หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           นักบุญเปาโลได้กล่าวถึงไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าว่า “พระคริสตเจ้ามิได้ทรงส่งข้าพเจ้ามาทำพิธีล้างบาป แต่ทรงส่งมาประกาศข่าวดีมิใช่ด้วยการใช้โวหารอันชาญฉลาด ด้วยเกรงว่าจะทำให้ไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าเสื่อมประสิทธิภาพผู้ที่จะพินาศนั้นเห็นว่า คำสอนเรื่องไม้กางเขนเป็นความโง่เขลาแต่พวกเราที่กำลังจะรอดพ้นเห็นว่าเป็นพระอานุภาพของพระเจ้า”(1คร 1:17)

           เรามีหลักฐานว่ามีการฉลองเทิดทูนไม้กางเขนในศตวรรษที่ 4  ตามบันทึกเหตุการณ์แห่งอเล็กซานเดรีย จ ักรพรรดินีเฮเลนาได้พบไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 320 ต่อมาในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 335 วัดแห่งไม้กางเขนและวัดแห่งการกลับคืนชีพที่กรุงเยรูซาเล็มได้รับการอภิเษก วันรุ่งขึ้นมีการแสดงไ ม้กางเขนที่จักรพรรดินีเฮเลนาได้ค้นพบอย่างสง่า เพื่อให้สัตบุรุษนมัสการ เหตุการณ์เหล่านี้ได้กลับกลายเป็นพื้นฐานของการเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี

           วันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนที่คอนสแตนติโนเปิลเริ่มทำการฉลองในศตวรรษที่ 5 และที่โรมเริ่มทำการฉ ลองในตอนปลายศตวรรษที่ 7 และได้กลายเป็นธรรมเนียมถือปฏิบัติกันตลอดมา ที่จะทำการฉลองเทิดทูนไม้กางเขนในวันที่ 14 กันยายน สำหรับพระศาสนจักรที่เยรูซาเล็ม คอนสแตนติโนเปิล และโรม ซึ่งมีพระธาตุของไม้ก างเขนของพระเยซูเจ้า โดยนำออกมาแสดงแก่สัตบุรุษในพิธีฉลองอย่างสง่าที่เรียกว่า การเทิดทูน (Exaltatio) ไม้กางเขน

           ในพิธีกรรมกัลลิกของศตวรรษที่ 8 มีวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนอีกวันหนึ่ง คือวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่จักรพรรดิเฮราคลิอ ุส ในปี ค.ศ. 628 ได้นำพระธาตุไม้กางเขนซึ่งถูกชาวเปอร์เซียยึดไปกลับคืนมา และมีขบวนแห่พระธาตุไม้กางเขนไปที่กรุงเยรูซาเล็ม วันฉลองอีกวันหนึ่งนี้ได้ถูกนำเข้ามาไปในปฏิทินพิธีกรรมของโรมันคาทอลิก ในปี ค.ศ.1741 ที่สุดวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนในวันที่ 3 พฤษภาคม ถูกนำออกจากปฏิทินโรมันคาทอลิกโดยพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 

           หัวข้อสำคัญของการฉลองนี้คือ การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน และการกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากบาป เพลงเริ่มพิธีให้คำสำคัญของการฉลองว่า “ส่วนเราต้องภูมิใจในกางเขนพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเรา ในพระองค์นั้นมีความรอด ชีวิต และการกลับคืนชีพของเรา เรารอดและเป็นอิสระได้ ก็เพราะพระองค์” (เทียบ กท 6:14) บทนำขอบพระคุณกล่าวถึงไม้กางเขนในฐานะที่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับต้นไม้ในสวนเอเดนที่พระเจ้าทรงห้ามอาดัมและเอวารับประทาน “พระองค์ทรงตั้งไม้กางเขนไว้ให้นำความรอดมาส ู่มนุษยชาติ เพื่อว่า ที่ใดความตายได้ถือกำเนิดมา ที่นั่นจะได้เป็นที่เกิดแห่งชีวิตด้วย เ จ้ามารร้ายได้มีชัยชนะที่ต้นไม้ในสวนอุทยานฉันใด ก็จะต้องพ่ายแพ้ไปด้วยไม้กางเขนฉันนั้น”

           ในพระวรสาร พระเยซูเจ้าตรัสกับนิโคเดมัสว่า “ไม่มีใครเคยขึ้นไปบนสวรรค์ นอกจากผู้ที่ลงมาจากสวรรค์คือบุตรแห่งมนุษย์เท่านั้ น โมเสสยกรูปงูขึ้นในถิ่นทุรกันดารฉันใด บุตรแห่งมนุษย์ก็จะต้องถูกยกขึ้นฉันนั้น เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระองค์ จะมีชีวิตนิรันดร...” (ยน 3:13-17) และบทอ่านจากพันธสัญญาเดิมก็กล่าวถึงเหตุการณ์ที่โมเสสยกรูปงูทองสัมฤทธิ์ในถิ่นทุรกันดาร (กดว 21:4-9) จากพระวร สารและบทอ่านที่ 1 ทำให้เราเห็นชัดว่า “งูทองสัมฤทธิ์” ซึ่งโมเสส “ยกขึ้น” โดยผู้ที่ถูกงูกัด และมองดูงูทองสัมฤทธิ์นั้นก็รอดชีวิต เป็นภาพล่วงหน้าถึงพระเยซูเจ้าผู้ถูก “ยกขึ้น” บนไม้กางเขน อันนำความรอดพ้นมาสู่มวลมนุษย์ บทอ่านที่สอง (ฟป 2:6-11) กล่าวถึงการถ่อมตนของพระคริสตเจ้าโดยความเชื่อฟังของพระองค์ต่อพระบิดาเจ้า “ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้นสูงส่ง และประทานพระนามให้แก่พระองค์ พระนามนี้ประเสริฐกว่านามอื่นใดทั้งสิ้น เพื่อทุกคนในสวรรค์และบนแผ่นดิน รวมทั้งใต้พื้นพิภพ จะย่อเข่าลงนมัสการพระน าม “เยซู” นี้ และเพื่อชนทุกภาษาจะได้ร้องประกาศว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า พระบิดา” บทอ่านนี้ผู้ร่วมพิธีตอบรับด้วยการนมัสการและสรรเสริญในบทอัลเลลูยา “ข้าพเจ้าทั้งหลาย กราบนมัสการถวายสดุดีพระองค์ เพราะพระองค์ได้ทรงไถ่โลกด้วยไม้กางเขนของพระองค์”

           ในบทภาวนาของประธาน พวกเราร่วมใจภาวนาว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายทราบถึงพระธรรมล้ำลึกแห่งไม้กางเขนในโลกนี้แล้ว ขอโปรดให้ได้รับรางวัลแห่งการไถ่กู้ในสวรรค์ด้วยเถิด” และในบทภาวนาหลังรับศีล พวกเราร่วมใจกันภาวนาว่า “ขอกราบอ้อนวอนพระองค์ได้โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้รับการกอบกู้ด้วยไม้กางเขนแล้ ว ได้กลับคืนชีพอย่างรุ่งเรืองด้วยเถิด”

            หัวข้อของวันฉลองนี้ โดยพื้นฐานเหมือนกับหัวข้อในพิธีกรรมของวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

หน้าหลัก