หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

          เมื่อประมาณ  50  ปีที่แล้วหรือกว่านั้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติ  ทุกบ่ายวันอาทิตย์ตามวัดต่างๆ  จะมีการสวดสายประคำและต่อด้วยพิธีอวยพรศีลมหาสนิท แต่ว่าในเวลาต่อมา จำไม่ได้ว่าเมื่อใดแน่ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ก็ได้หายไป และก็คงจะเหมือนๆกันในทุกๆ วัด  คิดแล้วก็อด สียดายไม่ได้  เพราะเป็นความศรัทธาที่เสริมสร้างความเชื่อให้กับชีวิตคริสตชน แต่ก่อนเราคริสตชนคาทอลิกมีมิสซาเฉพาะเวลาเ ช้า  มิสซาเวลาเย็นไม่ค่อยเคยได้เห็น  พวกเราคริสตชนจึงสามารถ      มีกิจศรัทธาอย่างอื่นๆ ได้ พอเรามีมิสซาในเวลาเย็นกิจศรัทธาอย่างอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็ได้หายไปโดยอัตโนมัติ กิจศรัทธาอย่างหนึ่งที่ได้หายไปอย่าง น่าเสียดายตามที่ได้เกริ่นไว้แล้ว ก็คือ  พิธีอวยพรศีลมหาสนิทและการสวดสายประคำ พร้อมๆ กันที่วัด แต่จะขอพูดถึงเรื่องพิธีอวยพรศีลมหาสนิทเพื่อเป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ

          พิธีอวยพรศีลมหาสนิทเป็นกิจศรัทธาอย่างหนึ่ง โดยการอัญเชิญแผ่นศีลซึ่งโดยปกติแล้ว ก็จะบรรจุอยู่ใ นรัศมีมาตั้งแสดงไว้บนพระแท่นให้สัตบุรุษได้พิศเพ่งดูและกราบไหว้นมัสการ  และหลังจากที่ได้ขับร้องเพลงที่เหมาะสมแล้ว ผู้ที่เป็นประธานในพิธี ก็จะอวยพรสัตบุรุษด้วยรัศมีที่มี แผ่นศีลบรรจุอยู่

          เชื่อกันว่าพิธีอวยพรศีลมหาสนิทนี้  เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการพัฒนาเรื่องพิธีกรรมในศตวรรษที่  12 - 13 โดยเริ่มขึ้นจากการที่พร ะสงฆ์ยก แผ่นศีลชูขึ้น  เวลาประกอบพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ  เพื่อเป็นการยืนยันว่า เมื่อพระสงฆ์กล่าวคำอวยพร “นี่คือ กายของเรา” เหนือแผ่นปังแล้ว ทันที แผ่นปังนั้นก็ได้กลายเป็น “พระกายของพระเยซูคริสตเจ้า” ซึ่งต่อมาได้มีการพูดถึงว่า สั ตบุรุษที่ได้พิศเพ่งดูและกราบนมัสการ(แผ่น)ศีลมหาสนิทนี้ ก็จะได้รับพระคุณพิเศษต่างๆ เช่นจะได้รับการคุ้มครองมิให้ประสบความตายทันด่วนโดยมิได้เตรียมตัว  หรือได้รับความคุ้มครองมิให ้เสียสายตา (=ไม่ให้ตา  บอด) ฯลฯ

          นอกจากจะมีโอกาสพิศเพ่งดู (แผ่น) ศีลมหาสนิทหรือพระกายของพระคริสต์ในระหว่างพิธีมิสซาบูชาขอบ  พระคุณแล้ว ต่อมาก็ได้เกิด  รรมเนียมปฏิบัติที่ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งคือสามารถพิศเพ่งดูและกราบนมัสการพระกายของพระคริสต์นอกพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณได้อีกด้วย และในกรณีของสัตบุรุษที่ป่วย ไม่สามารถไปร่วมพิธีมิส ซาบูชาขอบพระคุณ  พระสงฆ์ก็ สามารถนำ(แผ่น)ศีลมหาสนิท มาให้พิศเพ่งดูและกราบนมัสการได้

          ในศตวรรษที่ 14 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมันนี ได้มีการตั้งศีลมหาสนิทในตู้ศีลที่เป็นกระจกใส เพื่อให้สัตบุรุษได้พิศเพ่งดูและกราบนมัสการได้ตลอดทั้งวันทั้งคืนตามที่ต้องการ แต่ต่อมาได้มีการจำกัดเวลาลง  เพื่อมิให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไปเพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่เหมาะสมและขาดความคารวะ

          ในศตวรรษที่ 15 ในประเทศเยอรมันนีและเนเธอร์แลนด์   ได้มีธรรมเนียมปฏิบัติอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น  คือได้มีการตั้งศีลมหาสนิทข ณะที่    กำลังประกอบพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ เพื่อให้ดูว่าพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณนั้น มีความสง่างามมากยิ่งขึ้น แต่ว่าใน    ไม่ช้า ก็มีคำสั่งให้เลิกธรรมเนียมปฏิบัตินั้น  หรือถ้าจะทำ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลกวดขันของพระสังฆราชผู้ปกครองท้องถ ิ่น และในสมัยของนักบุญฟิลิป เนรี และนักบุญ   ชาร์ลส์ บอร์โรเมโอ  ในศตวรรษที่ 15-16 ได้มีธรรมเนียมปฏิบัติ  ที่จะตั้งศีลมหาสนิทเป็นระยะเวลาสั้นบ้างยาวบ้างตามความเหมาะสม โดยทั่วๆไป พระศาสนจักรเคยมีการแยกแยะกา รตั้งศีลมหาสนิทหรืออวยพรศีลมหาสนิทออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ แบบส่วนตัวและแบบสาธารณะ

          การตั้งศีลมหาสนิทแบบส่วนตัว ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระสงฆ์เจ้าวัดที่จะให้มีขึ้นได้ ก็ด้วยเหตุผลเพื่อส่ งเสริมความศรัทธาภักดีของสัตบุรุษเป็นการส่วนตัว โดยการเปิดประตูตู้ศีลให้สัตบุรุษได้พิศเพ่งดูผอบศีล หรือ (แผ่น) ศีลมหาสนิทที่ตั้งไว้ในตู้ศีล

          ส่วนการตั้งศีลมหาสนิทหรืออวยพรศีลมหาสนิทแบบสาธารณะนั้น จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากพระสังฆราชผู้ ปกครองท้องถิ่นเป็นครั้งๆไป หรือครั้งเดียวสำหรับตลอดไป โดยปกติแล้ว  แผ่นศีลมหาสนิทจะต้องได้รับการบรรจุไว้ในรัศมี  และให้สามาร ถพิศเพ่งดู และกราบไหว้นมัสการได้ รวมทั้งจะต้องมีความสง่างามและเหมาะสมบนพระแท่นที่มีแสงเทียนแสงไฟ มีการถวายกำยาน  ขับร้ องเพลง และต้องมีสัตบุรุษจำนวนหนึ่งร่วมพิธีด้วย

          พิธีอวยพรศีลมหาสนิทเป็นภูมิปัญญาของการเสริมความเชื่อชีวิตคริสตังอย่างไรนั้น แน่นอนพระศาสนจักรคาทอล ิก ได้เคยยึดถือเสมอมาว่า ศีลมหาสนิทเป็นธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อ เป็นสมบัติสุดประเสริฐที่พระเยซูคริสตเจ้าสามารถมอบให้กับมนุษยชาติ เป็นเสมือนมัดจำแห่งความรักสุดประมาณของพระองค์ เมื่อสัตบุรุษทำการพิศเพ่งดูและกราบนมั สการศีลมหาสนิทนี้  จึงเท่ากับเป็นการประกาศยืนยันถึงความเชื่อในการสถิตอยู่จริงของพระองค์ในแผ่นปังที่ได้รับการเสกแล้ว  เป็นพระเยซูคริสต์องค์เดียวกันที่ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อไถ่กู้มนุษยชาติ ในชีวิตโดยส่วนรวมของพระศาสน จักร พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณหรือศีลมหาสนิทจำเป็นจะต้องมาเป็นอันดับแรก เพราะเป็นท่อธารแห่งชีวิตที่บรรดาสัตบุรุษได้รับการชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์และได้รับการเสริมพละกำลัง เพื่อให้พวกเขาได้เจริญชีวิตมิใช่เพื่อตัวเอง แต่เ พื่อพระเจ้า  และเพื่อเพื่อนมนุษย์ตามแบบอย่างของพระองค์ ดังนั้น  การที่เราสัตบุรุษได้มาร่วมในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ  หรือมาพิศเพ่งดูและกราบนมัสการพระองค์ในพิธีตั้งศีลมหาสนิทหรือในพิธีอวยพรศีลมหาสนิท ก็เท่ากับว่าไ ด้มาเสริมสร้างความเชื่อของเราในองค์พระเยซูคริสตเจ้า  ที่ประทับ อยู่ในศีลมหาสนิทให้มั่นคงยิ่งขึ้น และเป็นการให้กำลังใจแก่ชีวิตเหมือนดังที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงกล่าวถึงประสบการณ์ชีวิตของพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าเองมีประสบการณ์ และได้รับพละกำลัง ความบรรเทาใจ และการสนับสนุนจากศีลมหาสนิท”

หน้าหลัก