “ความยินดี” ของมนุษย์ผู้ต้อนรับพระองค์ “วันนี้ พระผู้ไถ่ คือองค์พระคริสต์ ได้ประสูติเพื่อเราแล้ว”

         ในพระวรสารตามคำเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:1-14)  กล่าวถึงการบังเกิดของพระเยซูเจ้าที่เบธเลเฮม พ ระวรสารจบลงที่ทูตสวรรค์ร้องเพลงพระสิริรุ่งโรจน์ (Gloria) ซึ่งเป็นเพลงพิเศษของวันสมโภชนี้ จะเห็นได้ว่าการอวยพรให้มี “สันติสุข” จากปากของทูตสวรรค์ในพระวรสารของนักบุญลูกา (ลก 2:14)    เป็นคำเดียวกันกับที่พร ะเยซูเจ้าตรัสกับพวกอัครสาวก หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับคืนชีพแล้วเช่นกัน    (ลก 24:36)  (ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการสมโภชพระคริสตสมภพกับธรรมล้ำลึกปัสกา)

         บทอ่านที่ 1  จากหนังสือประกาศกอิสยาห์  (อสย 9: 2-4, 6-7)  กล่าวถึงความหวังเรื่องพระเมสสิยา ห์สำเร็จลงในวันนี้ “ชนชาติที่ดำเนินในความมืด   จะได้เห็นความสว่างยิ่งใหญ่  บรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินแห่งความตาย แสงสว่างจ ะได้ส่องมายังเขา...  เหตุว่ามีกุมารผู้หนึ่งเกิดมาเพื่อเรา  มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่บนบ่าของพระองค์  และเขาจะขนานนามว่า
“ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงอำนาจ พระบิดานิรันดร เจ้าแห่งสันติ”

         บทอ่านที่สองจากจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิตัส (ทต 2:11-14) กล่าวถึงพระหรรษทานของพระเ จ้าปรากฎมาแล้ว (ในการบังเกิดของพระเยซูเจ้า) ขอให้เราเจริญชีวิตอย่างรู้ประมาณ ยุติธรรม และชอบธรรมในโลกนี้

         บทอัลเลลูยากล่าวถึงความชื่นชมยินดีว่า “เรานำข่าวดีมาบอกท่านทั้งหลาย วันนี้ พระผู้ไถ่ได้เกิดมาเพื่อท่านแล้ว”

         เราพบสัญลักษณ์ของความสว่าง   ซึ่งหมายถึงพระเยซูเจ้าทรงเสด็จมาเพื่อขับไล่ความมืดของบาป ในบทภาวนาของประธาน และบทนำขอบพระคุณที่ 1 เทศกาลพระคริสตสมภพ

               ในบทภาวนาเตรียมเครื่องบูชา เราขอให้พระเจ้าทรงเปลี่ยนเราให้เหมือนกับพระเยซูเจ้า “ขอให้เ ครื่องบูชาที่เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระบุตรนี้ จงบันดาลให้ข้าพเจ้าทั้งหลายละม้ายคล้ายกับพระองค์ท่าน ผู้ทรงถ่อมองค์มารับสภาพมนุษย์”

               เราแสดงความเคารพเป็นพิเศษต่อพระเยซูเจ้าผู้ทรงถ่อมพระองค์ลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อสวดบทข้าพเจ้าเชื่อ (credo) ถึงตอน
“มาบังเกิดเป็นมนุษย์” ทุกคนคุกเข่า (เฉพาะวันสมโภชพระคริสตสมภพ(ทุกมิสซา) และวันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรง รับสภาพเป็นมนุษย์)

           2.มิสซารุ่งอรุณ

         หัวข้อสำคัญของพิธีมิสซานี้ คือ ความเชื่อ ในที่นี้ความเชื่อถูกมองเป็นทั้งเส้นทางเดินของชีวิต และในเวลาเดียวกัน เป็นพระคุณที่พระเจ้าประทานให้ (บทอ่านที่ 1 และ 2)

     ในพระวรสารตามคำเล่าของนักบุญลูกา (ลก 2:15-20) กล่าวถึงบรรดาชุมพาบาลพบพระกุมารบนรางหญ้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต่อจากพระวรสารของมิสซากลางคืน พระวรสารตอนนี้เป็นปฏิกิริยาของพวกเขา ซึ่งเราสามารถเห็นวิธีการบรรยายเส้นทางเดินของความเชื่อ  ได้แก่
“การประกาศข่าวเกี่ยวกับความรอด จากนั้นมีการตอบสนองของความเชื่อ ซึ่งแสดงออกมาด้วยการฟัง (มิสซากลางคืน) การไปโดยไม่รอช้า การเห็น  แ ละจบลงด้วยการสรรเสริญพระเจ้าและการเป็นพยานให้คนอื่น
ทราบ”

     สัญลักษณ์ของความสว่างถูกกล่าวถึงชัดเจนยิ่งขึ้นกว่ามิสซากลางคืน ซึ่งเราพบได้ในเพลงเริ่มพิธี บทภ าวนาของประธาน สดุดี 97 (การประกาศสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงเป็นกษัตริย์ และเป็นความสว่างส่องเหนือผู้ชอบธรรม)

          
ความเชื่อและความยินดีเป็นหัวข้อที่เราพบเสมอในมิสซารุ่งอรุณ เช่น ในบทภาวนาหลังรับศีล เราภาวนาว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายกำลังชื่นชมฉลองวันสมภพพระบุตรด้วยความศรัทธา   ขอโปรดให้เชื่ออย่างมั่นคงในธรรมล้ำลึกประการนี้ และมีใจเร่าร้อนรัก พระองค์ท่านด้วยเทอญ ทั้งนี้ ขอพึ่งพระบารมีพระคริสตเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย”

         3.มิสซากลางวัน

         มิสซากลางวันเสนอธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระธรรมชาติของพระเยซู ผู้ทรงบังเกิดมาและเป็นพระมหาไถ่ของอิสราเอลและของประชาชาติว่า  
พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า  ผู้ทรงเสมอเทียบเท่าพระบิดา ได้ถูกส่งมาท่ามกลางมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ทุกคน ในพิธีกรร มเน้นพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรพระเจ้า

         ในพระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน 1:1-18)   กล่าวว่าพระวจนาตถ์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์ และมาประทับท่ามกลางเรา   พระองค์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์เพื่อทำให้มนุษย์เกิดใหม่เป็นบุตรของพระเจ้า
“มีบางคนที่ยอมรับและเชื่อถือพระองค์ พระเจ้าทรงให้คนเหล่านี้มีสิทธิเป็นบุตรของพระองค์” ที่สุด ประโยคสุดท้ายนั บเป็นการยืนยันถึงความหมายของ “เอมมานูเอล” ได้อย่างดี คือ “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรเพียงพระองค์เดียว   ผู้สถิตอยู่ในพระอุระของพระบิดานั้นได้ทรงเปิดเผยให้เรารู้” (ยน 1:18)

         บทอ่านที่หนึ่งจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ (อสย 52:7-10) กล่าวถึง ความรอด สันติสุข และข่าวดี
“พระเจ้าทรงเตรียมพระกรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือประชาชาติทั้งปวง และที่สุดปลายแผ่นดินทั้งสิ้น จะเห็นความรอดของพระเจ้าของเรา” และสิ่งที่ประกาศกอิสยาห์ประกาศได้สำเร็จลงไปในการบังเกิดของพระเยซูเจ้า

         บทอ่านที่สองจากจดหมายถึงชาวฮีบรู (ฮบ 1:1-6) กล่าวถึงพระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางพระบุตร พระบุตรทรงสะท้อนพระสิริรุ่งโรจ น์ของพระเจ้า ทรงเป็นรูปแบบสมบูรณ์แห่งธรรมชาติของพระเจ้า ทรงผดุงจักรวาล และทรงประทับเบื้องขวาพระบิดา

        
สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้เพิ่มมิสซาเตรียมสมโภช (vigil mass) ของวันสมโภชพระคริสตสมภพ ดังนี้

         4 มิสซาเย็นเตรียมสมโภช

         พระวาจาของมิสซาเตรียมสมโภชเป็นการเน้นที่ธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับการมีเชื้อสายดาวิดดของพระเยซูเจ้าและความสำเร็จของพระสั ญญาที่พระเจ้าเคยให้ไว้   หัวข้อสำคัญนี้ได้มีการประกาศแล้วตั้งแต่วันอาทิตย์หลังๆ ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

         มิสซานี้ใช้ตอนเย็นหรือหัวค่ำ วันที่ 24  ก่อนหรือหลังพิธีทำวัตรเย็นที่หนึ่งของวันสมโภชพระคริสตสมภพ

         ในพระวรสารของนักบุญมัทธิว (มธ 1:1-25) กล่าวว่าพระเจ้าทรงรักษาพระสัญญา แผนการแห่งความรอดพ้นสำเร็จโดยอาศัยการบังเกิดของพระเยซูเจ้า และการบังเกิดของพระองค์เป็นผลงา นของพระจิตเจ้า เพราะนักบุญโยเซฟไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระนางมารีย์ในฐานะสามีภรรยา

         บทอ่านที่ 1 จากหนังสือประกาศกอิสยาห์   (อสย 62:1-5)  ประกาศว่า พระเจ้าไม่ทรงทอด ทิ้งประชากร แต่กำลังจะทำให้พระสัญญาแห่งความรอดกลับเป็นความจริง ไม่เพียงแต่เท่านั้น  แต่ประชากรนี้จะได้มีชื่อว่า
“ความพึงพอใจของท่าน” คำพูดเดียวกันนี้ที่ทูตสวรรค์ใช้กับพระนางมารีอาเมื่อมาแจ้งสารการบังเกิดของพระเยซูเจ้า (ลก 2:14)

         บทอ่านที่ 2  จากหนังสือกิจการอัครสาวก  (กจ 13:16-17,22-25)  เป็นคำให้การของนักบุญเปาโลเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า บทอ่านบ ทนี้มีสาระใกล้เคียงกับพระวรสารในเรื่องเกี่ยวกับการที่พระเยซูเจ้าเป็นคนเชื้อสายของดาวิดและการบังเกิดของพระองค์เป็นความสำเร็จจริงของพระสัญญาในพันธสัญญาเดิม

         เนื่องจากมิสซานี้เป็นส่วนหนึ่งของการสมโภชพระคริสตสมภพ จึงมีบทพระสิริรุ่งโรจน์ เมื่อสวดบทข้าพเจ้าเชื่อ (credo) ถึงตอน
“มาบังเกิดเป็นมนุษย์” ทุกคนคุกเข่า และใช้บทนำขอบพระคุณสำหรับเทศกาลพระคริสตสมภพ

หน้าหลักหน้ารวมเปิดโลกคำสอน