หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           นักบุญเกรโกรี องค์ใหญ่ พระสันตะปาปา ได้กล่าวไว้ว่า...เมื่อจิตใจของเรามนุษย์หยุดพักจากสิ่งต่างๆภายนอก ก็พร้อมที่จะรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างจากเบื้องบนและจะทำการวินิจฉัยทีละสิ่ง จะรู้สึกเป็นทุกข์เสียใจในสิ่งผิดสิ่งไม่ควรที่ได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งถูกต้องที่จะบอกว่าพระเจ้าทรงสอนเรามนุษย์ด้วยกฎระเบียบต่างๆของพระองค์ เพราะว่าสำหรับจิตวิญญาณที่ทำการรำพึงไตร่ตรอง ก็ทำให้ตัวเองเจ็บปวดมีบาดแผลด้วยการเป็นทุกข์เสียใจ และเสียงร้องคร่ำครวญของการรู้จักสำนึกผิดก็จะเป็นเสมือนรอยแผลของการถูกเฆี่ยนตี และด้วยประการฉะนี้ที่กษัตริย์ซาโลมอนด้วยการผนวกเอาการทำโทษทั้งสองชนิดนี้เข้าไว้ด้วยกัน พลางกล่าวว่า “การเฆี่ยนตีที่ให้เป็นบาดแผล ก็ชำระความชั่วเสีย ส่วนการโบยตีกระทำให้ส่วนลึกที่สุด สะอาดสะอ้าน” (สภษ 20: 30)

          การถูกทำโทษทางภายนอกจะช่วยชำระล้างความผิดของเรามนุษย์ ส่วนการรู้จักสำนึกผิดจะซึมลึกเข้าไปในจิตวิญญาณที่รู้สำนึกแ ห่งการใช้โทษบาปแต่ทั้งสองอย่างก็ไม่เหมือนกัน เพราะรอยแผลของการถูกเฆี่ยนตี ได้สร้างความเจ็บปวดให้ ส่วนความเจ็บปวดของกา รรู้จักสำนึกผิด กลับจะนำความปีติยินดีแห่งจิตใจมาให้คนๆนั้น

          มีบางสถานการณ์ที่จิตวิญญาณของผู้ชอบธรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการรู้จักสำนึกผิด คือเมื่อคนๆ นั้น รำลึกถึงบาปผิ ดของตน เขาก็จะพิจารณาดูว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ตรงไหน และเมื่อคนๆนั้นรู้สึกกลัวการพิพากษาของพระเจ้า พลางทำการทบทวนดูตัวต นของตัวเองว่าเขาควรจะต้องยืนอยู่ตรงไหนดี...เมื่อคิดคำนึงถึงความชั่วร้ายต่างๆของชีวิตปัจจุบัน ก็จะทำให้คิดอย่างปวดใจว่าตนเองก ำลังยืนอยู่ตรงไหน แต่เมื่อเวลาพิศเพ่งถึงความปีติยินดีแห่งบ้าน ณ เมืองสวรรค์ซึ่งตัวเองยังไปไม่ถึง ก็จะใคร่ครวญว่าตนเองยังไม่ได้ไปอยู่ที่นั่น... นักบุญเปาโลเมื่อทำการรำลึกถึงบาปของตนเอง ก็รู้สึกเป็นทุกข์ใจถึงบาปนั้น พลางกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่สมควรจะได้ช ื่อว่าเป็นอัครสาวก เพราะข้าพเจ้าได้เคยเบียดเบียนพระศาสนจักรของพระเจ้า” (1คร 15: 9) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อกำลังคิดถึงการพิพาก ษาของพระเจ้า ท่านนักบุญเพราะกลัวความชั่วร้ายที่จะมาถึงตัวท่าน จึงได้อุทานออกมาว่า “แต่ข้าพเจ้าได้เคร่งครัดต่อร่างกายเพื่อบังคับให้ร่างกายอยู่ใต้อำนาจของข้าพเจ้า เพราะเกรงว่าหลังจากที่ได้เทศน์สอนคนอื่นแล้ว ข้าพเจ้าอาจถูกตัดสิทธิ์เพราะผิดกติกา” (1คร 9: 27) และอีกครั้งหนึ่งเมื่อท่านนักบุญกำลังคิดทบทวนถึงความชั่วร้ายแห่งชีวิตปัจจุบัน พลางกล่าวว่า “เมื่อเรามีชีวิตอยู่ในร่างกาย เราก็ถูกเนรเทศห่างจากองค์พระผู้เป็นเจ้า” (2คร 5: 6) และ “แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า มีกฎอีกข้อหนึ่งในร่างกายของข้าพเจ้าซึ่งสู้รบกับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และล่ามข้าพเจ้าไว้กับกฎของบาปซึ่งอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้า”(รม 7: 23)

          เมื่อท่านนักบุญคิดถึงความปีติยินดีแห่งบ้านเกิดเมืองสวรรค์ ก็อุทานว่า “ในเวลานี้ เราเห็นพระเจ้าเพียงรางๆ เหมือนเห็นในกระจกเงา แต่เมื่อถึงเวลานั้น เราจะเห็นพระองค์เหมือนพระองค์ทรงอยู่ต่อห น้าเรา เวลานี้ ข้าพเจ้ารู้อย่างไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อถึงเวลานั้น ข้าพเจ้าจะรู้แจ้งเหมือนที่พระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้า”(1คร 13: 12) และเช่นเดียวกัน “เรารู้ว่า เมื่อกระโจมที่เราอาศัยอยู่ในโลกนี้ ถูกเก็บไปแล้ว เรายังมีบ้านซึ่งพระเจ้าทรงสร้างไว้สำหรับเรา บ้านที่ไม่ได้สร้างด้วยมือมนุษย์ แต่เป็นบ้านถาวรนิรันดรอยู่ในสวรรค์” (2คร 5: 1) และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพิศเพ่งดูสิ่งดีต่างๆของบ้านที่ว่านี้ท่านนักบุญพูดกับกลุ่มคริสตชนเอเฟซัสว่า “ขอพระเจ้าโปรดให้ตาแห่งใจของท่าน สว่างขึ้น เพื่อจะรู้ว่าพระองค์ทรงเรียกท่านให้มีความหวังประการใดและความรุ่งเรืองที่บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะได้รับเป็นมรดกนั้น บริบูรณ์เ พียงใดอีกทั้งรู้ด้วยว่าพระอานุภาพยิ่งใหญ่ของพระองค์ต่อเราผู้มีความเชื่อนั้น ล้ำเลิศเพียงใด พระอานุภาพและพละกำลังนี้” (อฟ 1: 18-19)

          ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์โยบ เมี่อใคร่ครวญถึงความชั่วร้ายแห่งชีวิตปัจจุบันนี้ ได้บอกว่า “ชีวิตบนแผ่นดินเป็นการถูกเกณฑ์ทหาร” (โยบ 7: 1) เช่นเดียวกับที่กษัตริย์ดาวิดเมื่อคิดถึงบ้านเกิดนิรันดรและความชั่วร้ายต่างๆที่ได้เกิดขึ้น รวมทั้งความปีติยินดีที่ยังอยู่ห่างไกล ไ ด้กล่าวไว้ว่า “วิบัติแก่ข้าพเจ้าที่มีชีวิตอยู่นานเกินไปแล้ว” (สดด 119: 5) และ “ข้าพระองค์ตกใจกล่าวว่าข้าพระองค์ถูกตัดขาดไปพ้นจากสายพระเนตรของพระองค์แล้ว”(สดด 31: 22)

          สำหรับบางคน การลิ้มรสแห่งการพิศเพ่งเปรียบเสมือนการสัมผัสที่ค่อนข้างรวดเร็วที่มีต่อจิตวิญญาณอันก่อให้เกิดความสุขใจอย่ างบอกไม่ถูกที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนและเป็นสิ่งใหม่สำหรับจิตวิญญาณด้วย ประสบการณ์ที่ว่านี้ยิ่งเกิดขึ้นนานเท่าใด ก็ยิ่งจะทำใ ห้จิตวิญญาณอยากจะมีไว้ครอบครองตลอดไปเพราะติดใจอยู่กับมัน นี่ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตวิญญาณของตนอ่อนแอลงเพราะไม่สามารถที่จะปักสายตาไปยังพระผู้ที่เขาได้ครอบครองไว้ก่อนหน้านี้และทำให้พลังขับเคลื่อนภายในอ่อนแอถดถอยลงไปด้วย

          เมื่อจิตวิญญาณได้รับการสัมผัสเช่นที่ว่านี้ ก็จะเกิดการดิ้นรนแสวงหาครั้งใหม่ที่หนักหนาสาหัสกว่าเดิมและก่อให้เกิดความเจ็บปว ด แต่ก็ยังผสมผสานด้วยความปีติยินดี เพราะหูของเราได้ยอมเปิดเพื่อรับฟังพระวาจาของพระเจ้า การเห็นแจ้งภายในก็ได้เกิดขึ้นผ่านทา งพระหรรษทานของพระองค์ เมื่อเรามองลึกเข้าไปในตัวตนของเรา เราก็จะแลเห็นว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างน่าประหลาดมหัศจรรรย์ แ ต่ที่เราได้ถูกผจญล่อลวงจากการยินยอมของเราเองต่อการชักชวนของจิตชั่วร้าย จึงทำให้เราได้ตระหนักว่าการที่เราได้ถูกสร้างขึ้นมา ก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่เราได้ทำกับตัวเราเอง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกันในการสร้างเรามนุษย์ขึ้นมาของพระเจ้า มนุษย์เราแต่แรกก็ยังไม่มีตำหนิข้อบกพร่องแต่อย่างใด แต่เพราะด้วยบาปที่ได้เข้ามาในโลกมนุษย์ จึงทำให้เราแปดเปื้อนด้วยสิ่งไม่ดีต่างๆ ดังนั้น เมื่อเราโดนการรู้จักสำนึกผิดตอกย้ำเข้าไป เราก็อยากจะหนีให้พ้นจากสิ่งที่เราได้กระทำให้กับตัวเราเอง กลับไปสู่สภาพที่เราได้เคยเป็นเม ื่อถูกสร้างขึ้นมาดังที่เอลีฮูได้ต่อว่าโยบว่า “เพื่อว่าพระเจ้าจะได้หันให้มนุษย์กลับจากกิจการของเขา และตัดความเย่อหยิ่งออกเสียจากมนุษย์” (โยบ 33: 17)

          ด้วยการรู้จักสำนึกผิด ทำให้เราได้หันออกจากความบาปที่เราได้เคยทำไว้และได้ช่วยขจัดความเย ิ่อหยิ่งออกไปเสียจากตัวเราด้วย...มนุษย์ได้ทำอะไรให้กับตัวเองบ้าง ถ้ามิใช่บาป?...ได้มีเขียนไว้ว่า “ความเยิ่อหยิ่งเป็นจุดเริ่มของบาปทั้งหลาย” (บสร 10: 13)เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งถูกต้องอย่าง ยิ่งที่จะบอกว่าเมื่อเรามนุษย์ได้หันออกจากสิ่งที่ตัวเองได้เคยกระทำไว้ ก็เท่ากับว่าเขาก็ได้ช่วยตัวเองให้ออกจากความเย่อหยิ่งด้วย การละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้าด้วยการทำบาป ก็คือการหยิบยกเอาค วามเย่อหยิ่งของตนขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้านั่นเอง เพราะว่าเมื่อคนเราขัดขืนที่จะไม่นบนอบต่อพระเจ้า ก็เท่ากับไม่สนใจในฤทธิ์อำนาจของพระองค์ ตรงกันข้าม คนที่อยากหันออกจากสิ่งเขาได้เคยทำ ก็จะยอมรับว่าสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำอันจะช่วยเขาให้กลับไปสู่สภาพที่พระเจ้าได้ทรงสร้างเขามา พลางเ ลือกสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้เขาเป็น และเพราะการเห็นแจ้งดังนี้ เราก็จะได้รับเกียรติมงคลและรอดพ้นจากการโดนลงโทษตลอดชั่วนิรันดร

          ในชีวิตปัจจุบัน ทุกสันติสุขที่เราจัดเตรียมไว้สำหรับตัวเราเอง ก็มักจะต้องถูกทดลองไม่ว่าจะเป็นสถานที่สันโดษสักเพียงใด ก็หนีไม่พ้นจากการถูกทดลอง...ในพระคัมภีร์ เตียงนอนหรือโซฟา ซึ่งใช้เป็นที่รองรับความสดวกสบายของร่างกาย หรือเพื่อดึงเอาพละกำลังกลับมาจากการที่ต้องตรากตรำทำงานมาเหน็ดเหนื่อย มีความหมายเช่นใดในพระวรสารเมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรงกล่าวกับชายคนหนึ่งซึ่งพระอง ค์ได้ทรงรักษาให้หายว่า “เราสั่งท่าน จงลุกขึ้น แบกแคร่ กลับบ้านไปเถิด” (ลก 2: 11) แคร่ในที่นี้ย่อมหมายถึงสิ่งที่ให้ความสะดว กสบายแก่ร่างกายมิใช่หรือ? ชายคนนั้นได้รับคำสั่งให้แบกไป เพราะเขามีสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ก่อนหน้านี้เขาต้องนอนอยู่บนแคร่เพราะไม่สบาย เนื่องจากว่าทุกคนที่ยังหลงปลื้มอยู่ในบาป ก็จะเป็นคนป่วยที่นอนอยู่บนความสะดวกสบายของเนื้อหนังแต่หลังจากที่ได้รับการรักษาให้หายแล้ว เขาก็จะแบกมันไปซึ่งก่อนหน้านี้เขายังจะต้องนอนบนแคร่นี้ เพราะว่าหลังจากที่ได้รับการยกบาปแล้วด้วยพระเมตตาข องพระเจ้า จากนี้เป็นต้นไป เขาจะต้องยืนหยัดให้ได้กับการโจมตีของเนื้อหนังที่พยายามจะปลุกกระตุ้นให้ความอยากที่เลวร้ายเดิมๆประทุขึ้นมาอีกเพื่อตัวเองจะได้พบกับความสงบสันติอีกครั้งหนึ่ง

          เมื่อพูดถึงเรื่องเตียงนอนอันเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเติมพลังให้กับการงานดีๆที่ทำ ท่านอัครสาวกเปโตรได้กล่าวในหนังสือกิจการของอ ัครสาวกว่า “ไอเนอัสเอ๋ย พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักษาท่านให้หาย จงลุกขึ้นและเก็บที่นอนเถิด” (กจ 9: 34) พระวาจาที่ว่า “จงลุกขึ้น” ให้ความหมายอะไร ถ้าหากไม่ใช่ “ให้ละทิ้งความชั่วร้ายที่ท่านได้กระทำ มิใช่หรือ?”และพระวาจาที่ว่า “จงเก็บที่นอนเถิด”ถ้าหากไม่ใช่ “จงทำงานหนัก งานแห่งพระพรซึ่งจะทำให้ท่านได้พักผ่อน มิใช่หรือ?” เพื่อว่าเมื่อสามารถลุกขึ้นได้แล้ว เขาก็สามารถละทิ้งสิ่ งต่างๆ(ที่ไม่ดี)ซึ่งครั้งหนึ่งเขาได้เคยทำไว้ และจากการเก็บที่นอนขึ้น เขาก็จะเรียนรู้สิ่งที่เขาควรจะได้ทำในภายภาคหน้า

          จากทั้งสองสิ่งที่ผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งพระธรรมเก่าได้สรุปเอาไว้ “จงพรากเสียจากความชั่ว และกระทำความดี” (สดด 37: 27) สำหรับเรามนุษย์ “การละทิ้งจากความชั่วร้าย ก็คือการลุกขึ้นจากสิ่งที่ตัวเองกำลังทอดกายอยู่” ส่วน “การทำดี” คือการทำงานต่างๆซึ่งจะได้รับการพักผ่อนเป็นรางวัล สำหรับคนที่แม้นได้ละทิ้งจากความชั่วร้าย แต่ยังมิได้กระทำดี เหมือนกับคนที่ได้ลุกขึ้นจากเตียงนอนก็จริง อยู่ แต่ยังไม่ได้เก็บที่นอนซึ่งเป็นที่พักผ่อนสำหรับตนเอง

          เตียงนอนหรืออุปกรณ์ใช้พักผ่อนยังหมายถึงการพักผ่อนบนโลกนี้ดังที่มีเขียนไว้ว่า “มีสิ่งร้ายเข้าไปอยู่ในตัวเขาแล้ว เขาจะไม่ลุกไปจากที่ที่เขานอนนั้นอีก” (สดด 41: 8)  เพราะเมื่อคนเรารู้สึกเหนื่อหน่ายกับความสลวนต่างๆของโลกนี้ พระหรรษทานของพระเจ้าก็จ ะเร่งรัดเราให้ทำการละทิ้งสิ่งของและวิถีทางของโลกนี้ พระองค์จะทรงดลใจให้เขามีวิธีการที่จะหนีเอาตัวรอดจากความอยากต่างๆของชี วิตปัจจุบันนี้เพื่อจะได้มีโอกาสพักผ่อนจากงาน จากนั้นเขาก็จะแสวงหาหนทางแห่งชีวิตที่จะทำให้เขาได้พบกับสันติภาพตามที่ปรารถนาและจะได้พบสถานที่หรือที่พักผ่อนจากงานลำบากทั้งสิ้น แต่ว่าตราบเท่าที่เรามนุษย์ยังใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ทำอย่างไรก็ยังคงจะหนีไม่พ้นจากการถูกผจญล่อลวง และบางทีอาจจะพบกับการผจญล่อลวงที่ใหญ่กว่านั้นอีก

          การที่เราต้องตรากตรำลำบากในชีวิตนี้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ก็เพื่อว่าเราจะได้ไม่ต้องติดอกติดใจกับข้าวของของโลกนี้มา กไปกว่าการที่จะต้องไปให้ถึงจุดหมายปลายทางแห่งการเดินทางชีวิตมุ่งสู่นิรันดรภาพ...เพราะชีวิตปัจจุบันของเรามนุษย์เป็นเพียงแต่การเดินทางมุ่งหน้าสู่บ้านเกิดแห่งเมืองสวรรค์ของเรา และการที่เราโดนผจญล่อลวงจากสิ่งเย้ายวนต่างๆแห่งโลกนี้อยู่บ่อยๆ ก็จะทำให้เราไม่รักโลก มากไปกว่าบ้านเกิดเมืองสวรรค์ของเราเพราะมีนักเดินทางบางคน ขณะที่กำลังเดินทางอยู่ เมื่อแลเห็นทุ่งนาเหลืองอร่ามทุ่งหญ้าหลากหลายสีสัน ก็จะหลงปลื้มกับความสวยสดงดงามขอ งมัน อันจะทำให้เขาลดความเร่งรีบในการเดินทางลงและอาจทำให้หันออกนอกเส้นทางที่เขาได้เริ่มออกเดินทาง เพราะฉะนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างหนทางแห่งโลกใบนี้ ให้รู้สึกยากล ำบากสำหรับผู้ที่ได้รับเลือกสรรของพระองค์ในระหว่างการเดินทางมุ่งหน้าไปหาพระองค์ เพื่อว่าจะไม่มีผู้เลือกสรรคนใดที่จะเลือกการพักผ่อนระหว่างการเดินทางชีวิตบนโลกใบนี้ พลา งเสพติดกับความสวยสดงดงามระหว่างทาง แต่จะรีบเร่งฝีเท้าไปหาพระองค์ให้เร็วขึ้น มากกว่าที่จะไปติดอกติดใจกับอะไรบางอย่างระหว่างทาง

          และเพราะว่าบางครั้งในชีวิตของเรานี้ สันติสุขทั้งหลายที่เราได้จัดเตรียมไว้สำหรับตัวเอง อาจจะโดนรบกวนจากอะไรต่างๆของโล กนี้ แต่เราต้องไม่ย่อท้อ กลับจะต้องเดินหน้าไปเรื่อยๆในหนทางแห่งคุณธรรมและเมื่อรู้สึกว่าได้ก้าวหน้าในหนทางแห่งคุณธรรมแล้ว ก็จะทำให้เรามีความสุขใจ

          ด้วยการถูกผจญล่อลวง ก็จะทำให้เราได้เรียนรู้ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างด้วยพละกำลังของตนเองและพระหรรษทานของพระเจ้ าทำอะไรให้กับเราเมื่อเราถูกผจญเมื่อเรากำลังก้าวหน้าในหนทางแห่งคุณธรรม เราจะต้องไม่ลืมความอ่อนแอของตัวเราเอง...ความก้าวหน้าจะต้องทำให้เราคิดถึงพระหรรษทานของพระเจ้า ส่วนในความอ่อนแอเราก็จะคิดถึงการถูกผจญล่อลวงอันจะทำให้เราหลงผิดได้

          ถ้าหากเราคริสตชนและนักบวชต้องการจะพิศเพ่งดูสิ่งดีๆภายในจิตใจ เราก็ต้องหยุดพักจากสิ่งต่างๆภายนอก เพราะเมื่อหลุดออกจากความวุ่นวายต่างๆของโลกใบนี้ เราก็จะได้ยินเสียงของพระเจ้า แล้วนั้นจิตวิญญาณของเราจะพักพิงอยู่ในสันติและพระเจ้าก็จะเข้ามา ยึดพื้นที่ในส่วนลึกของจิตวิญญาณของเรา

หน้าหลัก