หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

         คำว่า  “ปฏิสนธินิรมล” ที่ใช้กับพระนางมารีย์เป็นความเชื่อที่ว่าพระนางพรหมจารีมารีย์  เป็นผู้ที่ไม่มีบาปกำเนิดตั้งแต่จุดเริ่มต้นชีวิตของพระนาง  คือตั้งแต่การเริ่มปฏิสนธิของพระนาง  ส่วนมนุษย์คนอื่นๆนั้น ธรรมชาติมนุษย์ของพวกเขาจะแปดเปื้อนด้วยบาป  เพราะการพลาดพลั้งของอาดัมซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษยชาติ  มนุษย์แต่ละคนจะได้รับการไถ่ให้พ้นจากบาปกำเนิด เฉพาะเมื่อเขาจะได้เชื่อในพระคริสต์ พระผู้ไถ่  แต่ว่าพระนางมารีย์  เพราะอาศัยพระหรรษทานพิเศษสุด  ได้รับการช่วยให้พ้นจากการติดบาปกำเนิด พระนางได้รับธรรมชาติมนุษย์ในสภาพที่ไม่มีบาปติดตัวพระนางเลย ดังนั้น  เราจึงบอกว่าพระนางเป็นผู้ปฏิสนธินิรมล สิทธิพิเศษนี้ได้มอบให้แด่พระนาง  เพื่อว่าพระนางจะได้เป็นพระมารดาที่เหมาะสมสำหรับพระคริสต์ในอนาคต

           
        
         พระคัมภีร์ไม่ได้พูดถึงตรงๆเกี่ยวกับการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์  บางคนบอกว่าหนังสือปฐมกาล 3: 15  ได้พูดถึงเป็นนัยๆถึงการไม่มีบาปเลยของพระนาง...
เราจะให้เจ้ากับหญิงนี้เป็นศัตรูกัน ทั้งพงศ์พันธุ์ของเจ้าและพงศ์พันธุ์ของเขาด้วย พงศ์พันธุ์ของหญิงจะทำให้หัวของเจ้าแหลก และเจ้าจะทำให้ส้นเท้าของเขาฟกช้ำ... พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 ได้ทรงอ้างอิงข้อความดังกล่าว ว่าเป็นการทำนายถึงการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ (Ineffabilis Deus, Acta Pii IX 1.1: 607)
        
         คำทักทายของเทวทูตคาเบรียล...
สวัสดี  เธอผู้ซึ่งพระเจ้าทรงโปรดปรานปรานมาก... ก็ได้ถูกอ้างอิงว่าเป็นการเผยแสดงถึงการปฏ ิสนธินิรมลของพระนางด้วย  อันอยู่บนพื้นฐานของการเป็นผู้เปี่ยมด้วยพระหรรษทานจริงๆ  ดังนั้นพระนางมารีย์จะต้องไม่มีบาปเลย
                    
         แม้ว่าการปฏิสนธินิรมลจะไม่ได้ถูกสอนอย่างเปิดเผยในพระคัมภีร์  ทั้งบรรดาอัครสาวกก็ไม่ได้ถ่ายทอดด้วยปากและถูกบันทึกไว้ในเวลาต่อมา แต่ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในแวดวงของพระศาสนจัก รในโอกาสต่อๆมา ดังจะขอกล่าวถึงดังต่อไปน
ี้          
         ความเชื่ออย่างเปิดเผยในเรื่องของการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นในพระศ าสนจักร  ในลักษณะของการประยุกต์คำสั่งสอนทั่วๆไปในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง ...พระวรสารโดยนักบุญลูกา บทที่ 1 และ 2 ได้นำเสนอพระนางมารีย์ว่าเป็นบุคคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างพิเศษสุด  ทั้ง ดูเหมือนว่าจะนำเอาความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมาเชื่อมโยงกับการเป็นพระมารดาของพระคริสต์...
เพราะเ ธอเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงโปรดปราน ดูเถิด เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย...(ลก 1: 30-31) ซึ่งก็เป็นที่แน่ นอนว่าความศักดิ์สิทธิ์อย่างไม่มีที่ตินี้ จะต้องคู่ควรกับความศักดิ์สิทธิ์แห่งพันธกิจหน้าที่ของพระนางที่จะ ต้องเป็นพระมารดาขององค์พระบุตรพระเจ้า  แต่ดูเหมือนว่าก็ยังไม่สามารถหลีกพ้นข้อโต้แย้งในเรื่องของกระแสเรียก  ไปสู่ความศักดิ์สิท ธิ์สำหรับทุกๆคนของพระเป็นเจ้าได้ จริงๆแล้ว  เป็นพระเป็นเจ้าที่ทรงเรียกและปั้นแต่งบรรดานักบุญของพระองค์ตามน้ำพระทัยของพระอ งค์ (รม 8: 9)  ดังนั้นความเป็นพรมจรรย์ของพระนางมารีย์และอัศจรรย์ที่พระองค์ได้ทรงรักษาความเป็นพรมจรรย์นั้นไว้ แม้เมื่อขณะที่พระ องค์ทรงเชื้อเชิญให้พระนางเป็นพระมารดาขององค์พระบุตร  เป็นวิธีการพิเศษที่พระเป็นเจ้าทรงบันดาลให้พระนางเหมาะสม กับหน้าที่ที่พร ะนางจะได้รับ นี่ก็คงจะต้องการบอกให้เราได้ทราบเป็นนัยๆว่าพระนางมารีย์ทรงเป็นผู้ที่ประกอบด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่หาใครเสมอเหมือนไ ม่ได้  มิใช่เฉพาะในขณะที่พระนางได้ข่าวสารจากเทวทูตเท่านั้น แต่จะต้องมีผลย้อนไปถึงขณะแห่งการปฏิสนธิของพระนางอีกด้วย  นี่เป็ นสิ่งที่พระศาสนจักรได้ทำการไตร่ตรองและอภิปรายกัน อยากจะสรุปว่าขบวนการทางประวัติศาสตร์สำหรับเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์มี  2 ระยะด้วยกัน คือ
           1.การพัฒนาในเรื่องของการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระนางมารีย์
           2.ความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว จะต้องรวมไปถึงการถนอมรักษาพระนางให้พ้นจากความด่างพร้อยทั้งหลายทั้งปวง  ตั้งแต่การปฏิสนธิ
               ของพระนาง

       
        
         บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรในยุคแรกๆ ต่างก็เชื่อว่าพระนางเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์  แต่ว่ามิใช่ไม่มีบาปเลย Origen เชื่อว่าพระนางก็มีข้อบกพร่องเช่นมนุษย์คนอื่นๆเหมือนกัน เมื่อเวลาได้ค่อยๆล่วงเลยไป ความเชื่อที่ว่าพระนางมารีย์เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ก็ค่อยๆแพ ร่หลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระศาสนจักรตะวันออก โดยเริ่มจากสภาสังคายนาเอเฟซัส (431) ที่ได้เรียกพระนางว่า
“พระมารดาพระเจ้า” และในศตวรรษที่ 8  พระศาสนจักรบีแซนไทน์ได้มีความเชื่อที่ว่าความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางไม่มีที่ติจริงๆ แต่ว่าพระศาสนจักรลาติน/ตะวันตกได้มีการพัฒนาในเรื่องนี้อย่างเชื่อง ช้ามากกว่า ในปี 1099 นักบุญอังแซล์มได้บันทึกไว้ว่า “เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่พระนางจะได้สรวมใส่อาภร ณ์ด้วยความบริสุทธิ์ที่น่าประหลาดมหัศจรรย์ จนว่าไม่สามารถจะคิดเป็นอย่างอื่นได้” การยืนยันที่ว่านี้ก็ใ ช่ว่าจะแจ่มแจ้งเป็นที่ยอมรับสำหรับคริสตชนทุกคน แต่ว่าออกมาจากหัวใจของพวกเขาที่แสดงออกซึ่งความรักและความศรัทธาภักดีที่มีต่อพระนางจริงๆ
            
         จากความเชื่อศรัทธาดังกล่าวข้างต้น  โดนเฉพาะอย่างยิ่งในพระศาสนจักรตะวันออก ก็เกิดการยืนยันเป็นไปอย่างธรรมชาติว่าพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเจ้า ไม่ได้รับการแตะต้องจากข้อบกพร่องหรือมลท ินใดๆทั้งสิ้น  ตั้งแต่การเริ่มปฏิสนธิของพระนาง แต่ว่านักเทววิทยาทั้งหลาย ก็ไม่สามารถที่จะบอกอย่างมั่นเหมาะว่าความเชื่อที่ว่าพระนางมารีย์เป็นผู้ปฏิสนธินิรมล  เป็นข้อความเชื่อที่บรรดาสัตบุรุษคริสตชนจะ ต้องเชื่อ  ตั้งแต่เมื่อใดกันแน่  แต่ที่แน่ๆก็คือในศตวรรษที่ 8-9 สำหรับข้อความเชื่อดังกล่า ก็ได้เป็นที่ยอมรับกันแล้ว หลังจากที่พระศาสนจักรตะวันออกได้แยกตัวออกจากพระศาสนจักรตะวันตก ความเชื่อศรัทธาท ี่ว่านี้ ก็ได้ค่อยๆจืดจางลงไปจากพระศาสนจักรบีแซนไทน์ จนในที่สุดพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 (1846-1878) ได้ทำการรื้อฟื้นข้อความเชื่อนี้ขึ้นมาใหม่ในศตวรรษที่ 19
          
     
 
         ในขณะที่ความเชื่อศรัทธาเรื่องการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ ได้ถูกโยกย้ายมาปลูกฝังในพระศาสนจักรตะวันตก ด้วยการจัดใ ห้มีการฉลองเป็นเกียรติแด่การปฏิสนธิของพระนาง จริงๆแล้ว การฉลองนี้ได้มีขึ้นก่อนปี 700  ในศาสนจักรของชีเรีย จากนั้น  ก็ได้แผ่ข ยายไปทั่วพระศาสนจักรแห่งบีแซนไทน์ การฉลองนี้ได้ไปถึงประเทศอังกฤษประมาณปี 1050 แต่ว่าการฉลองนี้ก็อยู่ได้ประมาณ 100 ปีเท่าน ั้น และก็ถูกยกเลิกไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ความศรัทธาภักดีนี้ได้รับการปลุกเร้าขึ้นมาใหม่อีก แม้ว่าจะมีการต่อต้านอยู่ บ้าง และเกิดมีการโต้เถียงกัน ในเรื่องลักษณะของการปฏิสนธิของพระนางมารีย์ เพราะเกิดมีการโต้เถียงกันนี้เองที่ทำให้ความคิดเรื่องการ ปฏิสนธินิรมลของพระนาง ได้ก่อให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการทำให้เรื่องนี้เป็นที่แจ่มแจ้งมากขึ้น จนในที่สุดก็ได้เป็นที่ยอมรับของพระศาสนจักร
          
         ส่วนนักเทววิทยาอัสมาจารย์ในศตวรรษที่ 13  ก็เริ่มให้ความสนใจกับการถกเถียงทางเทววิทยานี้  แต่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งข ึ้น  เพราะได้เข้าไปพัวพันในเรื่องของชีววิทยาที่ว่า วิญญาณมนุษย์จะเข้าไปอยู่ในตัวอ่อนหลังจากการปฏิสนธิแล้ว 40-80 วัน นักเทวว ิทยาเหล่านี้เชื่อว่า บาปกำเนิดจะมีผลต่อร่างกายมนุษย์ก่อนที่จะรับเอาวิญญาณเข้ามาอยู่ด้วย  จึงมีการตั้งคำถามขึ้นมา 3 ข้อด้วยกัน  คือพระนางมารีย์ได้ถูกทำให้ศักดิ์ไปและให้พ้นจากบาปกำเนิด
ก่อน หรือว่า หลัง หรือว่า ในขณะที่วิญญาณเข้ามารวมกับร่างกาย  ทีแรกบ รรดานักเทววิทยาต่างก็ยืนยันว่าพระนางมารีย์ได้รับการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ก็ต่อเมื่อวิญญาณได้เข้ามารวมอยู่กับร่างกายเท่านั้น  ดังนั้นพระน างจะต้องติดบาปกำเนิด ตั้งแต่ก่อนจนถึงขณะที่วิญญาณได้เข้าไปรวมอยู่กับร่างกาย ที่เป็นดังนี้ เหตุผลที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง ก็ได้มาจากของนักบุญโทมัส อะไควนัส ...ถ้าวิญญาณของพระนางพรหมจารีมารีย์ไม่ได้ติดบาปกำเนิดมา ก็คงจะทำให้ศักดิ์ศรีของพระคริสต์ ในฐานะที่เป็นพระผู้ไถ่ของมนุษยชาติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์... เพราะพระนางจะไม่มีความต้องการการไถ่บาป ซึ่งพระคริสต์ได้ทรงนำมาให้ ดังนั้นพระองค์ก็จะไม่เป็นพระผู้ไถ่ของมนุษย์ทุกคน (เทียบ 1ทธ 4: 10) และนักบุญโทมัสได้สรุปว่า ...พระนางพรหมจารีมารีย์ได้ติดบาปกำเนิด แต่ว่าได้รับการชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนการบังเกิดของพระนาง... จริงๆแล้ว นักบุญโทมัสมิได้มีความตั้งใจที่จะปฏิเสธการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์แต่อย่างใด
            
    
  การแก้ปัญหาของนักเทววิทยาดันส์ สโกตุส และ การยอมรับการปฏิสนธินิรมลของพระนางพรหมจารีมารีย์ ...เป็นที่ยอมรับว่าการแ ก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ก่อนอื่นหมดเป็นเพราะความเชื่อและความศรัทธาภักดี ที่บรรดาสัตบุรุษมีต่อพระนางพรหมจารีมารีย์  แต่จะต้องแสดงให้เห็นว่าการปฏิสนธินิรมลของพระนางจะต้องไม่ไปขัดแย้งกับข้อความเชื่อเรื่อง การไถ่บาปที่เป็นสากลสำหรับมนุษย์ทุกคน ... ดันส์ สโก ตุส (1264-1308) นักบวชคณะฟรังซิสกัน จากออกซ์ฟอร์ด ได้เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้ ท่านได้กล่าวว่า...ถ้าพระนางมารีย์ได้รับการยกเว้น จากบาปกำเนิด ก็มิได้หมายความว่าพระนางไม่ได้มีความต้องการการไถ่บาปของพระคริสต์ ตรงข้าม พระนางกลับมีความต้องการให้พระคริส ต์ เป็นพระผู้ไถ่ของพระนางมากกว่ามนุษย์คนอื่นๆด้วยซ้ำไป เนื่องจากว่าพระนางคงจะต้องติดบาปกำเนิด ถ้าหากว่าพระหรรษทานของพระคริสต์จะไม่ได้ช่วยพระนางในเรื่องนี้ .. .การยืนยันของดันส์ สโกตุสในเรื่องนี้ ได้ช่วยทำให้ข้อความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับของบรรดาสัตบุรุษส่วนใหญ่ในพระศาสนจักร
                


         พระสันตะปาปาและข้อความเชื่อที่ต้องเชื่อ (Dogmatic Definition) …ทีแรก พระสันตะปาปาหลายๆพระองค์ได้ทรงปล่อยให้เรื่อง
ก ารปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ เป็นเรื่องที่สามารถถกเถียงกันได้อย่างอิสระ เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็เป็นช่วงๆ เมื่อการถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าวนี้ชักร้อนระอุขึ้น พระสันตะปาปาก็จำเป็นต้องเข้ามาทำการยุติ เพื่อมิให้เรื่องบานปลายมากยิ่งขึ้น และเพื่อรักษาสันติภาพภายในพระศาสนจักรด้วย ดังนั้น ในปี 1482 พระสันตะปาปาซิกส์ตุส ที่ 4 ได้ทรงอนุญาต ให้มีบทสวดทำวัตรของการสมโภชพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล อัน ก่อให้เกิดมีศิลปการวาดภาพพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมลในประเทศสเปนในศตวรรษที่ 17 ก่อน ...จากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป คำร้องขอสนับสนุนข้อความเชื่อในเรื่องนี้ ได้เริ่มมีมากขึ้นและดังขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 19 ความเชื่อศรัทธาในพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล ได้รับการกระตุ้นให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการประจักษ์ของเหรียญแม่พระอัศจรรย์ที่กรุงปารีส ในปี 1830 ...ในปี 1846 สภาสังคายนาแขวงแห่งเมืองบัลติมอร์ ค รั้งที่ 6  ได้ประกาศให้พระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมลเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ...พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 (1846-1878) ทันทีหลังจากที่พระองค์ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นพระสันตะปาปา ก็ได้ใช้ความ พยายามสนับสนุนความเชื่อศรัทธาในพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล ให้เป็นข้อความเชื่อที่ต้องเชื่อให้ได้ ...ดังนั้นในปี 1854  หลังจากที่ได้ทรงปรึกษาหารือกับบรรดาพระสังฆราชของพระศาสนจักร และคณะกรรมการเ ทววิทยาหลายๆคณะแล้ว  พระองค์ก็ได้ทรงประกาศให้ความเชื่อศรัทธานี้เป็นข้อความเชื่อที่จะต้องเชื่อ ...คำสั่งสอนที่เชื่อว่า พระนางพรห มจารีมารีย์ได้รับการยกเว้นจากบาปกำเนิด ตั้งแต่วินาทีแรกแห่งการปฏิสนธิของพระนาง อาศัยพระหรรษทานและสิทธิพิเศษจากพระผู้เป็นเ จ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ  โดยคำนึงถึงพระบุญญาบารมีของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของมนุษยชาติ  ข้อความเชื่อนี้ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า และดังนั้น จำเป็นที่บรรดาสัตบุรุษจะต้องเชื่ออย่างมั่นคงถาวรสืบไป...(Denz 2803) ข้อความเชื่อนี้ได้รับการตีพิมพ์และอธิบาย ในพระสมณลิขิต  “Ineffabilis Deus” (Acta Pii IX, 1. 1: 616)  ของพระองค์ในปีเดียวกัน
                    
         เพียง  4 ปี เท่านั้น หลังจากที่พระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ได้ประกาศเป็นข้อความเชื่อ ( 8 ธันวาคม 1854) ที่ว่า
“พระนางมารีย์ทรงเป็นผู้ปฏิสนธินิรมล” เพราะพระนางเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระจิตเจ้า และเป็นผู้ที่ได้รับการคุ้มครองรักษาให้พ้นจากบาปทุกชนิด
                
         ในวันที่ 11  กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1858  พระนางมารีย์ได้ประจักษ์มาหานักบุญแบร์นาแดท  ที่ถ้ำมาสซาเบียลในเทือกเขาพีเรนิส บอกว่าพระนางคือ
“ผู้ปฏิสนธินิรมล” พระนางได้ประจักษ์มาหานักบุญ แบรนาแด ท รวมทั้งหมด 18 ครั้งด้วยกันจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคมปีเดียวกันนั้นเอง
                  
        
“อัศจรรย์” ที่ลูร์ดส์ยังคงอยู่เสมอคือ ศีลมหาสนิท นอกเหนือไปจากปรากฏการณ์ทางศาสนาแล้ว ประส ิทธิภาพของสารหรือข่าวดีขั้นพื้นฐานของพระวรสารก็ยังคงอยู่ และพระนางมารีย์ก็ยังคงเรียกร้องจากเรามนุษย์อยู่เสมอๆ คือ “การกลับใจ”
          
           1.ขอให้ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ จงเป็นพละกำลังแห่งชีวิตคริสตชนสำหรับทุกๆคน
           2.ขอให้ทุกคนได้มีจิตสำนึกว่า ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ ช่วยนำเราไปสู่บูชามิสซา (ศีลมหาสนิท)
           3.ขอให้พระนางมารีย์ได้สะกิดหัวใจของเรา และเรียกเรา
“ให้กลับใจ” อยู่เสมอเป็นนิจ
           4.ข้าแต่พระนางมารีย์ โปรดให้เราเข้าใจคุณค่าของการทนทุกข์ยากลำบากที่เราได้ถวายแด่พระเป็นเจ้า

หน้าหลัก