หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

          ...วันฉลองของบรรดานักบุญ
เป็นการป่าวประกาศกิจการน่าพิศวง
ที่พระคริสตเจ้าทรงกระทำ
ในตัวข้าบริการของพระองค์
และเป็นการหยิบยื่นแบบฉบับที่เหมาะสม
ให้สัตบุรุษได้เอาเยี่ยงอย่าง...

           

          ตั้งแต่แรกพระคัมภีร์ได้สงวนนามนี้ “นักบุญ” หรือ “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” ไว้สำหรับพระยาเวห์หรือองค์พระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียว เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง (ปฐก 28:10-19; 1 ซมอ 6:13-21; 2 ซมอ 6:1-10) มนุษย์ไม่สามารถจะทำอะไรอย่างอื่นได้นอกจากกราบไหว้นมัสการและยำเกรงพระองค์ (อพย 3:1-6; ปฐก 15:12)

          ในศาสนาที่สามารถช่วยให้รอดพ้นได้เช่นของพวกอิสราแอล เป็นพระเจ้าเองซึ่งเป็นผู้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ให้แก่ประชากรของพระองค์ (อสย 12:6-29; 19-23;30: 11-15;31:1-3) ซึ่งตัวเขาเองก็จะกลายเป็น “พระเจ้าอีกผู้หนึ่ง” โดยเขาจะประพฤติตนแตกต่างไปจากชนชาติอื่นๆ โด ยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเจริญชีวิตประจำวันของพวกเขาและจากการแสดงออกของพวกเขาโดยทางจารีตพิธีกรรมต่างๆ (ลนต19:1-37;21:1-23 ; วว 4:1-11) แต่ว่าเพื่อ จะสามารถบันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้บรรลุผลสำเร็จตามที่พระเจ้าได้ทรงเรียกพวกเขามายังความศักดิ์สิทธิ์นี้นั้น ประชากรผู้ได้รับเลือกสรรไม่มีวิธีการอะไรอย่างอ ื่นนอกจากการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆและการปฏิบัติการชำระล้างให้สะอาดหมดจดปราศจากมลทินทางด้านภายนอกเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน พวกเขาได้มีจิตสำนึกถ ึงความไม่เพียงพอของวิธีการต่างๆเหล่านี้ พวกเขาจึงได้เจาะจงแสวงหาวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยพวกเขาให้ได้มีส่วนในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้า วิธีการใหม่นี้ก็คือ “หัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์” (อสย 6:1-7; สดด 14; อสค 36: 17-32; 1  ปต 1:14-16) พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ว่าความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาจะได้รับนั้นต้องมาจากพระผ ู้เป็นเจ้าโดยตรง (อสค 36: 23-28)

          ความหวังหรือความปรารถนานี้ได้สำเร็จหรือได้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในองค์พระคริสตเจ้า ในตัวพระองค์เอง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าได้ทรงฉายแสงออกมาให้ปรากฎในตัวพระองค์   และ “พระจิตแห่งความศักดิ์สิทธิ์” ทรงสถิตอยู่ในพระองค์  พระองค์ได้ทรงรับ ตำแหน่ง “องค์ความศักดิ์สิทธิ์” (ยน 3:1-5; 1 คร 3:16-17; กท 5:16-25; รม 8: 9-14) และอันที่จริงพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ก็เพื่อจ ะช่วยมนุษยชาติได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์

          พระเยซูได้ทรงถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นี้ให้แก่มนุษย์ (มธ 13: 24-30; 25: 2; คส 1:22; 2 คร 1:12)

          ในศตวรรษแรกๆของพระศาสนจักร คำสอนเรื่องนี้มีชีวิตชีวามากจนว่าบรรดาสมาชิกของพระศาสนจักรในเวลานั้นไม่ได้ลังเลใจที่จะเรียกตัวเองว่า “นักบุญ” เลย   (2 คร  11-12; รม 15: 26-31 ; อฟ3: 5-8; 4:12) และพระศาสนจักรเอง ก็ถูกเรียกว่า “สหพันธ์นักบุญ” สำนวนนี้เรายังจะพบได้อีกในบท “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระผู้เป็นเจ้า” ซั่งมีต้นกำเนิดจากกลุ่มคริสตชนที่มาร่วมถวายบูชามิสซาและมีส่วนร่วมใน “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จึงกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือ “นักบุญ” ดังนั้น ความศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็นนักบุญของคริสตชนจึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมในชีวิต ของพระเจ้าโดยอาศัยวิธีการต่างๆ ของพระศาสนจักรเป็นต้นโดยทางศีลศํกดิ์สิทธิ์

          ความศักดิ์สิทธิ์นี้มิใช่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่พยายามจะไปให้ถึงพระเจ้าโดยอาศัยกำลัง ของตนเอง แม้จะประกอบกิจกรรมขั้นวีรกรรมก็ตาม แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า นอกนั้นยังเป็นการตอบสนองของมนุษย์ต่อการเริ่มต้นอันนี้ของพระเจ้าอีกด้วย

          ถ้าหากการเป็น “นักบุญ” เป็นการลอกเลียนแบบพระเยซูเจ้าพระองค์จึงได้รับการสร้างรูปแบบขึ้นใหม่
ในทรรศนะที่แตกต่างกันออกไปในบรรดานักบุญของพระองค์ นักบุญแต่ละองค์จึงมีชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ต่างองค์ต่างก็มีอะไรที่เด่นอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของท่าน

          ในคริสตศาสนาคาทอลิก นักบุญมีทั้งชายและหญิงหลายรูปแบบด้วยกัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของท่าน เช่น อัครสาวก ผู้นิพน ธ์พระวรสาร มรณสักขี/มารตีร์ จิตตาภิบาล(พระสันตะปา พระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกร) นักปราชญ์ พรหมจารี นักบวชชายหญิง นักบุญชายหญิงทั่วๆไป(กษัตริย์ ราชินี แม่ม่าย ฯลฯ) ฯลฯ

          ทุกๆท่านที่กำลังเสวยความบรมสุขอยู่ในเมืองสวรรค์ ก็ควรได้ชื่อว่าเป็น “นักบุญ” แม้ว่าจะไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากพระศาสนจักรคาทอลิก แต่บรรดานักบุญ ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการนั้น ต้องได้รับการแต่งตั้งให้ “บุญราศรี” (Blessed/Beatus) เสียก่อน

          ...มีคริสตชนจำนวนไม่น้อยที่มีความคิดอย่างผิดๆ ว่า นักบุญคือคนที่ไม่เคยทำบาปเลยหรือทำบาปไม่เป็น...เป็นคนที่เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมต่างๆ หรือพูดง่ายๆว่าเกิดมาก็เป็นนักบุญเป็นคนดีแล้ว

          จริงๆ  แล้วบรรดานักบุญทั้งหลายนั้นก็มีอวัยวะหรือส่วนประกอบต่างๆ  ทั้งทางร่างกาย
และทางจิตใจเหมือนกับมนุษย์คนอื่นๆ มีทั้งข้อบกพร่อง ข้อตำหนิเหมือนๆกัน อาจจะมากน้อยไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าข้อตำหนิและข้อบกพร่องต่างๆเหล่านี้ในตัวของนักบุญจะค่อยๆไ ด้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นอะไรบางอย่างที่ดีขึ้นหรือกลายเป็นคุณธรรมความดี นักบุญต่างๆเหล่านั้น ในเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ได้มีชีวิตที่ง่ายๆกว่าพวกเราเลย หลายๆท่านมีชีว ิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากกว่าพวกเรามากนักในแทบทุกเรื่อง นักบุญที่ทำการต่อสู้กับการประจญ รู้จักพลังอำนาจของการประจญมากกว่าค นบาปซึ่งยอมแพ้ต่อการผจญอย่างง่ายๆตั้งแต่ยกแรก ท่านเหล่านั้นได้กลายเป็นนักบุญด้วยการเลือกทำในสิ่งดีและถูกต้องด้วยจิตใจที่แ น่วแน่มั่นคง เช่น นักบุญเปาโล นักบุญออกัสติน แห่งฮิปโป นักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา ดังนี้เป็นต้น
 

          
ให้เราได้ร่วมชื่นชมยินดี
ทำการสมโภชนักบุญทั้งหลาย
ให้ท่านได้ช่วยอ้อนวอนพระเจ้า
ทรงประทานความช่วยเหลือ
ที่เราปรารถนาจะได้รับด้วยเถิด

หน้าหลัก