หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

          พระสมณสารของสมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ทรงอธิบายให้ความเข้าใจถึงความหมายการสวดสายประคำและทรงส่งเสริมให้สวดสายประคำ

          
พระสมณสารว่าด้วยการนับถือพระนางมารีย์ (1974)   สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6

          44. ขอยกตัวอย่าง ได้มีการอธิบายให้ดียิ่งขึ้นว่าสายประคำมีลักษณะสอดคล้องกับพระวรสาร คือ ได้รับชื่อของอัตถ์ลึกซึ้ง และบทภาวนาสำคัญๆมาจากพระวรสาร นอกจากนั้นเมื่อระลึกถึงคำคำนับของเทวดา และความยินยอมอย่างศรัทธาของแม่พระ สายประคำก็ได้รับแรงบันดาลใจจากพระวรสาร ซึ่งบอกว่าสัตบุรุษต้องสวดสายประคำด้วยจิตใจอย่างไร ต่อไป เมื่อเราสวดบทวันทามารีอาต่อๆกันพักหนึ่ง สายประคำก็เสนออัตถ์ลึกซึ้งสำคัญ เช่น เรื่องการรับเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ ในเวลาสำคัญที่เทวดาแจ้งสารแก่พระนางมารีย์ ฉะนั้น สายประคำจึงเป็น “บทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสาร” ตามที่บรรดาจิตตาธิการและผู้รู้ชอบเรียกเช่นนี้ในสมัยปัจจุบันมากกว่าในสมัยก่อน

          46. สายประคำเป็นบทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสารและถืออัตถ์ลึกซึ้งเรื่องการรับมนุษย์เพื่อไถ่บาปเป็นหลัก จึงมีจุดมุ่งไปหาพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง กล่าวคือ ส่วนประกอบอันเป็นเอกลักษณ์สำค ัญของสายประคำ อันได้แก่การสวดบทวันทามารีอาย้ำไปย้ำมานั้น กลายเป็นย้ำสรรเสริญพระคริสตเจ้า ผู้ซึ่งเทวดามาแจ้ง และแม่ของนักบูญยอห์น บัปติสต์ คำนับ กล่าวว่า “โอรสของท่านทรงบุญนักหนา” (ลก. 1:42)

          เราขอพูดมากกว่านี้อีกว่า การสวดย้ำบทวันทามารีอานั้น เป็นเครื่องติดต่อช่วยให้เราเพ่งพินิจรำพ ึงอัตถ์ลึกซึ้งต่างๆ บอกเราว่า เป็นบุตรพระเจ้า เป็นบุตรของพระนางมารีย์ เกิดในถ้ำตำบลเบธเลเฮม พระมารดานำไปถวายในพระวิหาร เป็นพระกุมารที่เต็มไปด้วยความห่วงใยต่อกิจธุระของพระบิดา เป็นพระผ ู้ไถ่ มนุษย์ที่ทรงเข้าตรีทูตในสวนมะกอกเทศ ถูกเฆี่ยน และสวมมงกุฎหนาม ต้องแบกกางเขน และสิ้นพระชนม์บนเนินกัลป์วารีโอ ทรงกลับคืนชีพและเสด็จกลับไปหาพระบิดาอย่างทรงเกียรติ เพื่อทรงใช้พระจิตมา

          เราทราบว่า เพื่อส่งเสริมการเพ่งพินิจรำพึง และเพื่อให้เจตนาตรงกับคำสวด  แต่ก่อนนี้คริสตชนมีธรรมเนียมให้บอกชื่ออัตถ์ลึกซ ึ้งหลังพระนามพระเยซูเจ้า ในบทวันทามารีอาทุกบท และธรรมเนียมนี้ก็ยังมีอยู่ในที่ต่างๆ

          

พระสมณสาสน์ เรื่องการสวดสายประคำ (2002)สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2

          
การสวดสายประคำเป็นการสรุปพระวรสาร

          18. ไม่มีผู้ใดเข้าไปเพ่งพินิจพระพักตร์พระคริสตเจ้าได้ หากไม่ได้ยินสุรเสียงเรียกของพระบิดาในพระจิตเจ้า เพราะ “ไม่มีใครรู้จักพระบุตรนอกจากพระบิดา” (มธ 11:27) เมื่อเปโตรแสดงความเชื่อในเขตเมืองซีซารียาแห่งฟีลิป พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นชัดว่าเขาได้รับควา มเข้าใจนี้ถึงพระองค์มาจากไหน “ไม่ใช่มนุษย์ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย” (มธ 16:17) เพราะ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่พระเจ้าจะต้องทรงเปิดเผยจากเบื้องบน แต่เพื่อจะรับการเปิดเผยเช่นนี้ได้ เราจำเป็นต้องตั้งใจฟังด้วย “ประสบการณ์ความเงียบและการภาวนาเท่านั้นเป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ความรู้แท้จริง ถูกต้องลักลมกลืน ถึงพระธรรมล้ำลึกนี้พัฒนาขึ้นได้” (Novo Millennio Ineunte, 279)

          การสวดสายประคำเป็นวิธีการหนึ่งจากธรรมประเพณีการภาวนาที่บรรดาคริสตชนใช้เพื่อเข้าถึงการเพ่ง พินิจพระพักตร์ของพระคริสตเจ้าได้ สมเด็จสันตะปาปาเปาโลที่ 6  ทรงกล่าวไว้ว่า “การสวดสายประคำใ นฐานะที่เป็นการภาวนาที่เริ่มจากพระวรสาร มีศูนย์กลางอยู่ที่พระธรรมล้ำลึกเรื่องการรับสภาพมนุษย์และการกอบกู้ จึงเป็นการภาวนาที่มีลักษณะเกี่ยวกับพระคริสตเจ้าโดยตรง ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของการสวดสา ยประคำ ได้แก่การสวดบท “วันทามารีอา” ตอบรับซ้ำๆกัน ต้องนับว่าเป็นการสรรเสริญพระคริสตเจ้าโดยไม่หยุดหย่อนด้วยเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งบุคคลที่ทูตสวรรค์และมารดาของยอห์นผู้ทำพิธีล้างกล่าวถึง “โอรส ของท่านทรงบุญนักหนา” (เทียบ ลก 1:42) ยิ่งกว่านั้น การสวดบท “วันทามารีอา” ซ้ำๆกันยังเป็นเสมือนด้ายเส้นตั้งในการทอผ้า และมีการเพ่งพินิจพระธรรมล้ำลึกเป็นเสมือนด้ายเส้นขวาง พระเยซูเจ้าที่บทวันทามาร ีอาแต่ละครั้งชวนให้คิดถึงก็คือพระเยซูเจ้าองค์เดียวกัน ที่เราเพ่งพินิจถึงพระธรรมล้ำลึกของพระองค์ตามลำดับ ในฐานะที่ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า และในฐานที่พระบุตรของพระนางพรหมจารี (Marialis Cultus, 46)

หนทางของพระแม่มารีย์:พระธรรมล้ำลึกหลายประการย่อเหลือประการเดียว

          24. หัวข้อการคิดคำนึงที่การสวดสายประคำเสนอนี้ หาได้ครอบคลุมพระธรรมล้ำลึกครบทุกประการไม่ แต่เชิญชวนให้เราคิดถึงพระธรรมล้ำลึกข้อที่เป็นหลักและจำเป็นปลุกจิตสำนึกของทุกคนให้อยากสัมผัสกับความรู้สึกนึกคิดของพระคริสตเจ้าและได้รับชีวิตจากบ่อเกิด บริสุทธิ์ของข่าวดี   เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ในพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าที่ผู้นิพนธ์พระวรสารเล่าไว้ ล้วนเป็นพระธรรมล้ำลึกเกินที่ จะหยั่งรู้ได้ (เทียบ อฟ 3:19) คือพระธรรมล้ำลึกของพระวจนาตถ์ที่ทรงรับสภาพมนุษย์ “ที่พระเทวภาพบริบูรณ์สถิตอยู่ด้วย” (คส 2:9) เพราะเหตุนี้ หนังสือ “คำสอนของพระศาสนขักรคาทอลิก” จึงให้ความสำคัญแก่พระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าอย่างมากเมื่อกล่าวว่า “ทุกสิ่งในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าเป็นเครื่องหมายแสดงธรรมล้ำลึกของพระองค์” คติพจน์ของพ ระศาสนจักรในสหัสวรรษที่สามนี้ว่า “จงออกไปในที่ลึก” จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความสา มารถของคริสตชนเพื่อจะเข้าถึง “ความรู้ความเข้าอย่างซาบซึ้งในพระธรรมล้ำลึกของพระเจ้าเรื่องพระคริสตเจ้า ในองค์พระคริสตเจ้า มีพระปรีชาญาณและความรอบรู้ซ่อนอยู่เป็นขุมทรัพย์ล้ำค่า” (คส 2:2-3) จดหมายถึงชาวเอเฟซัสจึงมีคำภาวนานี้สำหรับผู้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนว่า “ขอให้พระคริสตเจ้าทรงพำนักในจิตใจของท่าน อาศัยความเชื่อ เมื่อท่านหยั่งรากและตั้งมั่นอยู่บนความ รักแล้ว ท่าน...จะได้หยั่งรู้ซึ้งถึงความรักซึ่งเกินกว่าจะหยั่งรู้ได้ของพระคริสตเจ้า เพื่อท่านจะได้รับความไพบูลย์ทั้งปวงของพระเจ้าอย่าเต็มเปี่ยม” (อฟ 3:17-19)

          การสวดสายประคำช่วยให้อุดมการณ์นี้เป็นจริง โดยมอบ “เคล็ดลับ” ให้เราเปิดตัวรับความร ู้จักพระคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้งถ่องแท้นี้ เราอาจเรียกเคล็ดลับนี้ได้ว่าเป็น “หนทางของพระแม่มารีย์” เป็นหนทางที่พระนางพรหมจารีแห่งนาซาเร็ททรงดำเนินมาแล้ว ในฐานะสตรีที่มีความเชื่อ ไม่พูดมาก และรู้จักฟัง การสดสายประคำยังเป็นวิธีการแสดงความศรัทธาต่อพร ะแม่มารีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความรู้ถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของพระคริสตเจ้ากับพระมารดา  จึงกล่าวได้ว่า  พระธรรมล้ำลึกของ พระคริสตเจ้าเป็นพระธรรมล้ำลึกของพระมารดาด้วย แม้พระธรรมล้ำลึกบางประการมิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระนางเลยก็ตาม เพราะพระอ งค์ทรงเป็นเหตุผลให้พระนางเจริญชีวิตอยู่  และดำเนินชีวิตเพื่อพระองค์ เมื่อเราทำให้คำพูดของทูตสวรรค์และของนางเอลีซาเบ็ธในบท “วันทามารีอา” มาเป็นของเราด้วยนั้น เราก็มีความรู้สึกว่าถูกดึงดูดให้แสวงหา “โอรสของพระนาง” (เทียบ ลก 1:42) อีกครั้งหนึ่งในอ้อมกอดและดวงหทัยของพระแม่มารีย์ด้วย

          ข้อคิดเกี่ยวกับแม่พระและสายประคำนี้  ได้มาจากคำเตือนใจของสมเด็จพระสันตะปาปา และการไตร่ตรองประสบการณ์ของผู้เขีย น
ในการส่งเสริมการสวดสายประคำในแง่ของการภาวนาตามพระวรสาร

          สิ่งแรกคือ   การเปรียบเทียบการสวดสายประคำซ้ำๆ  กับการร้องเพลง  จะช่วยให้เราเข้าใจมากข ึ้น บทเพลงประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน จังหวะและทำนอง ทั้งสองส่วนนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นกันการภานาสายประคำ การสวดบทวันทามารีย์ซ้ำๆ นั้นเป็นจังหวะ และทำนองคือข้อรำพึงรหัสธรรม ดังนั้ น การสวดบทวันทามารีย์ซ้ำๆนั้น ยังไม่ใช่เป็นการสวดสายประคำ การรำพึงรหัสธรรม เป็นส่วนที่สำคัญขาดไม่ได้ พร้อมกับพระแม่มารีย์ เราใคร่ครวญรหัสธรรมชีวิตของพระเยซูเจ้า

          ข้อพิจารณาประการที่สอง สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์นปอลที่ สอง กล่าวว่า “ การรำพึงข้อลึกลั บของสายประคำ เป็นเรื่องที่ละเอียดถี่ถ้วน” ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่พระองค์ทรงเพิ่ม รหัสธรรมแห่งความสว่างเข้าในการรำพึงสายประคำทั้งครบ ภาคชื่นชมยินดี ภาคโศกเศร้า และภาคสิริรุ่งโรจน์ พระองค์ยังตร ัสอีกว่า “ทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซูเจ้า ที่บรรยายโดยผู้เขียนพระวรสาร นั้นสุกใสสว่างด้วยรหัสธรรมที่เกินกว่าความเข้าใจใดๆทั้งสิ้น นั้นก็คือ ถึงแม้ว่าเราจะเพิ่มรหัสธรรมแห่งความสว่างเข้ าไป การใคร่ครวญรหัสธรรมทั้ง สิ่ภาคนี้ ก็ไม่สามารถครอบคลุม รหัสธรรมชีวิตของพระคริสต์ที่เราปรารถนาจะรำพึงพร้อมกับพระแม่มารีย์ได้ทั้งหมด เราสามารถกล่าวได้ว่า ทุกเหตุการณ์ ทุกพระวาจาของพระเย ซูเจ้าที่บันทึกไว้ในพระวรสาร เป็นข้อลึกลับที่เราควรจะรำพึงไปพร้อมกับพระแม่มารีย์

          ดังนั้นพระเยซูเจ้าที่บทวันทามารีย์เรียกขานในทุกบทนั้นเป็นพระเยซูเจ้าที่เรารำพึงไตร่ตรองต่อเนื่องถึงข้อลึกลับที่เรายังมองไม่เ ห็น

หน้าหลัก