คำว่า นักปราชญ์ หรือ Doctor ในภาษาอังกฤษ หรือภาษาลาติน ที่ใช้กันในแวดวงของพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นต้น คงจะไม่หมายถึง คุณหมอ เป็นแน่ เพราะคำว่า Doctor ในภาษาลาตินนั้น มาจากคำว่า docere ซึ่งแปลว่า
สอน ในแวดวงด้านวิชาการ เราหมายถึงอาจารย์หรือครูผู้ได้สำเร็จการศึกษาในชั้นสูงสุดในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ส่วนคำว่า doctorate หมายถึงการสำเร็จการศึกษาดังกล่าว
ในพระศาสนจักรคาทอลิก การให้ตำแหน่ง
นักปราชญ์ของพระศาสนจักร แก่นักบุญบุรุษหรือสตรี ซึ่งมีจำนวนน้อยมากๆ คือมีเพียง ๓๓ ท่านเท่านั้น อันหมายถึงว่าท่านเหล่านี้เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเลิศเลอผนวกด้วยความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งยวดในการพัฒนาคำสอน
(doctrine) หรือชีวิตจิต (spirituality) ของพระศาสนจักร ท่านเหล่านี้ได้มีส่วนสำคัญในการทำให้ความเชื่อคาทอลิกได้เป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น ทั้งได้เป็นที่ยอมรับในคุณงามความดีของพวกท่าน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้หมายถึงว่าผลงานของท่านจะไม่มีความผิดหลง
พระศาสนจักรรับรู้นักเขียนคริสตชนที่มีความสามารถดีเด่นใน ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
๑.ปิตาจารย์ยุคอัครสาวก (Apostolic Fathers) คือ เป็นนักเขียนคริสตชนในศตวรรษที่ ๑ และผลงานเขียนของท่านก็สะท้อนแนวคิดหรืออิทธิพลของบรรดาอัครสาวก เช่น นักบุญเคลเมนต์ (ศตวรรษที่ ๑/ ๒๓ พฤศจิกายน)
ซึ่งเป็นพระสันตะปาปา หรือพระสังฆราช องค์ที่ ๓ ต่อจากนักบุญเปโตร นักบุญอิกญาซีโอ แห่งอันทิโอค(+๑๐๗/๑๗ ตุลาคม) ซึ่งเป็นพระสังฆราช องค์ที่ ๒ ของนครแห่งนี้ต่อจากนักบุญเปโตร และเป็นศิษย์คนหนึ่งของน
ักบุญยอห์น อัครสาวก นักบุญโปลีคาร์ป(๗๐-๑๕๕/๒๓ กุมภาพันธ์) พระสังฆราชาแห่งสมีรนา ซึ่งเป็นศิษย์อีกคนหนึ่งของนักบุญยอห์น อัครสาวก นักบุญอีเรเนอุส(๑๓๐-๒๐๒/๒๘ มิถุนายน) พระสังฆราชแห่งเมืองลีอองส์ ซึ่งได้รั
บการศึกษาอบรมจากนักบุญโปลีคาร์ป และผู้แต่งหนังสือ Didache ซึ่งอาจจะมีหลายท่านด้วยกัน แต่ก็อยู่ในแวดวงของพวกอัครสาวก หนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติ และการปกครองของพระศาสนจักรในศตวรรษที่ ๒
๒.ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร (Fathers of the Church) เป็นนักเทววิทยาและนักเขียนของ ๘ ศตวรรษแรกของพระศาสนจักร เป็นที่รู้จักกันในเรื่องของความรอบรู้และความศักดิ์สิทธิ์ของพวกท่าน บางท่านเป็นพระสัน
ตะปาปา บางท่านเป็นนักกฎหมาย นักเทววิทยา ฤๅษี หรือว่านักบวช ปิตาจารย์ของพระศาสนจักรมีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ท่านด้วยกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะแบ่งออกเป็น ๒ พวกด้วยกัน คือ ปิตาจารย์กรีก และปิตาจารย์ลาติน การแบ่
งเช่นนี้ มิใช่เพราะภาษาพูด-เขียนที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่เป็นเพราะทางด้านภูมิศาสตร์ด้วย คือตะวันออกหรือตะวันตก แต่ว่าบางครั้ง ก็แบ่งออกเป็นปิตาจารย์ก่อนสภาสังคายนานีเชอา (Nicaea/325) และปิตาจารย์หลังสภาสังคา
ยนานีเชอาซึ่งมีชีวิตอยู่หลังศตวรรษที่ ๔
๓.นักปราชญ์ของพระศาสนจักร (Doctors of the Church) แน่นอน มิใช่ปิตาจารย์ทั้ง ๑๐๐ คนเหล่านี้ จะเท่าเสมอกันในเรื่องข
องความรู้ หรือความมีอิทธิพลต่อพระศาสนจักร ดังนั้น พวกปิตาจารย์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆจึงได้รับการถือว่าเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร แรกเร
ิ่มเดิมที นักปราชญ์ของพระศาสนจักรมีเพียง ๔ ท่านเท่านั้น คือ นักบุญออกัสติน (๓๕๔-๔๓๐/๒๘ สิงหาคม) นักบุญอัมโบรส(๓๓๙-๓๙๗/๘ ธันวาคม) นักบุญเยโรม(๓๔๐-๔๒๐/๓๐ กันยายน) และพระสันตะปาปานักบุญเกรกอรี่ องค์ใหญ่(๕๔๐-๖๐๔/๓ กันยายน) นัก
ปราชญ์ของพระศาสนจักรทั้ง ๔ ท่านนี้เป็นของพระศาสนจักรตะวันตก ต่อมาจึงได้มีการผนวกนักปราชญ์ของพระศาสนจักรตะวันออกเข้าไปอีก
๔ ท่าน คือ นักบุญอาธานาส(๒๙๕-๓๗๓/๒ พฤษภาคม) นักบุญบาซิล องค์ใหญ่(๓๓๐-๓๗๙/๒ มกราคม) นักบุญเกรกอรี่ นาซีอันเซิ่น(๓๒๙-๓๘๙/๒ มกราคม) และนักบุญยอห์น คริสซอสโตม(๓๕๐-๔๐๗/๑๓ กันยายน) นักปราชญ์ของพระศาสนจักรทั้ง ๘ ท่านนี้ มีชีวิตอยู่ใน
ช่วงปี ๒๙๗ (ปีที่นักบุญอาธานาสเกิด) ถึงปี ๖๐๔ (ปีที่นักบุญเกรกอรี่ องค์ใหญ่ ตาย)
นักปราชญ์ของพระศาสนจักรทั้ง ๘ ท่านนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันจากศตวรรษที่ ๘ จนถึงศตวรรษที่ ๑๖ แต่ว่าในปี ๑๕๖๗ พระสันตะปาปา
นักบุญปีโอ ที่ ๕ ต้องการถวายเกียรติแด่นักบุญโทมัส อะไควนัส(๑๒๒๕-๑๒๗๔/๒๘ มกราคม) เป็นกรณีพิเศษ จึงได้ผนวกท่านให้เข้าไปอย
ู่ในพวกนักปราชญ์ของพระศาสนจักรด้วย ต่อมาในปี ๑๕๘๘ ได้ผนวกนักบุญบอนาแวนตูรา(๑๒๒๑-๑๒๗๔/๑๕ กรกฎาคม) ปี๑๗๒๐ นักบุญอังแซล์ม๑๐๓๓-๑๑๐๙/๒๑ เมษายน) ปี ๑๗๒๒ นักบุญอิสิดอร์ แห่งเซวิลล์(๕๖๐-๖๓๖/๔ เมษายน) ปี ๑๗๒๙ นักบุญปีเตอร์ คริสโซโสกุ
ส(๓๘๐-๔๕๐/๓๐ กรกฎาคม) และปี ๑๗๕๔ นักบุญเลโอ องค์ใหญ่(๔๐๐-๔๖๑/๑๐ พฤศจิกายน)
มากกว่ากึ่งหนึ่งของพวกนักปราชญ์ของพระศาสนจักร ได้รับการแต่งตั้งในช่วงเวลาของศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐๙ ท่านในศตวรรษที่
๑๙ และ๑๐ ท่านในศตวรรษที่ ๒๐ นักปราชญ์ของพระศาสนจักรซึ่งได้รับการแต่งตั้งในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ มี นักบุญปีเตอร์ เดเมียน
(๑๐๐๗-๑๐๗๒/๒๑ กุมภาพันธ์) ปี ๑๘๒๘ นักบุญเบอร์นาร์ด แห่งแคลร์โวส์ (๑๕๘๑-๑๖๕๔/๙ กันยายน) ปี ๑๘๓๐ นักบุญฟรังซิส เดอซาลส์(๑๕๖๗-๑๖๒๒/๒๔ มกราคม) ปี ๑๘๗๗ นักบุญซีริล แห่งอะเล็กซานเดรีย (๓๗๐-๔๔๔/๒๗ มิถุนายน) และนักบุญซีริส แห่งเยรูซาเล็ม (๓๑๕-๓๘๖/๑๘ มีนาคม) ปี ๑๘๘๒ นักบุญยอห์น ดามัสเชน (๖๗๖-๗๔๙/๔ ธันวาคม) ปี ๑๘๙๐ และ
นักบุญเบดา ผู้น่าเคารพ(๖๗๓-๗๓๕/๒๕ พฤษภาคม) ปี ๑๘๙๙ ส่วนที่ได้รับการแต่งตั้งในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ ก็มี นักบุญเอเฟรม แห่งซีเรีย (๓๐๖-๓๗๓/๙ มิถุนายน) ปี ๑๙๒๐ นักบุญปีเตอร์ คานีซีอุ
ส(๑๕๒๑-๑๕๙๗/๒๑ ธันวาคม) ปี ๑๙๒๕ นักบุญยอห์น แห่งไม้กางเขน(๑๕๔๒-๑๕๙๑/๑๔ ธันวาคม) ปี ๑๙๒๖ นักบุญโรเบิร์ต แบลลาร์มีน (๑๕๔๒-๑๖๒๑/๑๗ กันยายน) และนักบุญอัลเบิร์ต องค์ให
ญ่ (๑๒๐๐-๑๒๘๐/๑๕ พฤศจิกายน) ปี ๑๙๓๑ นักบุญแอนโธนี่ แห่งปาดัว (๑๑๙๕-๑๒๓๑/๑๓ มิถุนายน) ปี ๑๙๔๖ นักบุญลอเรนซ์ แห่งบรินดีสี (๑๕๕๙-๑๖๑๙/๒๑ กรกฎาคม) ปี ๑๙๕๙ นักบุญเทเรซา แ
ห่งอาวีลา (๑๕๑๕-๑๕๘๒/๑๕ ตุลาคม) และนักบุญกาเธรีนา แห่งเซียนา (๑๓๔๗-๑๓๘๐/๒๙ เมษายน) ปี ๑๙๗๐ และนักบุญเทเรซา แห่งลีซีเออส ์(๑๘๗๓-๑๘๙๗/๑ ตุลาคม) ปี ๑๙๙๗
ดังนั้นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรจึงมีทั้งสิ้น ๓๓ ท่านด้วยกัน เป็นบุรุษ ๓๐ ท่านและสตรีอ
ีก ๓ ท่าน
มีนักปราชญ์ของพระศาสนจักรบางท่านได้รับการให้เกียรติด้วย title พิเศษ เช่น นักบุญออกัส
ติน = Doctor Gratiae นักบุญโทมัส อะไควนัส = Doctor Angelicus และ Doctor Communis นักบุญอังแซล์ม = Doctor Marianus นักบุญเบอร์นาร์ด แห่งแคลร์โวส์ = Doctor Mellifluus นักบุญบอ
นาแวนตูรา = Doctor Seraphicus นักบุญอัลเบิร์ต องค์ใหญ่ = Doctor Universalis
นักปราชญ์ของพระศาสนจักรจำนวน ๑๗ ท่าน มีชีวิตอยู่ใน สหัสวรรษแรก(ค.ศ. ๑-๑๐๐๐) ๑๓ ท่านในจำนวน ๑๗ ท่านนี้ มีชีวิตอยู่แ
ละเทศน์สอนในศตวรรษที่ ๔/๕ ส่วนอีก ๔ ท่านนั้น มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ ๗ และ ๘ ศตวรรษที่ ๙ และ ๑๐ ไม่มีนักบุญท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักร
นักปราชญ์ของพระศาสนจักร ๑๗ ท่านในสหัสวรรษแรกนั้น ๘ ท่านมาจากพระศาสนจักรตะวันออก ส่วนอีก ๙ ท่านมาจากพระศาสนจักร
ตะวันตก อีก ๑๖ ท่านในสหัสวรรษที่ ๒ มาจากพระศาสนจักรตะวันตกทั้งหมด
เป็นที่น่าสังเกตว่า นักปราชญ์ของพระศาสนจักร ท่านแรกและท่านสุดท้ายของสหัสวรรษที่ ๑ มาจากพระศาสนจักรตะวันออก ที่ซึ่งคริส
ต์ศาสนาได้เริ่มวางรากฐาน
|