เรื่องของไม้กางเขน สามารถพบได้ทั้งในวัฒนธรรมคริสต์และไม่ใช่วัฒนธรรมคริสต์ ซึ่งให้ความหมายเชิงจักรวาลหรือเชิงธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ เส้นตรง 2 เส้นที่ยาวเท่ากัน ตัดกัน เป็นรูปกางเขน หมายถึง 4 มิติของจักรวาลและกางเขนสวัสดิกะของพรรคนาซีเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ที่หม
ุนเป็นจักรเพลิง และหมายถึงแหล่งกำเนิดของแสงสว่างและอำนาจของธาตุต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจของสายฟ้าฟาด หรือในบางวัฒนธรรม หมายถึงอำนาจของการให้กำเนิด ความหมายเชิงธรรมชาติเหล่านี้ของไม้กางเขน มิได้ถูกลบล้างไปเมื่อนำไปใช้ในทางศาสนา แต่ได้รับการทำให้ความหมายด
ังกล่าวลึกซึ้งยิ่งขึ้น และได้รับการชำระให้บริสุทธิ์มากขึ้นโดยอาศัยการพัฒนาสัญลักษณ์นิยมของคริสตศาสนา แต่ว่าในวัฒนธรรมที่มิใช่คริสตศาสนา สัญลักษณ์แห่งไม้กางเขนได้กลายเป็นวิธีการที่ใช้ลงโทษ
คริสตชนในยุคแรกๆ โดยปรกติแล้ว มักจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอพระวรกายของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขน ซึ่งมีพยานหลักฐานให้เห็นในศตวรรษท
ี่ ๕ และอันที่จริงตั้งแต่แรกจนถึงศตวรรษที่ ๔ แม้กระทั่งรูปไม้กางเขนธรรมดา ก็แทบจะไม่สู้ได้ปรากฎออกมาสู่สายตาของสาธารณชนด้วยซ้ำไป ซึ่ง
ก็มีเหตุผลต่างๆ ดังนี้
ทั้งคนต่างศาสนาและชนชาวยิว ต่างก็มองเห็นว่าเป็นอะไรที่ขัดแย้งกันอย่างที่สุดที่บรรดาคริสตชนเชื่อว่า ชายคนหนึ่งที่ถูกตรึงกางเขนเป็นพร
ะเจ้า แม้กระทั่งในหมู่พวกคริสตชนเองก็ยังถือว่าการถูกตรึงกางเขนเป็นสิ่งที่น่าอับอาย และหลายๆคนก็ยังมีความลังเลที่จะยอมรับความเป็นจริงที่ว่าพระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์จริงๆ สภาพระสังคายนาแห่งเมืองเอเฟซัส(๔๓๑) และสภาพระสังคายนาแห่งเมืองคัลเซดอน(๔๕๑) เ
ป็นช่วงเวลาที่ตรึึงเครียดที่สุด สำหรับการถกเถียงกันในเรื่องของพระคริสตเจ้า(Christology) เพราะมีคริสตชนบางกลุ่มที่แลเ
ห็นการถูกตรึงกางเขน เป็นการตรึงกางเขนพระเจ้า พวกเขารับไม่ได้ที่จะเห็นพระวรกายของพระผู้ถูกตรึงกางเขน และดังนี้พวกเขาจึงอยากนำเสนอไม้กางเขนที่ว่างเปล่ามากกว่า
ยิ่งกว่านั้นในยุคสมัยที่มีการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ เพราะกลัวผู้มีอำนาจของบ้านเมืองจะรู้ว่าพวกที่นับถือไม้ก
างเขนเป็นคริสตชน และอีกประการหนึ่งเพราะกลัวคนต่างศาสนาจะเอาไม้กางเขนไปทำทุรจาร
นอกจากนั้น ยังมีพยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าคริสตชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากพิศเพ่งดูความ
น่าอับอายบนกางเขนของพระเจ้าของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาพลักษณ์ที่เปลือยเปล่า พวกเขาชอบมากกว่าที่จะเห็นไม้กางเขนว่าเป็นสัญล
ักษณ์แห่งชัยชนะ ของพระองค์เป็นท่อธารแห่งชีวิต ทั้งอยากให้ไม้กางเขนเป็นวิธีการที่พระองค์ผ่านไปสู่พระเกียรติมงคลของพระเจ้าอันเป็นของพระองค์มาก่อน
ใน ๓ ศตวรรษแรก บรรดาคริสตชนได้ใช้ไม้กางเขนเป็นความศรัทธาภักดีส่วนตัว อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ ๔ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา คือเ
ป็นช่วงระยะเวลาที่เกิดสันติภาพในพระศาสนจักร จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องปิดบังซ่อนเร้นไม้กางเขนอีกต่อไป จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ทรงประกาศว่าพระองค์ได้แลเห็นไม้กางเขนบนท้องฟ้า และพระองค์ได้ทรงสั่งให้สลักรูปไม้กางเขนนี้บนโล่ห์ของทหารของพระองค์ทุกคน แล้วพระอง
ค์ได้ทรงยกเลิกการถูกตรึงกางเขนว่าเป็นโทษประหารชีวิต และต่อมาไม้กางเขนก็ได้ปรากฎขึ้นทุกหนทุกแห่งตามที่ต่างๆในอาณาจักรของพระองค์
แต่ว่าเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งมากที่สุด ก็คือ การค้นพบไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซูเจ้าที่กรุงเยรูซาแลม เมื่อปี ๓๒๖ และได้รับกา
รเคารพสักการะอย่างพระธาตุที่มีคุณค่ามากที่สุด ที่ยังคงหลงเหลือมาจากชีวิตบนแผ่นดินนี้ของพระองค์ ไม้กางเขนนี้ได้ถูก แบ่งออกมาเป็นหลายๆ ส่ว
นด้วยกัน แต่ว่าชิ้นใหญ่ๆ ของไม้กางเขนที่ถูกแบ่งออกมานี้ได้ถูกนำไปยังกรุงโรมก่อน และต่อไปยังกรุงคอนสแตนติน โนเปิล ในเวลาต่อมา ไม้กางเขนนี้ก็ได้ถูกซอยออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกมากมายและถูกแจกจ่ายไปตามที่ต่างๆ
ศตวรรษที่ ๕ และ ๖ เป็นช่วงเวลาที่มีความหมายที่ไม้กางเขนได้รับเกียรติสูงสุด คือได้ทำด้วยทองคำและได้รับการประดับด้วยเพชรนิล จินดาเ
ม็ดโตๆ ซึ่งก็คงไม่มีจุดประสงค์อื่นใด นอกจากเป็นนำเสนอให้เห็นถึงพระเกียรติมงคลแห่งไม้กางเขนนั่นเอง
นอกจากแนวความคิดแห่งเกียรติมงคลของไม้กางเขนแล้ว ยังมีการผนวกชัยชนะและชีวิตเข้าไปในเนื้อหาของไม้กางเขนอีกด้วย ซึ่งเรา สามาร
ถแลเห็นได้จากรูปภาพของลูกแกะของพระเจ้าที่แบกไม้กางเขนอันเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพระคริสตเจ้า และรูปภาพของต้นไม้แห่งชีวิตซึ่งต้องกา
รให้เห็นถึงความตรงข้ามกับต้นไม้แห่งความตาย หรือระหว่างต้นไม้แห่งความดีและต้นไม้แห่งความชั่วในสวนสวรรค์
ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดาชาวคริสต์ใช้กันมากที่สุด ได้มีการวางไม้กางเขนไว้บนพระแท่นบูชาระหว่างพิธีมิสซาบูช
าขอบพระคุณตั้งแต่ศตวรรษที่ ๕ ในประเทศซีเรีย แต่สำหรับภาคพื้นตะวันตก ธรรมเนียมนี้ได้มีขึ้นภายหลังนั้นมาก คือประมาณศตวรรษที่ ๑๓ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๓ ส่วนการใช้ไม้)การเขนในพิธีแห่ ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ ๖ เมื่อ Venantius Fortunatus ได้แต่งเพลง Vexilla Regis Prodeunt และในปี ๘๐๐ จักรพรรดิชาร์ลเลอมาญได้มอบไม้กางเขนสำหรับใช้แห่แด่พระสันตะปาปา เพื่อใช้ในพิธีแห่ที่กรุงโรม คื่อเมื่อขบวนแห่
มาถึงที่วัดเพื่อเริ่มพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ก็ปักไม้กางเขนไว้ที่ข้างๆพระแท่นบูชา
ในระหว่างสมัยกลางจนถึงศตวรรษที่ ๑๖ ได้มีการแบ่งส่วนของพระแท่นบูชากับส่วนที่เป็นที่นั่งของสัตบุรุษ โดยใช้โต๊ะศักดิ์สิทธิ์ที่สัตบุรุ
ษเดินเข้ามาคุกเข่ารับศีล และบางทีก็ใช้แขวนไม้กางเขนขนาดใหญ่ตรงที่แบ่งส่วนทั้งสอง เพื่อมิให้ปะปนกับไม้กางเขนบนพระแท่นบูชา
ในสมัยกลาง ได้มีการแขวนไม้กางเขนบนกำแพงของอาคารใหญ่ๆ นอกเหนือไปจากที่วัดแล้ว ต่อมาก็ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ได้มีการตั้งไ
ม้กางเขนในสุสานด้วย รวมทั้งมีการปักรูปไม้กางเขนบนผ้าประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนผ้าศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
|