สำหรับพระศาสนจักรตะวันออก วันที่ 6 สิงหาคมเป็นวันฉลองปัสกาของฤดูร้อน เพราะเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรงประจักษ์พระวรกายของพระองค์ดังที่ได้มีเล่าไว้ในพระวรสาร 3 ฉบับแรก สำหรับพวกเขาแล้วเหตุการณ์นี้มีความสำคัญมาก
ส่วนการฉลองการประจักษ์พระวรกายขององค์พระเยซูคริสตเจ้าในพระศาสนจักรตะวันตกนั้น เป็นพระสันตะปาปากัลลิสตุส ที่ 2 ไ
ด้ทรงนำเข้ามาในปี 1456 เพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะของพระศาสนจักรที่มีต่อพวกอิสลาม
ในการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงพระองค์เองในพระส
ิริรุ่งโรจน์ทั้งหมดแห่งชีวิตพระที่มีอยู่ในพระองค์ ให้อัครสาวกที่ใกล้ชิดทั้งสามท่านได้แลเห็น พระสิริรุ่งโรจ
น์นี้เป็นเพียงแต่บทนำของพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ในคืนวันปัสกาเท่านั้น คืนที่พระองค์ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และที่พระองค์จะทรงประทานให้แก่เราโดยบันดาลให้เราเป็นบุตรของพระเจ้า...ดังนั้น ชีวิตคริสตชนของเราจึงเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆดำเนินไปเรื่อยๆอย่างช้าๆในพระคริสตเจ้า จนกว่าจะถึ
งรูปแบบของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูคริสตเจ้าอย่างรุ่งเรืองสุกใส
การประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกไว้ในเฉพาะพระวรสารสหทรรศน์
คือใน มธ 17: 1-9 มก 9: 2-8 และ ลก 9: 28-36 แต่ก็มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในบทจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2 (2 ปต 1: 16-18) และในพระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน 1: 14) ด้วยเหมือนกัน
เหตุการณ์ของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า เป็นเหตุการณ์เดียวพิเศษเฉพาะซึ่งเกิดขึ้นในช่วงชีวิตบนแผ่นดินโลกของพระ
องค์ โดยยอมให้พระสิริรุ่งโรจน์แห่งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ได้ฉายแสงเจิดจ้าโดยผ่านทางมนุษยภาพของพระองค์ เหตุการณ์นี้ได้
เกิดขึ้นภายในสัปดาห์เดียวกับที่พระเยซูเจ้าก่อนหน้านั้น ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะประทานตำแหน่งประมุขแห่งพระศาสนจักรของพระองค์ให้กับนักบุญเปโตร (มธ 16-17: 1-13)
ในเหตุการณ์ของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์ สานุศิษย์ทั้งสามที่ใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้ามากที่สุดคือเปโตร ยากอบและยอห์น ก็ได้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์นี้ของพระองค์ ซึ่งต่อมาภายหลังท่านทั้งสามจะต้องเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกัน คือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดอย่างเหลือร้ายจาก การเข้าตรีทูตในสวนมะกอกจนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ที่ไม้กางเขนบนเขากัลวารีโอ
ในห้วงเวลาของการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูเจ้าบนภูเขาทาบอร์ พระวรสารของนักบุญลูกาได้เล่าว่าพระเยซูเจ้าได้ประจักษ์พระ
วรกายของพระองค์ให้อัครสาวกทั้งสามได้แลเห็น เป็นพระสิริรุ่งโรจน์แห่งพระเทวภาพของพระองค์ซึ่ง พระองค์ได้สละจนหมดสิ้น (ฟป 2:7) พระสิริรุ่งโรจน์นี้ได้ฉายแสงออกมาผ่านทางพระพักตร์ของพระองค์ที่เปลี่ยนไปและทำให้ฉลองพระองค์มีสีขาวเจิดจ้า ความเปลี่ยน
แปลงของพระวรกายของพระเยซูเจ้าที่เปลี่ยนไปนี้ ก็เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ไม่ช้าไม่นานก็จะผ่านพ้นไป เนื่องจากว่าการเปลี่ยนไปของพระวรกายและการได้รับเกียรติรุ่งโรจน์ของพระองค์ จะเกิดขึ้นอย่างถาวรโดยผ่านทางพระทรมานของพระองค์เท่านั้น อันเป็นเรื่องของการสนทนาระหว่างพระเยซูเจ้ากับแขกผู้มาเยี่ยมจากสวรรค์สอง
ท่าน และนี่เป็นสิ่งที่นักบุญเปาโลเน้นย้ำและให้ความสำคัญอย่างมากในจดหมายของท่านถึงชาวฟิลิปปี ที่กล่าวว่า (พระเยซูเจ้า)ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับ แม้ความตาย เป็นความตา
ยบนไม้กางเขน เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้นสูงส่ง (ฟป 2: 5-11) บรรดาผู้นิพน
ธ์พระวรสารต่างก็ชี้ให้เห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างพระทรมานของพระคริสตเจ้ากับการได้รับ เกียรติรุ่งโรจน์ของพระองค์ เพราะว่าการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า ได้รับการวางไว้ใน
บริบทของการทำนายครั้งแรกถึงพระทรมานและการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ (มธ 16: 21-23; มก 8: 31-33; ลก 9: 22)
จุดสุดยอดของการประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้าอยู่ที่พระสุรเสียงของพระบิดาเจ้า ดังที่เคยได้ยินมาแล้วเวลาที่พระองค์รับพิธีล้างจากท่านยอห์น แบปติสต์ ที่กล่าวว่า ท่านผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา เราพึงพอใจยิ่งนัก จงฟังท่านเถิด
เมฆที่สุกใสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นมาตรฐานของการเผยแสดงของพระเจ้าในพระธรรมเก่า เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ของพระเจ้า (อพย 19: 16-18; 24: 15-16) และการที่พระเยซูเจ้าได้รับการประกาศว่า ท่านผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา ก็เพราะว่าพระบุตรองค์นี้ไ
ด้เป็นผู้ทำให้น้ำพระทัยของพระเจ้า ได้สำเร็จเป็นไป จึงเป็นที่พึงพอใจยิ่งนักสำหรับพระบิดาเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระวจนาตถ์ (ยน 1: 1) และถูกส่งมาเพื่อประทานพระวาจาของพระเจ้าให้กับมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงมีข้อผูกมัดว่าจะต้องฟังพระองค์
ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษยชาติ การประจักษ์พระวรกายของพระเยซูเจ้า จะชี้แสดงไปยังการเปลี่ยนแปลงทางกาย
ภาพในอนาคตของคริสตชนในองค์พระคริสตเจ้า โดยการพบปะกันทางศีลศักดิ์สิทธิ์กับพระบุคคลของพระผู้ได้กลับคืนพระชนมชีพ คริสตชนก็จะมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีของ บุตรคนแรกในบรรดาสิ่งสร้างทั้งปวง (คส 1: 15) อันเป็นธรรมล้ำลึกซึ่งได้รับการเผยแสดงล่วงหน้าในการประจักษ์พระวรกายขององค์พระเยซูเจ้า เราสามารถเรียกการรับศีลล้างบาปของคริสตชนว่าเป็นธรรมล้ำลึกแห่งการเกิดใหม่ครั้งแรกของคริสตชน ส่วนในการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระอง
ค์ ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นธรรมล้ำลึกแห่งการเกิดใหม่ครั้งที่สองของคริสตชน ข้าแต่พระบิดา ผู้ที่พระองค์
ประทานให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าปรารถนาให้เขาอยู่กับข้าพเจ้าทุกแห่งที่ข้าพเจ้าอยู่ เพื่อเขาจะได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ซึ่งพระองค์ประทานแก่ข้าพเจ้า (ยน 17: 24)
สำหรับเวลานี้ ชีวิตของคริสตชนถูกบังซ่อนอยู่กับพระคริสตเจ้าในองค์พระเจ้า แต่เมื่อพระคริสตเจ้
าจะทรงปรากฎมา ณ วันสุดท้าย แล้วนั้นคริสตชนก็จะปรากฎพร้อมกับพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ด้วย และพระเจ้าจะเป็นทุกสิ่งในทุกๆคน แล้วเราก็จะได้สรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ (ให้ดู คส 3: 3-4; 1 คร 15: 28; อฟ 1: 12)
สำหรับพวกเรา ทุกๆครั้งที่เรามาร่วมถวายบูชาขอบพระคุณ เราก็ได้แลเห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเข้าไปรับองค์พระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท เช่นเดียวกับที่โมเสสได้แลเห็น
พระสิริรุ่งโรจน์ของพระยาห์เวห์ที่พุ่มหนามอันลุกโชติช่วงหรือบนภูเขาซีนัย หรือเช่นเดียวกับการที่ประชากรผู้รับเลือกสรรที่กำลังเดินทางอยู่ภายใต้กลุ่มเมฆที่สว่างโชติช่วง หรือการที่ประกาศกเอลียาห์ได้ถูกดึงตัวให้ขึ้นไปบนรถม้าเพลิง หรือการที่ผู้เฒ่าซีเมออนได้แลเห็นองค์ความสว่างส่องนานาชาติที่พระวิหารกรุงเยรูซาเลม หรือว่าเช่นเดียวกับเปโตร ยากอบและยอห์นบนภูเขาทาร์บอร์ หรือว่าเหมือนกับพวกอัครธรรมทูตกับพระนางมารีย์ในห้องประชุมสวดในวันพระจิตเสด็จลงมา หรือเหมือนกับนักบุญเปาโลที่กำลังเดินทางมุ่งหน้าไปยังกรุงดามัสกัส...โดยมีความหวังและรอคอยว่าเราจะได้รับการไขแสดงให้เป็นเหมือนกับบุตรแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองสวรรค์ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าจะทรงเป็น ทุกๆสิ่งในทุกๆคน
|