โมเสสได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลาสี่สิบวัน เพื่อรับบทบัญญัติแห่งพันธสัญญา พระเยซูเจ้าทรงจำศีลอดอาหารสี่สิบวันในถิ่นทุรกันดาร
ก่อนเริ่มภารกิจของพระองค์ คริสตชนจึงเตรียมตัวเพื่อฉลองธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาของการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ด้วยเทศกาลใช้โทษบาปซึ่งยาวนานสี่สิบวันเช่นกัน
การใช้โทษบาปเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาชีวิตของคริสตชน วิธีการอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่จะแยกความคิดนี้
ออกจากชีวิตคริสตชนไม่ได้ การใช้โทษบาปเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบาปและการกลับใจ หมายถึงการเกลียดชังความชั่วร้ายภายในและรอบข้างตัวเรา และสิ่งสำคัญคือการกลับใจหาพระเจ้าด้วยความรัก
วิธีบรรลุถึงการกลับใจภายในนี้คือ การถือมหาพรตด้วยการภาวนา การทำกิจเมตตาและการจำศีลอดอาหาร สิ่งเห
ล่านี้ไม่ควรถือเป็นเรื่องล้าสมัย อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงที่ว่าความสำคัญของ การทำกิจการใช้โทษบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดภาวนาให้มากขึ้นและเข้มข้นขึ้นเป็นพิเศษ การทำบุญให้ทาน การทำความดีให้กับคนอื่นมากขึ้น การจ
ำศีล การอดเนื้อ อดอาหาร การอดหรือละเว้นสิ่งที่ชอบ ฯลฯ ในระหว่างเทศกาลมหาพรตอาจเคยได้รับการย้ำจนเกินไปในอดีต แต่ก็ไม่ควรละเลยหรือทำเป็นหูทวนลมไม่ใส่ใจ
สิ่งที่เราอดและละเว้นในเทศกาลมหาพรตเป็นการตัดสินใจส่วนตัว แต่ควรสัมพันธ์กับการกลับใจภายในหาพระเจ้า เมื่อแต่ละคนบำเพ็ญศา
สนกิจ ประกอบกิจเมตตาปรานีโดยขะมักเขม้นยิ่งขึ้น อีกทั้งรับศีลศักดิ์สิทธิ์อันนำชีวิตใหม่มาให้แล้ว จะได้รับพระหรรษทาน บันดาลให้เป็นบุตรพระเจ้าโดยสมบูรณ์ (บทเริ่มขอบพระคุณสำหรับเทศกาลมหาพรต แบบที่ 1)
ตัวเลข 40 แห่งเทศกาลมหาพรต มีความหมายต่อคริสตชนในหลายแง่มุม ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระลึกถึงการอดอ
าหาร 40 วัน ของพระเยซูเจ้าในถิ่นทุรกันดารก่อนที่ปฏิบัติภารกิจของพระองค์ ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลต้องรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี ในสมัยโมเสส ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงกระทำให้มีฝนตกติดต่อกัน 40 วัน 40 คืน ในสมัยของโนอาห์ ส่วนโมเสสก็ได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลา 40 วัน เพื่อรับพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า นอกนั้นยังรวมไปถึง 40 วัน ของการที่ประกาศกโยนาห์ประกาศ การกลับใจแก่ชาวเมืองนินะเวห์
สำหรับคริสตชน 40 วัน แห่งเทศกาลมหาพรต จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมานบนเส้นท
างแห่งไม้กางเขนของพระองค์ เพื่อจะได้กลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ เพราะฉะนั้น เทศกาลมหาพรตจึงเป็นเทศกาลแห่งการสำนึกในความผิดบาปแ
ละการกลับใจเสียใหม่ เป็นเทศกาลแห่งการสำรวจตนเองว่า ได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ของเราหรือไม
ข้อกำหนดของพระศาสนจักรในเทศกาลมหาพรต
เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามจิตตารมณ์ของเทศกาลมหาพรต ขอให้ปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรดังต่อไปนี้
1. ตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า คริสตชนทุกคนต้องชดเชยใช้โทษบาปของตนตามวิธีการของแต่ละคนและเพื่อการปฏิบัติร่วมกัน จึงได้ก
ำหนดวันชดเชยใช้โทษบาปซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนา ปฏิบัติกิจเมตตาปรานีและความรักเป็นพิเศษ เสียสละตนเองและทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ (ม.1249)
2. ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป (
ม.1250)
3. ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่ เป็นวันอดเนื้อหรืออดอาหารอื่นตามข้อกำหนดของสภาพ
ระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร (ม.1251)
4. คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องอดเนื้อ และคริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้
งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร
เป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลและบิดามารดาที่จะต้องอบรมผู้น้อยที่ยังไม่ต้องถือกฎการอดเนื้อและอดอาหารให้เข้าใจจิตตารมณ์ของการพลีกรรม (
ม.1252)
สำหรับประเทศไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 1253 ของกฎหมายพระศาสนจักร สภาพระสังฆราชฯ จึงกำหนดวิธีการอดเนื้อและอดอาหารดัง
ต่อไปนี้
การอดเนื้อ
ผู้ที่ได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามกำหนดนี้ ถือว่าได้ถือตามกฎการอดเนื้อ คือ
ก.อดเนื้อ ข.ปฏิบัติกิจศรัทธานอกเหนือไปจากที่เคยปฏิบัติ อาทิ เดินรูป 14 ภาค เฝ้าศีลมหาสนิท สวดสายประคำฯลฯ
ค.ปฏิบัติกิจเมตตาปรานี เช่น ให้ทานคนจน เยี่ยมคนเจ็บป่วย ฯลฯ ง.งดเว้นอาหารหรือสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ อาทิ งดดื่มสุราและเบียร์ งดสูบบุหรี่
จ.รู้จักอดออมและละเว้นความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ
การอดอาหาร หมายถึง การรับประทานอาหารอิ่มเพียงมื้อเดียว
พระเจ้าตรัสว่า :
การถืออดอาหารอย่างที่เราต้องการเป็นดังนี้ แก้โซ่ที่ล่ามคนที่เจ้ากดขี่เสียเถิดและเลิกทำสิ่งที่ไม่ยุติธรรม ปล่อยคนที่เจ้ากดขี่ข่มเหงไ
ปเสีย แบ่งปันอาหารให้ผู้ที่หิวโหย เปิดประตูรับคนยากจนไร้ที่อยู่อาศัย ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่ไม่มีใส่ อย่าละเลยต่อการช่วยเหลือญาติพี่น้องของเจ้า (อสย.58 : 6 7)
|