ผู้เขียนพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
มิได้เอ่ยถึงว่าอะไรได้เกิดขึ้นกับไม้กางเขนที่ได้ตรึงพระเยซูเจ้า หรือไม้กางเขนที่ได้ตรึงโจรทั้งสองคนพร้อมกับพระองค์ ได้ถูกกลบซ่อนไว้ที่ไหน นักบุญจัสติน มรณสักขี และโอรีเจน ซึ่งทั้งสองท่านได้เคยอยู่ที่ประเทศปาเล
สไตน์ ก่อนปี ๓๕๐ ได้พูดถึงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้เอ่ยถึงอะไรเกี่ยวกับไม้กางเขนเลย
จักรพรรดิ์คอนสแตนตินที่ ๑ ในจดหมายที่ทรงแสดงความยินดีกับพระสังฆราชมาคารีอุสแห่งกรุงเย
รูซาเลม ได้ทรงเสนอให้กับพระสังฆราชว่าจะสร้างวัดที่สง่างามบนที่ฝังพระศพของพระเยซูเจ้าให้ แต่ก็มิได้ทรงกล่าวถึงเรื่องไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าแต่อย่างใด การจาริกแสวงบุญของบอร์โดส์ซึ่งได้ไปเยี่
ยมเนินโกลโกธาในปี ๓๓๓ ได้บรรยายเรื่องวัดของจักรพรรดิคอนสแตนติน แต่กินิ่งเงียบในเรื่องของไม้กางเขนเช่นกัน
ยูเซบีอุส แห่งซีซาริยา นักประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรในยุคเดียวกัน ไ ด้ชมเชยการประดับ
ประดาอย่างอลังการของจักรพรรดิ บนสถานที่ที่ฝังพระศพของพระเยซูเจ้า แต่ก็ยังสงบนิ่งเช่นเคยเกี่ยวกั
บเรื่องของไม้กางเขนในบทความเรื่อง ชีวิตของจักรพรรดิคอนสแตนติน และ การจาริกแสวงบุญของนักบุญเฮเลนายังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ของท่าน
นักบุญซีริล แห่งกรุงเยรูซาเลม ในการบรรยายเรื่องคำสอนในเทศกาลมหาพรต ท่านได้ยืนยันกับบรรดาผู้ที่ สม
ัครเรียนคำสอนเพื่อรับศีลล้างบาป (คริสตังค์สำรอง) ว่าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า ได้อยู่ในความครอบครองของพระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเลมชั่วระยะเวลาหนึ่ง และไม้กางเขนที่ได้ถูกแยกชื้นส่วนออกมา เพราะความเชื่อ ศรัทธา
ของบรรดาคริสตชนนั้น ก็ได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆทั่วประเทศปาเลสไตน์ ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านนักบุญได้เขียนถึงจักรพรรดิคอนสแตนซีอุสที่ ๒ ได้รายงานถึงการประจักษ์มาของไม้กางเขนที่ส่องแสงสุกใสในท้องฟ้าเหน
ือกรุงเยรูซาเลมเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๓๕๑ นักบุญซีริล ยังได้เอ่ยถึงไม้ที่สามารถบันดาลการช่วยให้ รอดพ้นของไ
ม้กางเขน ที่ถูกค้นพบในเมืองหลวงระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ความเชื่อมั่นว่าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าได้ถูกค้นพบแล้วนั้น ได้แผ่ขยายออกไปอย่ างกว้างขวางในโลกข
องคริสตศาสนาในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๔ และได้มีการยืนยันว่าได้มีชิ้นส่วนของไม้กางเขนจริงของพระเยซูเจ้าในแคว้นคัปปาโดเขียในสมัยของนักบุญมาครีนาซึ่งเป็นน้องสาวของนัก บุญบาซิล องค์ใหญ่ และน
ักบุญเกรกอรี่ แห่งนิสสา ในปี ๓๗๐ และที่เมืองอันทิโอค ในปี ๓๘๖-๗ และในประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ในปี ๔๐๓ ในเวลาต่อมา มีการบันทึกไว้ว่า ณ พิธีกราบไหว้ไม้กางเขนในวั นศุกร์ศํกดิ์สิทธิ์ ต้องมีสังฆานุ
กร ๒ ท่าน คอยคุกเข่าอยู่ข้างๆ เพื่อมิให้คริสตชนที่มาร่วมพิธี เข้าไปจูบไม้กางเขน อาจจะกัดเอาชิ้นส่วนของไม้กางเขนหลุดออกมากับปาก เพื่อเอาไปเป็นพระธาตุ นอกนั้นก็ยั งได้มีกล่าวถึงการแห่เทิดทูนไม้กา
งเขนเป็นประจำทุกๆปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการค้นพบไม้กางเขน ดังนั้นจึงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าการค้นพบไม้กางเขนนั้น น่าจะเกิดขึ้นในวันที่ ๑๓ กันยายน ระหว่างปี ๓๒๕-๓๓๔ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ยูเซบีอุส แห่งซีซาริยา มิได้ให้การสนับสนุนในทางบวกเกี่ยวกับวันเดือนปีของการค้นพบไม้กางเขนนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในศตวรร ษที่ ๗ ในบัทึ
ก Chronicon Paschale ได้ให้วันเดือนปีที่แน่นอนของการค้นพบไม้กางเขน คือวันที่ ๑๔ กันยายน ๓๒๐
ได้มีคำบอกเล่าในลักษณะของนิยาย เกี่ยวกับการค้นพบไม้กางเขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับนักบุญ
เฮเลนา มารดาของจักรพรรดิคอนสแตนติน ที่ได้ออกคำสั่งให้ขุดค้นหาไม้กางเขนของพระเยซูเจ้า ไม่ว่าแรงจูงใจนี้จะเกิดขึ้นจากความประสงค์ของพระนางเอง หรือเพราะได้รับการดลใจ หรือเพราะการขอร้องจ
ากจักรพรรดิบุตร ชาย ก็ได้พบไม้กางเขน ๓ อัน เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าอันไหนเป็นไม้กางเขนจริงของพระเยซูเจ้า จึงได้ให้นำคนตา ยคนหนึ่งมาให้กางเขนทั้ง ๓ อันสัมผัส ไม้กางเขนอันที่สาม
ารถบันดาลให้คนตายนั้นกลับมีชีวิตขึ้นใหม่นั่นแหละ จะเป็นกางเขนจริงที่ได้ตรึงพระเยซูเจ้า
นักบุญยอห์น คริสซอสโตม ไม่อยากจะเชื่อเรื่องที่บอกเล่านี้เลย โดยได้กล่าวว่าพระ ผ
ู้ไถ่มิได้ทิ้งไม้กางเขนของพระองค์ไว้บนโลกนี้เลย แต่พระองค์ได้ทรงนำไม้กางเขนนี้ติดตัวพระองค์ไปสวรรค์ด้วย เนื่องจากว่าพระองค์จะต้องปรากฎองค์พร้อมกับไม้กางเขนของพระองค์ ในการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระอง
ค์ และยังมีความคิดเห็นที่ปรากฎออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ว่าบางส่วนของไม้กางเขนที่ได้สัมผัสพระวรกายของพระคริสตเจ้า และได้เประเปื้อนด้วยพระโลหิตของพระองค์ ได้ถูกยกขึ้นสู่สวรรค์ และจะปรากฎให้เห็นอีกครั้งหนึ่งในการพิพากษาสุดท้าย
|