บาปมิได้เพียงแค่ทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเท่านั้น
แต่ยังทำลายการประนีประนอมระดับภายใจจิตวิญญาณของบุคคลและทำลายความสัมพันธ์กับสิ่งสร้างอื่นๆอีกด้วย การเป็นทุกข์ถึงบาปโดยรวมนั้น แค่เสียใจและรับการอภัยบาปนั้น ไม่เพียงพอ
แต่จำเป็นต้องชดเชยสิ่งที่บาปก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงซึ่งจะตามมาภายหลังจากการทำบาปด้วย ในกระบวนการชำระชดเชยบาปนี้ ผู้รับศีลอภัยบาปมิได้ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว
เพราะผู้รับศีลอภัยบาปมีส่วนร่วมในธรรมลำลึกของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันซึ่งพระคริสตเจ้าและบรรดานักบุญก็ช
ื่นชมยินดีกับเขา พระเจ้าทรงสื่อสารกับเขาด้วยบุญกุศลแห่งพระหรรษทานของผู้อื่นที่มีคุณค่ามหาศาลแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันของพวกเขา เพื่อที่จะส่งผลในการชดเชยบาปของเขาอย่างรวดเร็วและอย่างบังเกิดผล
พระศาสนจักรตักเตือนบรรดาสัตบุรุษอยู่เสมอๆ ให้อุทิศคำภาวนา การประกอบกิจการที่ดีและ
การยอมรับทนทุกข์ทรมาน เพื่อการกลับใจของคนบาปและเพื่อสันติสุขของผู้ล่วงลับไปแล้ว และในระหว่างศตวรรษแรกๆ บรรดาพระสังฆราชได้หย่นระยะเวลาและความเข้มงวดของการลงโทษโดยส่
วนรวมลง จากการร้องขอของบรรดาประจักษ์พยานแห่งความเชื่อซึ่งได้รอดจากการถูกลงโทษทรมาน
จิตสำนึกที่ค่อยๆเติบโตขึ้นในเรื่องของอำนาจการผูกและการแก้ที่ได้รับจากองค์พระเยซูเจ้า รวมทั้งอำนาจที่จะปลดปล่อยผู้รับศีล
อภัยบาปและผู้เป็นทุกข์กลับใจ จากสิ่งที่ตกค้างจากบาปต่างๆที่ได้รับการให้อภัยแล้ว ด้วยการนำเอาบุญกุศลของพระคริสตเจ้า ของพระนา
งมารีย์และของบรรดานักบุญไปใช้กับพวกเขาเหล่านั้น และเพื่อที่จะได้รับพระหรรษทานแห่งความรักอันแรงกล้า บรรดาพระสงฆ์สามารถให้ส
ิทธิพิเศษนี้แก่บรรดาผู้ที่มีสถานภาพทางจิตวิญญาณที่เหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมเป็นทุกข์ถึงบาปนี้ เป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นในการรับพระคุณการุณย์
พระคุณการุณย์ หมายถึง การอภัยโทษ อันพึงต้องรับเนื่องมาจากการทำบาปหรือทำความผิดซึ่งไ
ด้รับการอภัยบาปแล้ว และที่เรียกว่าพระคุณการุณย์ เพราะเป็นพระคุณของพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความเมตตาและกรุณา โดยความยุติธรรม เมื่อทำบาปหรือทำความผิด คริสตชนที่สำนึกว่าคนเป็นคนบาป จึงทำอะไรบางอย่างที่เ
รียกว่า ทำพลีกรรม ประหนึ่งเป็นการยอมรับ โทษ เพื่อชดเชยบาปของตน และถ้าหากเขาชดเชยบาปได้หมดด้วยการทำพลีกรรมในขณะที่ยั้งมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เขาก็จะได้รับรางวัลในสวรรค์ทันทีเมื่อเขาตายไป แต่ถ้าห
ากยังชดเชยไม่หมด ก็จะต้องไปชดเชยในไฟชำระ ตามปกติ พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปจะกำหนดว่า โทษ อันเนื่องมาจากบาปอะไรและแค่ไหน...โทษ นี้หมายถึง กิจใช้โทษบาปนั่นเอง แต่ว่าในปัจจุบัน พระสงฆ์ไม่ได้กำหน
ด โทษ ที่คู่ควรกับบาปหรือความผิด เพราะเห็นว่าผู้ที่ทำบาปหรือทำความผิด ควรมีความสำนึกและพยายามทำพลีกรรมตามความสมัครใจเพื่อชดเชยบาปหรือความผิดพลาดของตนเองอยู่เสมอแล้ว
อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรมีสิทธิประกาศพระคุณการุณย์หรือการอภัยโทษแก่คริสตชน เพราะว่าพระศาส
นจักรมีอำนาจหน้าที่แจกจ่ายพระหรรษทานและพระคุณต่างๆของพระเจ้า
พระศาสนจักรประกาศพระคุณการุณย์ได้ 2 ประเภท คือพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์และพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์
* พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ (Plenary Indulgence) หมายถึงการให้อภัยโทษอย่างหมดสิ้น ผู้ที่ได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์
จะพ้น โทษ ที่พึงต้องรับทั้งหมด
* พระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์ (Partial Indulgence) หมาถึงการอภัยโทษให้บางส่วน แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่สามารถทราบอย่างชัดเจ
นว่าแค่ไหน ไม่เหมือนกับในอดีตที่ทราบแน่ชัดว่าพระคุณการุณย์นี้สำหรับระยะเวลานานเท่าใด ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยนั้น พระสงฆ์ผู้ฟังแก่
บาปมีธรรมเนียมกำหนด โทษ ให้คู่ควรกับบาปหรือความผิดที่ทำไป พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาทำกิจใช้โทษบาปนั้นๆด้วย เพราะฉะนั้น เม
ื่อมีการประกาศพระคุณการุณย์ จึงมีการระบุจำนวนวันสำหรับพระคุณการรุณย์ด้วย เช่นพระคุณการุณย์ 100 วัน เพื่อหมายถึงการอภัยโทษที่มีระยะเวลา 100 วันอันพึงต้องรับเพื่อชดเชยบาปหรือความผิดที่ได้ทำไป แต่ปัจจุบันนี้พระศาสนจักรไม่ประกาศพระคุณการุณย์ที่ระบุจำนวนวันอีกต่อไปเพราะว่าไม่มีธรรมเนียมให้พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาป กำหนด โทษ อย่างหนักๆเช่นในอดีตอีกแล้ว คริสตชนพึงสำเนียกที่จ
ะทำกิจใช้โทษบาปด้วยความสำนึกของตนเองมากกว่า พระศาสนจักรจึงประกาศเพียงกว้างๆในลักษณะที่เป็นพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์
ภาคผนวก
* วิธียกโทษบาปทาง
พระคุณการุณย์ได้เริ่มในศตวรรษที่สิบเอ็ด กิจใช้โทษบาปที่พระสงฆ์กำหนดให้ ได้รับการลดหรือยกเลิก เช่นคนที่พระสงฆ์ผู้ฟังแก้บาปกำหนดให้อดอาหาร 3 วันในระหว่างเทศกาลมหาพรต ได้รับความกรุณาลดลงเหลือ 2 วัน หรือคนที่ต้องทำบุญช่
วยอารามฤาษีเป็นกิจใช้โทษบาป ก็ได้รับความกรุณาลดหย่อนให้เบาลงหรือยกเลิกไปเลย ต่อมาสิ่งที่เคยเป็นกิจใช้โทษบาปเหล่านี้ ได้กลา
ยมาเป็นเงื่อนไขสำหรับรับพระคุณการุณย์ เช่นการทำบุญบำรุงอาราม โรงเรียน โรงพยาบาล การจาริกแสวงบุญไปยังโบสถ์วิหาร โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม พระคุณการุณย์ที่โด่งดังมากที่สุดคือพระคุณการุณย์สงครามครูเสด ผู้สมัครไปรบ จะได้รับการอภ
ัยโทษบาปและยังจะได้รับสิทธิพิเศษอีกบาปประการด้วย ส่วนพระคุณการุณย์อุทิศแก่ผู้ตายนั้น เริ่มมีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1476
* พรพระสันตะปาปา พระสันตะปาปาสามารถประทานพรเพื่อได้รับพระคุณการุณย์ได้ หรือเสกศาสนภัณฑ์ให้พระคุณการุณย์แก่ผู้ที่ใ
ช้ศาสนภัณฑ์เหล่านั้นได้ กฎหมายพระศาสนจักรให้สิทธิแก่พระคาร์ดินัลและพระสังฆราช เสกศาสนภัณฑ์ด้วยพรพระสันตะปาปาได้ ถ้าพระสงฆ์องค์ใดต้องการสิทธิพิเศษนี้ ก็สามารถขอได้จากสมณกระทรวงคารวกิจ สิ่งที่จะให้เสกเพื่อรับพระพระสันตะปาปานั้น ต้องทำด้วยวัสดเนื้อแข็ง ไม่แตกง่าย พระคุณการุณย์ไม่ใช่สมบัติส่วนตัว เพราะฉะนั้นใครก็ตามจะใช้ศาสนภัณฑ์
ก็ได้รับพระคุณการุณย์เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องนำติดตัวเสมอ เพียงแต่เก็บไว้ในที่ควรเคารพก็พอ การติดสายประคำกับตัวเฉยๆ จะไม่ได้รับพระคุณการุณย์อันใด ต้องสวดด้วยจึงจะได้รับ
* พระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์หรือครบริบูรณ์ ขึ้นอยู่กับว่าพระคุณนั้นจะปลดปล่อยบุคคลใ
ห้เป็นอิสระจากการโดนลงโทษชั่วคราวที่สมควรกับบาป แค่ส่วนหนึ่งหรือทั้งครบ
* คริสตชนทุกคนจะได้รับพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์หรือครบบริบูรณ์สำหรับตัวพวกเขาเอง
หรือเขาอาจนำไปใช้ให้กับผู้ตายโดยการอธิษฐานภาวนา
* นอกจากผู้มีอำนาจสูงสุดในพระศาสนจักร ผู้ที่จะสามารถให้พระคุณการุณย์ได้ คือผู้ที่ได้รับอำนาจนี้โดยการรับรู้จากตัวบทกฎหมา
ยเอง หรือได้รับอำนาจนี้จากพระสันตะปาปา
* ไม่มีผู้มีอำนาจใดภายใต้พระสันตะปาปา จะสามารถให้อำนาจในการให้พระคุณอารุณย์แก่คนอื่นๆ เว้นแต่ว่าอำนาจนี้ได้ถูกให้อย่า
งชัดเจนกับบุคคลนั้นๆโดยสันตะสำนัก
* บุคคลที่จะมีความสามารถได้รับพระคุณการุณย์ ต้องได้รับศีลล้างบาปแล้ว ไม่ถูกตัดออกจากพระศาสนจักรและอยู่ในสภานะพระห
รรษทาน อย่างน้อยที่สุดเมื่อได้ทำกิจใช้โทษบาปที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน
* การจะได้รับพระคุณการุณย์นั้น บุคคลที่จะรับได้อย่างน้อยต้องมีความตั้งใจที่จะรับพระคุณการุณย์นั้น และต้องทำกิจใช้โทษบาปต
ามเวลาและตามวิธีการที่กำหนดไว้
|