หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

โครงสร้างของพิธีบวชพระสงฆ์

     1.การนำเสนอผู้รับเลือกให้รับศีลบวชต่อพระสังฆราชให้บวชเขาเป็นพระสงฆ์
     2.บทเทศน์ของพระสังฆราชเตือนใจชุมนุมคริสตชนและผู้รับเลือกให้บวชเป็นพระสงฆ์เกี่ยวกับหน้าที่พระสงฆ์
     3.การแสดงความสมัครใจของผู้รับเลือกและคำสัญญาว่าจะเชื่อฟังพระสังฆราช สมณะประมุขของตน
     4.คำภาวนาของที่ชุมนุม (บทร่ำวิงวอนนักบุญทั้งหลาย)
     5.การปกมือและบทภาวนาถวายผู้รับศีลบวชอย่างสง่า (prayer of consecration)
     6.พิธีกรรมอธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของพระสงฆ์ ได้แก่ การมอบอาภรณ์ในพิธีมิสซาให้พระสงฆ์
ใหม่ และพระสงฆ์รุ่นพี่จัดสโตลาและสวมกาซูลาให้แก่ผู้รับศีลบวช การเจิมฝ่ามือของผู้รับศีลบวช ด้วยน้ำมันคริสมา และการมอบถ้วยกาลิกษ์ที่มีเหล้าองุ่นปนน้ำและจานรองที่มีแผ่นปังให้แก่ผู้รับศีลบวช
     7.การมอบสันติสุข

1. การนำเสนอผู้รับเลือกให้รับศีลบวชต่อพระสังฆราชให้บวชเขาเป็นพระสงฆ์

      ผู้ที่จะรับศีลบวชแต่งตัวชุดสังฆานุกร (อัลบา รัดประคด และสโตลาเฉียง) ถูกเรียกชื่อที่ละคน แต่ละคนตอบว่า
“อยู่ครับ” (Adsum) และเดินเข้าไปยืนเบื้องหน้าพระสังฆราช

     พระสงฆ์ผู้ใหญ่ในสังฆมณฑล ที่พระสังฆราชกำหนดไว้เพื่อการนี้ จะขอให้พระสังฆราชบวชผู้สมัครรับศีลบวช

     พระสังฆราชจะถามถึงความเหมาะสมของผู้ที่จะรับศีลบวช

     พระสงฆ์ผู้ใหญ่ท่านนั้นจะตอบว่า
“หลังจากได้สอบถามสัตบุรุษคริสตัง และจากความ
เห็นของผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องแล้ว  ขอรับรองว่าเขาเป็นผู้เหมาะสม”
หมายความว่าผู้สมัครรับ
ศีลบวชได้รับการยอมรับจากกลุ่มคริสตชน และได้รับการเตรียมตัวอย่างดีจากผู้ใหญ่ที่ดูแล และเห็นว่าเขาเหมาะสมจะรับศีลบวช  (เป็นการสะท้อนธรรมประเพณีของคริสตชนในสมัยโบราณที่กลุ่มคริสตชนเป็นผู้เลือกผู้ร ับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ หรืออย่างน้อยผู้ที่จะรับศีลบวชต้องได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มคริสตชน)

     พระสังฆราชจะเลือกผู้สมัครรับศีลบวชให้รับหน้าที่พระสงฆ์โดยกล่าวว่า
“เดชะพระเจ้า และเดชะพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่
ทรงช่วยเหลือ เราขอเลือกลูกของเราเหล่านี้ เข้ารับหน้าที่เป็นพระสงฆ์”
คำพูดนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าศีลบวชเป็นการเลือกสรรจาก
พระเจ้า โดยมีพระสังฆราชเป็นผู้แทนของพระองค์ (ที่จริงแล้วทุกคนเป็นคนบาป ไม่มีใครที่เหมาะสมที่จะรับใช้พระองค์ในหน้าท ี่สงฆ์ แต่เป็นเพราะพระเมตตาของพระเจ้าที่ได้ทรงเลือกผู้จะรับศีลบวช และแน่นอนเป็นความสมัครใจและตั้งใจจริงของเขา ท ี่จะพยายามปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ของตนอย่างดี อาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้าและคำภาวนาของพี่น้องคริสตชน)

     สัตบุรุษจะแสดงการตอบรับการเลือกของพระสังฆราชโดยกล่าวว่า
“ขอขอบพระคุณพระเจ้า”หรือด้วยการแสดงออกอื่นๆตามประเพณีท้องถิ่น เช่น การปรบมือ ฯลฯ

2.บทเทศน์ของพระสังฆราชเตือนใจชุมนุมคริสตชนและผู้รับเลือกให้บวชเป็นพระสงฆ์เกี่ยวกับหน้าที่พระสงฆ์

     บทเทศน์นี้สะท้อนคำสอนเรื่อง
“พระสงฆ์ในหน้าที่เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า เกี่ยวกับพระสังฆราช เกี่ยวกับสภาสงฆ์ และเกี่ยวกับประชากรคริสตัง” ใน “ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร” (Lumen Gentium ข้อ 28)

     คำสอนโดยสรุปในบทเทศน์ของพระสังฆราช คือ

     โดยอาศัยศีลล้างบาปสัตบุรุษทุกคนเป็นราชสมณตระกูลในองค์พระเยซูเจ้า  (1ปต 2:9; วว 1:6; 5:10) อย่างไรก็ตามพระ
คริสตเจ้าผู้เป็นมหาสมณะได้ทรงเลือกบรรดาศิษย์ให้ปฏิบัติหน้าที่สงฆ์เพื่อสัตบุรุษ

    เช่นเดียวกับที่พระบิดาทรงส่งพระเยซูเจ้ามายังโลก   พระองค์ก็ทรงส่งอัครสาวกไปในโลกเพื่อสืบต่องานของพระองค์  พระ สังฆราชคือผู้สืบตำแหน่งจากอัครสาวกและสืบต่องานที่พระคริสตเจ้าทรงมอบหมายให้ท่าน และพระสงฆ์เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและเป็นผู้ร่วมงานเดียวกันนี้ มีส่วนร่วมเป็นหนึ่งเดียวในหน้าที่สมณะของพระสังฆราช

     แบบฉบับของพระสงฆ์ คือ พระเยซูเจ้า ผู้ทรงสอน อภิบาล และบันดาลความศักดิ์สิทธิ์

     พระสงฆ์มีหน้าที่สอน (ประกาศก) เน้นที่การสอนด้วยวาจาและชีวิต
“จงเอาใจใส่เชื่อสิ่งที่ลูกอ่าน สอนสิ่งที่ลูกเชื่อ และดำเนินชีวิตตามสิ่งที่ลูกสอนนั้นเถิด”

     พระสงฆ์มีหน้าที่บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ (พระสงฆ์) กล่าวถึงหน้าที่การถวายมิสซาและการประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ รวม ทั้งหน้าที่ของพระสงฆ์ในการสวดภาวนาเพื่อทุกคน “ทั้งวันจงถวายคำสรรเสริญแด่พระเจ้า ขอบพระคุณ และสวดภาวนา มิใช่เพ ื่อประชากรของพระเจ้าเท่านั้น แต่สำหรับมนุษย์ทั่วโลกด้วย” พระสงฆ์ทำหน้าที่นี้ด้วยจิตตารมณ์แห่งความรักและรับใช้เหมือนกับ
พระเยซูเจ้า “จงทำหน้าที่ของพระคริสตเจ้า สงฆ์ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยใจรักแท้จริงและยินดีเสมอ ไม่ใช่หาผลประโยชน์ใส่ตน แต่หาผล
ประโยชน์ของพระคริสตเจ้าเท่านั้น”

     พระสงฆ์มีหน้าที่อภิบาล (นายชุมพาบาล) เน้นถึงการร่วมงานกับพระสังฆราชและอยู่ใต้อำนาจของพระสังฆราช รวมทั้งการ
สร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นในหมู่สัตบุรุษ โดยยึดเอาแบบอย่างของพระเยซูเจ้า
“พระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้พระองค์ แต่เพื่อทรงรับใช้ผู้อื่น เพื่อทรงตามหาคนบาปและช่วยให้รอดพ้น”

3.การแสดงความสมัครใจของผู้รับเลือกและคำสัญญาว่าจะเชื่อฟังพระสังฆราช สมณะประมุขของตน

     การแสดงความสมัครใจของผู้จะรับศีลบวชโดยตอบคำถามของพระสังฆราช   เป็นการแสดงความพร้อมของเขาที่จะรับงาน
หน้าที่พระสงฆ์ในฐานะผู้อภิบาล ผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ และผู้สอน นอกจากนี้ยังเป็นการ
แสดงความสมัครใจของเขาที่จะมอบถวายตนแด่พระเจ้าโดยมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว
กับพระเยซูเจ้าพระสงฆ์ผู้สูงสุดเพื่อความรอดพ้นของมนุษยชาติ

     จากนั้น ผู้รับศีลบวชก้าวเข้าไปหาพระสังฆราช   คุกเข่าวางมือในอุ้งมือพระสังฆราช
สัญญาว่าจะเคารพและเชื่อฟังท่านและผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่าน (กิริยาอาการนี้เคยเป็น
การแสดงออกของขุนนางในประเทศเยอรมันสมัยโบราณ  เวลาที่ได้รับพระราชทานที่ดิน
จากกษัตริย์ ขุนนางผู้นั้นจะวางมือของตนในอุ้งมือของกษัตริย์ เป็นการแสดงว่าเขายอม
อยู่ใต้อำนาจ และเป็นพันธมิตรกับกษัตริย์)

4.คำภาวนาของที่ชุมนุม (บทร่ำวิงวอนนักบุญทั้งหลาย)

     ศีลบวชเป็นพระพรของพระเจ้า   ดังนั้น เมื่อพระสังฆราชเชิญชวนทุกคนที่มาร่วมในพิธีให้ภาวนา
วอนขอพระพรของพระเจ้าเพื่อผู้ที่จะรับศีลบวช ทุกคนจะคุกเข่าลง ผู้รับศีลบวชจะนอนราบลงไปกับ
พื้น และทุกคนจะภาวนาบทร่ำวิงวอนนักบุญทั้งหลาย(สามารถเพิ่มชื่อนักบุญองค์อุปถัมภ์ของท้องถิ่นนั้นเข้าไปในบทร่ำวิงวอนฯได้)

   การคุกเข่าของทุกคนที่มาร่วมพิธีเป็นอากัปกริยาที่ให้ความหมายถึงการวอนขอพระพรจากพระเจ้า

     การที่ผู้ได้รับเลือกให้รับศีลบวชนอนราบลง ให้ความหมายถึงการวอนขอพระพรจากพระเจ้าอย่างล ึกซึ้ง และในขณะเดียวกันยังสื่อความหมายว่า ในความเป็นมนุษย์ผู้ต่ำต้อยและอ่อนแอเขาไม่เหมาะสมที่จะรับหน้าที่พระสงฆ์   แต่การนี้เป็นไปได้อาศัยความช่วยเหลือของพระเจ้า  และคำภาวนาของพี่
น้องคริสตชน

5.การปกมือและบทภาวนาถวายผู้รับศีลบวชอย่างสง่า (prayer of consecration)

    
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของพิธีบวชพระสงฆ์ ผู้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เข้ามาคุกเข่าต่อหน้าพระสังฆราช พระสังฆราช ปกมือเหนือศีรษะโดยไม่กล่าวอะไร ต่อจากนั้น พระสงฆ์ผู้ร่วมพิธีทุกองค์ สวมสโตลา ปกมือเหนือ
ศีรษะผู้รับศีลบวชโดยไม่กล่าวอะไร ปกมือเสร็จแล้ว พระสงฆ์ยืนเป็นวงกลมล้อมรอบพร้อมกับพระ
สังฆราช จนจบบทถวายผู้รับศีลบวชอย่างสง่า  ขณะผู้รับศีลบวชคุกเข่าอยู่   พระสังฆราชผายมือ
ภาวนาบทถวายผู้รับศีลบวชอย่างสง่า
อาการนี้แสดงว่าพระสงฆ์ใหม่ที่ได้รับการบวชนี้ถูกรับเข้ามา
เป็นพี่น้องในหมู่คณะสงฆ์

     การปกมือของพระสังฆราชและพระสงฆ์เป็นการแสดงกิริยาที่มีกล่าวถึงในพระคัมภีร์ เพื่อวอนขอ พระจิตเจ้าลงมายังผู้รับศีลบวช  ให้ประทานพระพรในการทำหน้าที่สงฆ์ของเขา  แต่พิธีกรรมก็แสดง
ออกด้วยว่า
ผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบศีลบวชคือพระสังฆราช ดังนั้น  พระสังฆราชแต่ผู้เดียวเท่านั้นท ี่
ภาวนาบทถวายผู้รับศีลบวชอย่างสง่า (prayer of consecration)

6.พิธีกรรมซึ่งอธิบาย เกี่ยวกับหน้าที่ของพระสงฆ์

     การมอบอาภรณ์ในพิธีมิสซาให้พระสงฆ์ใหม่และการที่พระสงฆ์รุ่นพี่ท่านหนึ่งช่วยจัดสโต ลาให้ (เป็นแบบของพระสงฆ์) และสวมกาซูลาแก่ผู้รับศีลบวช  อาภรณ์ในพิธีมิสซาหมายถึงหน้าที่หลักของพระสงฆ์  คือ การถวายบูชามิสซาเพื่อประชาสัตบุรุษสโตลาหมายถึงหน้าที่
ในความรับผิดชอบของพระสงฆ์  ที่จะรับใช้สัตบุรุษตามแบบฉบับของพระเยซูเจ้า   และยัง
สะท้อนพระวาจาของพระองค์ที่ว่า
“เพราะว่าแอกของเราอ่อนนุ่มและภาระที่เราให้ท่านแบก ก็เบา” (มธ 11:30) ส่วนกาซูลาเป็นเสื้อที่พระสงฆ์สวมเพื่อเป็นประธานในพิธีมิสซา (นักพิธีกรรมตั้งแต่สมัยกลางถึงศตวรรษที่ 13 นำโดย Rabanus Maurus ได้ให้ความหมายของเส ื้อนี้ว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักเมตตา ซึ่งครอบคลุมคุณธรรมทุกอย่าง  มีศักดิ์ศรี มีเกียรติ
ิเหนือสิ่งอื่นใดเพราะเสื้อนี้คลุมทับเสื้อ และเครื่องหมายอื่น ๆ ทุกชิ้นไว้)

     การเจิมด้วยน้ำมันมีที่มาจากพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม  แสดงว่าคนหนึ่งได้รับเลือกสรรจากพระเจ้าเพื่อหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ข อง
พระองค์ ดังนั้นการที่พระสังฆราชเจิมฝ่ามือของผู้รับศีลบวชด้วยน้ำมันคริสมาจึงให้ความ
หมายว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งพระสงฆ์ เพื่อหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ และมือของพระสงฆ์
ได้รับการเตรียมให้ปฏิบัติหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ และสัมผัสภาชนะศักดิ์สิทธิ์ เช่น การถวายมิสซา
การอวยพร ฯลฯ คำภาวนาของพระสังฆราชในขณะที่เจิมน้ำมันคริสมาที่ฝ่ามือของผู้รับศีล
บวช 
“ขอพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งพระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ได้ทรงเจิมด้วยพระจิตเจ้าจงคุ้มครองลูก เพื่อช่วยทำให้ประชากรคริสตังเป็นคนศักดิ์สิทธิ์และเพื่อถวายบูชามิสซาแด่พระเจ้า” ให้ความหมายที่สมบูรณ์ของพิธี
กรรมนี้

     การมอบถ้วยกาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่นปนน้ำและจานรองที่มีแผ่นปังให้แก่ผู้รับศีลบวช ให้
วามหมายว่าพิธีมิสซาเป็นหัวใจและมีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตสงฆ์ ในฐานะที่เขาเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นี้ และใน
ขณะเดียวกันเขาต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับพิธีกรรมที่เขาประกอบ ดังบทภาวนาที่พระ
สังฆราชภาวนาขณะที่มอบกาลิกส์และจานรองแผ่นปังให้ผู้รับศีลบวช
“จงรับของถวายของ
ประชากรศักดิ์สิทธิ์ เพื่อถวายแด่พระเจ้า จงสำนึกสิ่งซึ่งลูกกระทำ จงเจริญชีวิตให้สมกับสิ่งท
ี่ลูกจะปฏิบัติ และจงประพฤติตนให้สอดคล้องกับพระคริสตเจ้า ผู้ทรงถวายองค์บนไม้กางเขน”

7.การมอบสันติสุข

     พิธีบวชพระสงฆ์จบลงโดยพระสังฆราชมอบสันติสุขแก่ผู้รับศีลบวช ต่อจากนั้นพระสงฆ์ใหม่ร่วมถวายมิสซากับพระสังฆราช

หน้าหลักหน้ารวมเปิดโลกคำสอน