หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           พี่น้องที่รัก คริสตชนให้ความเคารพอย่างสูงต่อบรรดาอัครสาวก เนื่องจากพวกท่านมีความสำค ัญต่อพระศาสนจักร   ซึ่งสะท้อนในข้อเขียนของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งกล่าวว่าชุมนุมคริสตชน “เป็นเพื่อนร่วมชาติกับบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสมาชิกในครอบครัวของพระเจ้า” ซึ่ง “ถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารโดยมีบรรดาอัครสาวกและประกาศกเป็นรากฐาน” (อฟ 2:19-20)

           อัครสาวกแต่ละองค์ได้รับความเคารพในสถานที่ที่มีหลุมฝังศพของท่าน หรือในสถานที่ที่อัครส าวกมีความสัมพันธ์กับพวกเขา โดยเฉพาะอัครสาวกเปโตรและเปาโลซึ่งเป็น “เจ้าชายของบรรดาอัครสาวก” อัครสาวกทั้งสองเป็นมรณสักขีที่กรุงโรมโดยการเบียดเบียนของจักรพรรดิเนโร (ค.ศ. 54-68) นักบุ ญเปโตรโดยการถูกตรึงกางเขน นักบุญเปาโลโดยการถูกตัดศีรษะ แม้ว่าไม่มีข้อพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์ว่าท่านทั้งสองเป็นมรณสักขีในปีและในวันเดียวกัน แต่ท่านทั้งสองได้รับการระลึกถึงร่วมกันในวันที่ 29 มิถุนายน ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 3

           เริ่มต้นศตวรรษที่  8 มีการฉลองนักบุญเปาโลในวันที่ 30 มิถุนายน แม้ว่าการระลึกถึงนักบุญเปาโลยังรวมอยู่ในมิสซาของวันที่ 29 มิถุนายน  ในปัจจุบันการระลึกถึงนักบุญเปาโลในวันที่ 30 มิถุนายน  ถูกถอดออกไปจากปฏิทินสากลของพระศาสนจักร  คงเหลือเพียงการสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโลในวันที่ 29 มิถุนายน ซึ่งถือเป็นวันฉลองบังคับ (ในประเทศไทยถ้าวันฉลองบังคับ (ยกเว้นวันคริสต์มาส) ไม่ตรงกับวันอาทิตย์ ให้เลื่อนไปฉลองในวันอาทิตย์ถัดไป) มีพิธีตื่นเฝ้าที่ทำในรูปแ บบของมิสซาในตอนเย็นก่อนวันฉลอง

           หัวข้อสำคัญของมิสซาสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโลอยู่ในเพลงเริ่มพิธี “ท่านเหล่านี้ เมื่อเจริญชีวิตในโลกนี้ ได้สละโลหิตเพื่อสร้างพระศาสนจักร ยอมรับความทุกข์ทรมานร่วมกับพระคริสตเจ้า จึงได้กลับกลายเป็นสหายสนิทของพระองค์” บทอ่านที่ 1 (กจ 12:1-11) กล่าวถึงกษัตริย์เฮโรดเบียดเบียนพระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเล็ม นักบุญเปโตรถูกจับแต่ได้รับการปลดปล่อยจากทูตสวรรค์ในตอนกลางคืนก่อนที่ท่านจะถูกพิจารณาคดีบท สดุดีตอบรับพระวาจาใช้บทสดุดีที่ 34 กับบทสร้อย “ทูตสวรรค์ของพระเจ้า จะช่วยกู้ผู้เคารพยำเกรงพระองค์ให้พ้นภัย” กลับกลายเป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่ได้ทรงช่วยนักบุญเปโตร บทอ่านที่ 2 (2 ทธ 4:6-7, 17-18) แสดงให้เห็นว่า นักบุญเปาโลมีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในการเผชิญกับการเป็นมรณสักขีที่จะมาถึง “ข้าพเจ้า ต่อสู้มาอย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าวิ่งมาถึงเส้นชัยแล้ว ข้าพเจ้ารักษาความเชื่อไว้แล้ว ยังเหลืออยู่ก็เพียงมงกุฎแห่งความชอบธรรม… องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากการประทุษร้ายทั้งสิ้น และจะทรงนำข้าพเจ้าไปสู่พระอาณาจักรสวรรค์ของพระองค์”

           ในพระวรสาร (มธ 16 : 13-19 )  เราได้ยินการประกาศยืนยันความเชื่อของนักบุญเปโตร “พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรพระเจ้าผู้ทรงชีวิต” พระเยซูเจ้าทรงให้ท่านเป็นศิลา ซึ่งเป็นรากฐานของพระศาสนจักรของพระ องค์ และให้อำนาจอย่างสมบูรณ์แก่ท่านในการผูกและการแก้ หัวข้อนี้ถูกกล่าวถึงอีกในบทอัลเลลูยาและบทเพลงรับศีล

           มีบทนำขอบพระคุณเฉพาะที่กล่าวถึง  “นักบุญเปโตร เป็นหลักมั่นคงแห่งความเชื่อที่จะต้องยึดถือ  นักบุญ
เปาโลเป็นผู้ป้องกันความเชื่อที่จะต้องเรียนรู้..ท่านทั้งสองได้รวบรวมพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าไว้ให้เป็นหนึ่ง
เดียวด้วยวิธีการแตกต่างกัน   พระองค์จึงได้สถาปนาท่านทั้งสอง   ให้เป็นผู้ที่โลกควรเคารพยกย่องด้วยกัน   และ
โปรดให้ได้รับมงกุฎอันรุ่งเรืองเช่นเดียวกันด้วย”

           บทภาวนาของประธานได้กล่าวว่า “ขอพระศาสนจักรซึ่งได้รับความเชื่อจากท่านทั้งสองตั้งแต่แรก ได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านทั้งสอง” และบทภาวนาหลังรับศีลกล่าวว่า “ขอให้การรับศีลมหาสนิทและการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอัครสาวก ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกันในความรักของพระองค์”

หน้าหลัก