หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า

           วันสมโภชนี้ตรงกับวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3  หลังวันสมโภชพระจิตเจ้า หรือในวันที่ 8 ต่อจากวันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า ในวันสมโภชนี้เราถวายเกียรติแด่พระเยซูเจ้า พระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ สำหรับความ
รักของพระองค์ที่ทรงมีต่อมนุษย์โดยมีพระหฤทัยของพระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความรักนั้นจุดเริ่มต้นของความศรัทธานี้อาจจะพบได้จากงานเขียนของปิตาจารย์ ซึ่งซาบซึ้งในข้อความจากพระวรสารของนักบุญยอห์น เช่น ยน 19:34
“แต่ทหารคนหนึ่งใช้หอกแทงด้านข้างพระวรกายของพระองค์ โลหิตและน้ำก็ไหลออกมาทันที” ข้อความจากพระคัมภีร์เหล่านี้เป็นจุดสนใจของนักเทววิทยาสมัยก ลาง ซึ่งมี 2-3 คนในศตวรรษที่ 12 ได้แก่ Anselm แห่ง Canterbury และ Bernard แห่ง Clairvaux และมีจำนวนมากในศตวรรษที่ 13 เช่น Albert the Great, Bonaventure ในศตวรรษที่ 16 นักบวชคณะเยซูอิตได้ส่งเสริมความศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าด้วยความมุ่งมั่นเป็นพิเศษ

           ในศตวรรษที่ 17 John Eudes โดยได้รับอนุญาตจากพระสังฆราชของท่าน เป็นคนแรกที่จัดฉลองพระหฤ ทัยของพระเยซูเจ้าที่วัดในหมู่คณะของท่าน  (20 ตุลาคม ค.ศ. 1672) ระหว่าง  ค.ศ. 1673 - 1675 Margaret   Mary  Alacoque   ซิสเตอร์คณะ Visitation แห่ง Paray-le-Monial ได้เห็นภาพนิมิตของพระเยซูเ จ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงสั่งให้เธอทำภารกิจเผยแผ่การฉลองพระหฤทัยของพระองค์ในวันศุกร์ 8 วันหลังจากการสมโภชพระวรกายและพระโลหิตของพระองค์ และยังรวมถึงการถือวันศุกร์เพื่อถวายเกียรติแด่พระหฤทัยของพระองค์ และเพื่อทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์

           ที่โรมจนถึงปี ค.ศ.1765 พระสันตะปาปา Clement ที่ 13 จึงอนุญาตให้พระสังฆราชชาวโปแลนด์แ ละคณะพระหฤทัยแห่งโรมันทำการฉลองพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าในปี ค.ศ. 1856  พระสันตะปาปาปิอุสที่ 9  ได้ประกาศให้ทำการฉลองนี้ในพระศาสนจักรสากล ในปี ค.ศ. 1899 พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ได้ยกระดับการฉ ลองนี้ให้สูงขึ้น และสั่งว่าควรถวายโลกแด่พระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้าเพื่อต้อนรับศตวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง  ในปี ค.ศ. 1927  พระสันตะปาปาปีโอที่ 11  ได้ปรับปรุงพิธีกรรมของวันฉลองนี้  และยกระดับ
การฉลองนี้ให้อยู่ในระดับเดียวกับการสมโภชพระคริสตสมภพ แต่ไม่ได้ทรงกำหนดให้วันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นวันฉลองบัง คับ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี (ค.ศ. 1956) ของการสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าอย่างเป็นทางการในพระศาสนจักรสากล พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ออกสมณสาสน์ Haurietis aquas ในโอกาสนี้ด้วย

           มิสซาสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าในปัจจุบันประกอบด้วย เพลงเริ่มพิธีซึ่งนำมาจาก  สดด  33 : 11,19   เป็นความคิดเกี่ยวกับพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า“พระองค์จะทรงช่วยพวกเขาจากความตาย  และเลี้ยงดูพวกเขาในยามอาหารขาดแคลน”บทภาวนาของประธานมี 2 แบบให้เลือก แบบที่หนึ่ง (แต่งขึ้นใหม่) มองไปยัง “พระหรรษทานแห่งความรักที่เราได้รับ” และวอนขอพระบิดา “โปรดเปิดดวงใจของเร าให้มีส่วนร่วมในชีวิตของพระคริสตเจ้า และโปรดอวยพรเราด้วยความรักของพระองค์” แบบที่ 2 (แบบเก่า) วอนขอให้เรา “ถวายความศรัทธาภักดีต่อดวงพระทัยนี้ โดยกระทำหน้าที่ชดเชยใช้โทษบาปอย่างสมควร” บทภาวนาหลังรับศีลกล่าวว่า “ขอศีลศักดิ์สิทธิ์นี้  บันดาลให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเร่าร้อนไปด้วยความ
รัก  ข้าพเจ้าทั้งหลายรักพระบุตรของพระองค์แล้ว ขอให้จำพระองค์ท่านได้ในบรรดาพี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย” 
บทนำขอบพระคุณเป็น
บทใหม่ซึ่งมีความสอดคล้องกับพระคัมภีร์  และเทววิทยาเรื่องพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าของบรรดาปิตาจารย์
  “พระเยซูเจ้าทรงรักมนุษย์
ทรงมอบพระองค์เป็นบูชาบนไม้กางเขน ด้านข้างพระวรกายของพระองค์ที่ถูกแทง หลั่งโลหิตและน้ำ เป็นสัญลักษณ์แห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักร เพื่อมนุษย์ทุกคนที่ได้รับเชิญให้เข้ามาสู่พระหฤทัยที่เผยอยู่  จะได้ตักตวงความรอดพ้นจากพุน้ำนิรันดรแห่งนี้ด้วยความปีติยินดี”

           พระวรสารสำหรับปีเอ (มธ 11:25-30) “พระเยซูเจ้าทรงสรรเสริญพระบิดา และทรงเชื้อเชิญผู้ที่เหน็ดเหนื่อย และแบกภาระหนักให้มาพักผ่อนในพระหฤทัยของพระองค์” ความรักของพระเจ้าได้แสดงออกมาให้เราเห็นโดยการเลือกและปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการเป็นทาสของชาวอียิปต์ (ฉธบ 7:6-11) แต่เราเห็นความรักของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดย “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรพระองค์เดียวมาในโลก เพื่อเราจะได้มีชีวิตโดยทางพระบุตรนั้น... พระเจ้าทรงเป็นความรัก ผู้ใดดำรงอยู่ในความรัก ย่อมดำรงอย ู่ในพระเจ้า และพระเจ้าย่อมทรงดำรงอยู่ในเขา” (บทอ่านที่ 2 1ยน 4:7-16)

           พระวรสารสำหรับปีบี (ยน 19:31-37)  นำมาจากมิสซาแบบเดิมของวันฉลองนี้ กล่าวถึงทหารคนหนึ่งใช้หอกแทงด้านข้างพระวร กายของพระเยซูเจ้า  บทอ่านที่ 1 (ฮชย 11:1, 3-4, 8ค-9) กล่าวถึงความรักแบบบิดาของพระยาเวห์ต่อชาวอิสราเอล  และ บทอ่านที่ 2 (อฟ 3:8-12, 14-19) ซึ่งมาจากบทมิสซาของพระสันตะปาปาปีโอที่ 11  สรรเสริญพระคริสตเจ้า  และความรักของพระองค์ซึ่งเกินกว่าจะหยั่งรู้ได้

           พระวรสารสำหรับปีซี (ลก 15:3-7)  และบทอ่านที่ 1  (อสค 34:11-16)  กล่าวถึงความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อเราด้วยรูปแบบ ของผู้เลี้ยงแกะที่ดี ทรงติดตามลูกแกะที่หลงทางและนำพวกมันกลับมา บทอ่านที่ 2 (รม 5:5ข-11) เป็นบทเพลงสรรเสริญพระเมตตารักของพระเจ้า “พระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อเราขณะที่เรายังเป็นคนบาป” หัวข้อของผู้เลี้ยงแกะที่ดียังอยู่ในบทสดุดีตอบรับบทอ่านที่ 1 (สด ด 23) และในบทอัลเลลูยา “เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา” (ยน 10:14) ในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา เราฉลองพระเยซูเจ้าเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ทำให้เราเห็ นได้อย่างชัดเจนว่า หัวข้อสำคัญของการสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า พบมากกว่าหนึ่งครั้งในปีพิธีกรรม 

           อีกรูปแบบของกิจศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า คือ การถวายเกียรติแด่พระหฤทัยขอ งพระองค์ในวันศุกร์ต้นเดือน และการทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์  ในปี ค.ศ. 1899 พระสันตะปาปาเลโอที่ 13  ได้รับรอง มิสซาบนบานสำหรับวันศุกร์ต้นเดือนด้วย

หน้าหลักหน้ารวมเปิดโลกคำสอน