หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

บทนำ

     หนังสือ
“จารีตศีลกำลัง” (ค.ศ.1973) ของคณะอนุกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม เป็นฉบับแปลมาจากหนังสือ “Ordo Confirmationis” (15 สิงหาคม 1971) ประกอบด้วย อารัมภบท(Praenotanda ข้อ 1-19) ซึ่งให้ความหมายของศีลกำลัง ทั้งใน
แง่เทววิทยา และการอภิบาล รวมทั้งยังให้ข้อเสนอแนะในการจัดพิธีกรรมศีลกำลัง บทที่ 1
(ข้อ 20-33) จารีตศีลกำลังในมิสซา บทที่ 2 (ข้อ 34-49) จารีตศีลกำลังนอกมิสซา บทที่ 3 (ข้อ 50-51) กรณีที่พระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธีศีลกำลัง บทที่ 4 (ข้อ 52-56) การประกอบพ ิธีศีลกำลังแก่คนไข้ใกล้จะตาย และบทที่ 5 (ข้อ 57-65) บทอ่าน สดุดี บทภาวนา ที่ใช้ในพิธีศีลกำลัง

     หนังสือ
“จารีตศีลกำลัง” เป็นการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพระธรรมนูญพิธีกรรม
ศักดิ์สิทธิ์ของสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง (SC 71)
“ให้แก้ไขจารีตของศีลกำลังด้วย เพื่อ
แสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการฝึกอบรมตามหลักพระ
คริสตธรรมทั้งหมดอย่างไร  เพราะฉะนั้นก่อนรับศีลกำลัง  ควรมีการรื้อฟื้นคำสัญญาที่เคย
กระทำเวลารับศีลล้างบาป”
ดังนั้นพระธรรมนูญว่าด้วยศีลกำลัง (Constitutio Apostolica de Sacramento Confirmationis)
โดยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของศีลล้างบาป ศีลกำลัง และศีลมหาสนิทดังนี้
“สัตบุรุษผู้เกิดใหม่ใน
ศีลล้างบาป ได้รับการบำรุงให้เข้มแข็งด้วยศีลกำลัง และในที่สุดได้รับการเลี้ยงด้วยปังแห่งชีวิตนิรันดรในศีลมหาสนิท”

พิธีศีลกำลัง

   สาระสำคัญของพิธีศีลกำลัง คือ การใช้น้ำมันคริสมาเจิมที่หน้าผากของผู้รับศีลกำลัง การเจิมนั้นทำโดยปกมือกล่าวว่า
“จงรับเครื่องหมายพระจิตเจ้าที่พระบิดาประทานให้” (Accipe Signaculum Doni Spiritus Sancti) (OC 9 เทียบ CIC 880 #1) บทสู ตรนี้เชื่อมข้อความในพระธรรมใหม่สองตอน คือ อฟ 1:13 “ในองค์พระคริสตเจ้านี้ ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกันได้ฟังพระวาจา
แห่งความจริง คือข่าวดีอันนำความรอดพ้นมาให้ ท่านได้เชื่อแล้วจึงได้รับพระจิตเจ้า ซึ่งพระเจ้า
ทรงสัญญาให้นั้นเป็นตราประทับ”
และ กจ 2:38 ในบทเทศน์ของนักบุญเปโตรในวันเปนเตกอสเตว่า  “ท่านทั้งหลายจงกลับใจเถิด  แต่ละคนจงรับศีลล้างบาปเดชะพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า
เพื่อจะได้รับการอภัยบาป  แล้วท่านจะได้รับพระพรของพระจิตเจ้า”

     ส่วนการปกมือเหนือผู้รับศีลกำลัง พร้อมกับบทภาวนาก่อนการเจิมด้วยน้ำมันคริสมานั้น แม้จะ
ไม่เกี่ยวกับการทำให้เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นสิ่งที่ทำเพื่อทำให้พิธีครบถ้วนและเข้าใจศีลกำลังได้ดีขึ้น

   เมื่อมีการประกอบพิธีศีลกำลังแยกจากศีลล้างบาป พิธีศีลกำลังเริ่มหลังจากวจนพิธีกรรม ซึ่ง
ให้ความหมายว่า
“พระจิตเจ้าประทานพระพรหลายประการแก่พระศาสนจักร และแก่ผู้รับศีลกำลัง
แต่ละคนนั้น สืบเนื่องมาจากการได้ฟังพระวาจาของพระเจ้า ซึ่งแสดงพระประสงค์ของพระเจ้าให้
้แก่เราในชีวิตคริสตชน”
(OC 13)

     ต่อจากนั้นเป็นการเบิกตัวผู้รับศีลกำลัง การเทศน์หรือคำปราศรัยของพระสังฆราช และการให้ผู้รับศีลกำลังรื้อฟื้นคำสัญญาศีลล้างบาป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าศีลกำลังเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ต่อเนื่องจากศีลล้างบาป
 
     การที่พระสังฆราชและพระสงฆ์ปกมือเหนือผู้รับศีลกำลัง  เป็นการกระทำตามที่มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ิ เป็นกริยาที่ใช้วอน ขอพระคุณของพระจิตเจ้า

     ส่วนการเจิมด้วยน้ำมันคริสมาเป็นเครื่องหมายกางเขนที่หน้าผากของผู้รับศีล
กำลังพร้อมกับถ้อยคำที่ประกอบนั้นให้ความหมายว่า ผู้รับศีลกำลังได้รับตราประท ับที่ไม่ลบเลือนของพระคริสตเจ้าพร้อมกับพระคุณของพระจิตเจ้า  ซึ่งทำให้เขาเป็น
เหมือนพระคริสตเจ้ายิ่งขึ้น และโปรดให้เขาส่ง
“กลิ่นหอมของพระคริสตเจ้า” ให้
ขจรขจายไปในหมู่มนุษย์
(เทียบ OC 9)

     การมอบสันติสุขที่สรุปพิธีศีลกำลัง แสดงถึงความสัมพันธ์ของพระศาสนจักร
กับพระสังฆราช และกับผู้มีความเชื่อทุกคน

     หนังสือ
“จารีตศีลกำลัง” ยังเน้นความสำคัญของการสวดบทข้าแต่พระบิดาในพิธีศีลกำลัง “เพราะพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้อธิษฐานในตัวเรา และคริสตชนเป็นผู้กล่าวอาศัยพระจิตว่า “อับบา พ่อจ๋า”” (OC 13)

ศาสนบริกรศีลกำลัง

    ในหนังสือ
“จารีตศีลกำลัง” เน้นว่าผู้มีหน้าที่ประกอบศีลกำลังตามปกติ คือ พระสังฆราช ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการที่พระจิตเจ้าเสด็จมาครั้งแรกในวันเปนเตกอสเต (OC 7) (หากพิจารณาตามคำสอนของสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 คำว่า “พระสังฆราช” ในที่นี้น่าจะหมายถึงพระสังฆราชผู้ปกครองท้องถิ่นนั่นเอง) เมื่อศาสนบริกรที่โปรดศีลกำลังไม่ใช่พระสังฆราช (ดูผู้มีสิทธิ์ประกอบพิธีศีลกำลังตามกฎของพระศาสนจักร OC 7) “ถ้าศาสนบริกรวิสามัญเป็นผู้ประกอบพิธีศีลกำลัง เพราะกฎทั่วไปของพระศาสนจักรผ่อนผันหรือเพราะสันตะสำนักอนุญาตเป็นพิเศษ   เวลาเทศน์ศาสนบริกรวิสามัญนั้นคว รจะกล่าวว่า โดยแท้จริงแต่แรกเริ่มเดิมทีพระสังฆราชเป็นผู้ประกอบพิธีนี้ และให้บอกเหตุผลด้วยว่าทำไมกฎของพระศาสนจักรหรือสันตะสำนักจึงให้พระสงฆ์มีอำนาจประกอบพิธีศีลกำลังได้” (OC 18) (“ในอดีต ค.ศ. 1774 สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อได้ออกกฤษ ฎีกาให้พระสงฆ์ในจารีตละตินเมื่อประกอบพิธีศีลกำลัง มิใช่แต่เพียงอธิบายว่าพระสังฆราชเป็นผู้ประกอบพิธีนี้แต่แรกเริ่มเดิมทีเท่านั้น แต่พระสงฆ์ผู้นั้นควรอ่านเอกสารที่มอบอำนาจให้เขาประกอบพิธีศีลกำลังเป็นภาษาพื้นเมืองด้วยเสียงดัง” จากหนังสือ The Rite of Confirmation Anointing with the Spirit หน้า 47)

     น้ำมันคริสมาที่ใช้ในการโปรดศีลกำลัง ต้องได้รับการอภิเษกจากพระสังฆราช แม้ในก รณีที่พระสงฆ์เป็นผู้โปรดศีลกำลังด้วย (CIC 880 #2) คำสอนเรื่องนี้มาจากเทววิทยาที่ว่า
“พระสังฆราชเป็นมหาสมณะปกครองฝูงแกะของท่าน ชีวิตของสัตบุรุษในพระคริสตเจ้าหลั่งไหลมาจากพระสังฆราชและขึ้นอย ู่กับท่าน” (SC 41) และพิธีศีลกำลัง ในกรณีที่มีพระสงฆ์ช่วยพระสังฆราชเจิมน้ำมันคริสมาแก่ผู้รับศีลกำลัง   สังฆานุกรหรืออ นุกร   นำน้ำมันคริสมาทั้งหมดมามอบแก่พระสังฆราช แล้วพระสังฆราชจะส่งต่อให้พระสงฆ์ (OC 28)

     การที่พระสังฆราชเป็นประธานในพิธีศีลกำลัง แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงภาพความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรท้องถ ิ่น โดยมีพระสังฆราชเป็นผู้นำ
“ต้องเอาใจใส่จัดให้พิธีศีลกำลังมีลักษณะสง่างามแบบวันฉลอง มีความหมายสำคัญสำหรับวัด ประจำท้องถิ่น เรื่องนี้จะลุล่วงไปได้ ถ้าผู้จะรับศีลกำลังทุกคนมาชุมนุมร่วมกันในพิธี ส่วนประชากรทั้งมวลของพระเจ้า คือ ครอบ ครัวและมิตรของผู้จะรับศีลกำลังตลอดจนสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นนั้น จะได้รับเชิญให้มาร่วมพิธีนี้ และจะแสดงความเชื่อถึงพระคุณที่พระจิตเจ้าประทานให้” (OC 4)

ผู้รับศีลกำลัง

     ผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาปก็ดี เด็กที่รับศีลล้างบาปเมื่ออายุพอจะเรียนคำสอนได้แล้วก็ดี โดยปกติเมื่อรับศีลล้างบาปแล้ว ควรได้รับศีลกำลังและศีลมหาสนิทพร้อมกันด้ว ย ถ้าปฏิบัติดังนี้ไม่ได้ ก็ให้เขารับศีลกำลังร่วมกับผู้ที่รับศีลล้างบาปเมื่อเป็นทารกในพิธีที่สง่างามส่วนเด็กในพระศาสนจักรจารีตละติน โดยปกติจะไม่ให้รับศีลกำลัง จนกว่าจะมีอาย ุประมาณ 7 ปี อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเหตุผลทางด้านอภิบาลสัตบุรุษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องการจะสอนอย่างหนักแน่นยิ่งขึ้น ให้สัตบุรุษบำเพ็ญชีวิตซื่อสัตย์และเป็นพยานประกาศพระคริสตเจ้าอย่างเข้มแข็ง สภาพระสังฆราชจะกำหนดอายุที่เห็นเหมาะกว่ าก็ได้ (OC 11)

พ่อแม่ทูนหัวศีลกำลัง

   ผู้จะรับศีลกำลังแต่ละคนจะต้องมีพ่อหรือแม่ทูนหัวคนหนึ่งตามธรรมเนียม พ่อหรือแม่ทูนหัวจะเป็นผู้นำเขาไปรับศีล จะเป็นผ ู้เสนอตัวผู้รับศีลให้ผู้ประกอบศีลกำลัง และต่อไปจะเป็นผู้ช่วยเขาให้ซื่อสัตย์ต่อคำสัญญาศีลล้างบาป อาศัยพระจิตเจ้าที่เขาได้รับ
เนื่องจากกรณีแวดล้อมเกี่ยวกับการอภิบาลสัตบุรุษในสมัยปัจจุบัน ควรให้พ่อแม่ทูนหัวศีล ล้างบาปเป็นพ่อหรือแม่ทูนหัวศีลกำลังด้วย ชี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้นว่า ศีลกำลังมีความเกี่ยวข้องกับศีลล้างบาป และยังทำให้หน้าที่ของพ่อแม่ทูนหัวมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นด้วย

การมีส่วนร่วมของคริสตชนในพิธีศีลกำลัง

     การมีส่วนร่วมของชุมชนคริสตชนในการเตรียมผู้ที่จะรับศีลกำลัง
“เป็นหน้าที่ของพ่ อแม่คริสตชนที่จะต้องเอาใจใส่ อบรม เตรียมตัว และนำเด็กมารับศีลกำลัง นอกนั้นประชากรของพระเจ้ามีหน้าที่ต้องเอาใจใส่เตรียมตัวผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วให้รับศีลกำลัง ส่วนผู้อภิบาลสัตบุรุษมีหน้าที่ต้องสอด ส่องให้ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนได้เข้าเป็นคริสตชนอย่างสมบูรณ์ คือ ได้รับการตระเตรียมตัวรับศีลกำลังด้วยความเอาใจใส่” (เทียบ OC 3)

     ควรอย่างยิ่งให้เฉลิมฉลองศีลกำลังในวัด และในบูชามิสซาด้วย กระนั้นก็ดี ถ้ามีเหตุอันควร และชอบด้วยเหตุผล จะเฉลิมฉลองนอกบูชามิสซา และในสถานที่เหมาะสมใด ๆ ก็ได้ (CIC 881 เทียบ OC 13) ที่พระศาสนจักรเน้นให้จัดพิธีศีลกำลังในมิสซา เ พื่อให้เห็นเด่นชัดว่า ศีลกำลังมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับการเข้าเป็นคริสตชน และเราได้เข้าเป็นคริสตชนเต็มที่เมื่อเรารับพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า เพราะฉะนั้นผู้รับศีลกำลังจึงต้องรับศีลมหาสนิทด้วย ศีลมหาสนิททำให้เขาเป็นคริส ตชนอย่างสมบูรณ์ นอกนั้นวัดยังเป็นสถานที่ที่ชุมชนคริสตชนมาชุมนุมกันเพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า สวดภาวนาด้วยกัน รับศีลศักดิ์สิทธิ์ และฉลองศีลมหาสนิท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นกิจการของชุมชนพระศาสนจักร จึงควรจัดพิธีศี ลกำลังโดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของชุมชนคริสตชนด้วย (เทียบ OC 4)

หนังสือที่ใช้ประกอบการเขียนบทความนี้

     1.The Rite of Confirmation Anointing with the Spirit โดย Gerard Austin
     2.Sacrament
“Initiation, Penance, Anointing of the Sick” Commentary on Canons 840-1007 โดย William H. Woestman, O.M.I.

         CIC = Codex Iuris Canonici, 1983 (ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับปัจจุบัน)
         OC = Ordo Confirmationis (หนังสือ
“จารีตศีลกำลัง”)
         SC = Sacrosanctum Concilium (พระธรรมนูญพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง)

หน้าหลักหน้ารวมเปิดโลกคำสอน