หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

          วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์หรือวันพระตาย เป็นวันที่บรรดาคริสตชนทั่วโลกรำลึกถึงการตรึงพระเยซูเจ้าที่ไม้กางเขนและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ที่เขากัลวารีโอและเป็นวันแรกของ “ตรีวารแห่งธรรมล้ำลึกปัสกา” (Paschal Triduum) ซึ่งรวมไปถึงพิธีบูชาขอบพระคุณ “ระลึกถึงการเลี้ยงและพิธีล้างเท้าของพระคริสตเจ้า” ของวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ด้วยเชื่อกันว่าวันที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงที่ไม้กางเขน เป็นวันศุกร์ (ยน 19: 42)  ที่ 3 เมษายน ค.ศ. 33

          เรื่องราวพระทรมานของพระเยซูเจ้าตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น ช่วยให้เราเข้าใกล้ธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาได้ดีเป็นพิเศษ และวันนี้เองที่เราพยายาม เจริญชีวิตตามธรรมล้ำลึกนี้ของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์

          พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ในขณะที่ในพระวิหารมีการถวายบูชายัญลูกแกะปัสกา (ยน 19: 31) ดังนั้นการถวายบูชายัญซึ่งคือพะะองค์เอง จึงเป็นการถวายบูชายัญอย่างแท้จริง และการกระทำเพียงครั้งเดียวนี้ ก็เพียงพอสำหรับตลอดไป เพราะว่าบูชายัญที่เป็นจิตได้ทำให้บูชายัญที่เป็นวัตถุไร้ประโยชน์ไป นอกนั้น  เรายังมีรายละเอียดอื่นๆ  ประกอบอีกด้วย ซึ่งช่วยทำให้เรื่องราวการสิ้นพระชนม์ของพระ เยซูเจ้าสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น คือ ประการแรก พระเยซูเจ้ามิได้ถูกเขาหักขา  อันสอดคล้องกับบทบัญญัติของชาวยิว (อพย 12: 16)  ประการที่สอง มีโลหิตไหลออกจากสีข้างของผู้ที่ถูกแทง  โลหิตนี้ได้ประทับตราให้กับผู้ที่เป็นประชากรให ม่ อันได้แก่ผู้ที่ พระเจ้าได้ช่วยให้รอดพ้น (เทียบ อพย 12: 7-13) ประการที่สาม พระคริสตเจ้าท รงถูกตรึงที่ไม้กางเขนคือ ”แกะปัสกาที่แท้จริง” เป็นพระองค์เองที่เป็น “ปัสกาของเรา” ที่ได้ถูกบูชายัญ

            พระเยซูเจ้าเป็น “แกะปัสกาที่แท้จริง” เพราะว่าพระองค์คือความเป็นจริงของสิ่งที่บูชายัญในสมัยบรรพบุรุษได้แสดงออก ให้เห็นในการถวายเกียติแด่พระเจ้า  พระองค์เป็นการช่วยให้รอดพ้นที่ประชาชาติได้รับและได้หวังไว้  เป็นพันธสัญญากับพระเจ้า เป็นพระผู้ที่บันดาลให้แผนการณ์ของพระบิดาเจ้าได้สำเร็จเป็นไป

          คุณลักษณะของพระเยซูเจ้าดังกล่าวที่ได้บรรยายไว้ในพระวรสารมิใช่เป็นของใหม่แต่อย่างใดเลย บรรดาประกาศกโดย เฉพาะอย่าง ยิ่งประกาศกอิสยาห์ได้บรรยายคุณลักษณะของ “ผู้รับใช้ของพระเจ้า” ในขณะที่ประกอบภารกิจในการช่วยให้ประชาชาติได้รับความรอดพ้น และให้เป็นที่สบพระทัยพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนกับที่ลูกแกะที่ไม่มีความผิดอะไรเลย  แต่ว่าต้องแบกความบาปผิดของประช าชาติของพระองค์  ทั้งยอมให้ศัตรูนำไปสู่แดนประหารโดยมิได้ปริปากแต่อย่างใดเลย  และเป็นเพราะการสิ้นพระชนม์ที่พระองค์ยอมรับอย่างเต็มพระทัย นี้เอง ก็ก่อให้เกิดการเป็นผู้ชอบธรรม “สำหรับคนจำนวนมาก”...การพูดโต้ตอบกับปิลาโตแสดงให้เห็นว่า พระเยซูเจ้าชอบการนิ่งเงียบมากกว่า แม้ในขณะที่ผู้มีอำนาจทางฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายศาสนจักรกำลังตัดสินลงโทษพระองค์ให้ถึงตาย

  
เราคงจะไม่สามารถเข้าใจธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้าได้อย่างครบถ้วน  ถ้าหากว่าเราจะไม่ได้พินิจดูองค์พระชุมพาน้อยผู้รุ่งเรืองสุกใส  พระองค์ที่กำลังยืน   อยู่เฉพาะพระพักร์พระเจ้าด้วยพระวรกายอันเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ในขณะเดียวกันพระศาสนจักรก็มุ่งไปหาพระองค์ด้ วยความรักที่เต็มเปี่ยมที่สุดบนไม้กางเขน งานวิวาหมงคลขององค์พระชุมพาน้อยได้เริ่มขึ้นแล้ว  แต่จะสำเร็จบริบูรณ์ก็เฉพาะในงานเลี้ยงฉลองในเมืองสวรรค์ (เทียบ วว 19: 7-9)

การเดินรูป 14 ภาค

          ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วที่ผู้ที่ไปจาริกแสวงบุญที่กรุงเยรูซาเล็ม จะต้องหาโอกาสและเวลาที่จะเดิน รำพึงตามหนทางที่พระเยซูเจ้าได้ดำเนินในระหว่างพระทรมานของพระองค์ (มรรคาศักดิ์สิทธิ์/เดินรูป 14 ภาค) และเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่คริสตชนได้นำเอาการปฏิบัตินี้มาปฏิบัติกันในท้องถิ่น  ของตนเอง โดยเดินตามกางเขนที่มีผู้ถือนำหน้าพลางระลึกถึ งขั้นตอนต่างๆ ของพระทรมานที่พระเยซู  เจ้าต้องรับทน และเราเรียกการปฏิบัตินี้ว่า “การเดินร ูป 14 ภาค”

          การเดินรูป 14 ภาคนี้ เรียกร้องให้ผู้ที่ปฏิบัติ ทำการรำพึงคิดถึงการทนทุกข์ยากลำบากและ ความ   เจ็บปวดของพระเยซูเจ้าในแต่ละภาค ซึ่งในยุคเริ่มแรกยังไม่ได้มีการกำหนดบทสวดเฉพาะลงไป ทั้งยังไม่มีการเรียกชื่อสำหรับแต่ละภาคดังในยุคของเรานี้ด้วย เราควรจะให้ความสนใจในการรำพึงธรรมล้ำลึกแห่งความรัก และการอุทิศตนของพระเยซูเจ้าและของพระมารดาของพระ องค์ ทั้งให้เราวิงวอนขอพระองค์ให้เรามีส่วนอย่างใกล้ชิดในยัญบูชาฝ่ายจิตของท่านทั้งสอง มากกว่าที่จะให้ความสนใจถึงลำดับขั้นตอนของเหตุการณ์ต่างๆของพระทรมานของพระองค์

          พระคริสต์ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนคือการไขแสดงของพระเจ้า พระบิดาที่รักเรามนุษย์ และได้ทรง  แสดงพระฤทธานุภาพของพระอง ค์ในความอ่อนแอและในความล้มเหลวของมนุษย์

          ในขณะเดียวกัน พระคริสต์ที่ถูกตรึงที่ไม้กางเขน ก็เป็นมนุษย์ที่แท้จริงซึ่งได้ยอมมอบชีวิตของตน เพื่อคนอื่นและเพื่อพระเจ้า

ข้อสังเกตให้ไตร่ตรอง:มีคนสี่คนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์

           1. ผู้ร้ายคนหนึ่งที่ถูกตรึงกางเขนข้างๆพระเยซูเจ้า ได้วิงวอนขอพระองค์ให้ทรงระลึกถึงเขา เมื่อพระองค์จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า (ลก 23: 39-43)

          2. นายร้อยทหารโรมันได้ประกาศว่า “ชายคนนี้เป็นพระบุตรพระเจ้าแน่ทีเดียว” (มก 15: 39)

           3. โยเซฟ ชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นศิษย์ลับๆคนหนึ่งของพระเยซูเจ้าและเป็นสมาชิกสภาฯ ก็ได้เปิดเผยตัวเองออกมาจากการซ่อนตัวตลอดระยะเวลาที่พระเยซูเจ้ายังมีชีวิตอยู่

           4. นิโคเดมัส ก็เป็นศิษย์ลับๆอีกคนหนึ่งของพระเยซูเจ้าเหมือนกันและเป็นสมาชิกสภาฯ และก่อนหน้านั้นได้เคยมาเฝ้าพระองค์เวลากลางคืน ก็มาพร้อมกับโยเซฟ ชาวอาริมาเธียทั้งสองได้ช่วยกันปลงพระศพของพระเยซูเจ้า (ยน 19: 38-42; 7: 50-52)

          เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสี่คนนี้ ได้รับการเปลียนแปลงจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้ามากกว่าจากชีวิตของพระองค์ทั้งสี่คนได้ตระหนักและยอมรับว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นบุตรพระเจ้า และการยอมรับที่ว่านี้ได้นำพวกเขาไปสู่ความเชื่อ การประกาศยืนยันและการลงมือทำกิจการ

          เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับพระเยซูเจ้าและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เราก็ควรจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ความเชื่อ การ ประกาศยืนยันและการลงมือทำกิจการเช่นเดียวกับบุคคลทั้งสี่ที่ได้เอ่ยถึงนี้

          ความกลัวที่จะยอมเปิดเผยตัวเอง ทำให้เราต้องซ่อนความเชื่อของเราจากเพื่อนฝูงคนรู้จักหรือเปล่า?

          หรือว่าเรากล้าที่จะเปิดตัวของเราออกมาให้คนอื่นเขารู้ว่าเรากำลังติดตามและเป็นศิษย์ของใคร?

หน้าหลัก