หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

          พระพันธกิจของพระคริสต์   พระผู้ไถ่ ซึ่งได้หมอบหมายให้แก่พระศาสนจักร  ยังห่างไกลนักจากการบรรลุความสำเร็จ... อันบ่งบอกถึงความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องเร่งทำงานแพร่ธรรม... ความกระตือรือร้นในการแพร่ธรรม จึงเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติอย่างชิดสนิทในชีวิตของคริสตชน ...ฆราวาสได้ผูกพันตนเข้ามาช่วยในงานแพร่พระวรสาร ... ทำให้เกิดสำนึกใหม่อันมั่นคงว่างานแพร่ธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคริสตชนทุกคน  ทุกสังฆมณฑล ทุกวัด ทุกสถาบัน  และทุกหน่วยงานของพระศาสนจักร (RM 1)

          ดูเหมือนพันธกิจอันเฉพาะเจาะจงและ “มุ่งสู่นานาชาติ” (ad gentes) อันหมายถึงงานธรรมทูตของพระศาสนจักรนั้น จะมีความขยันขันน้อยลง.. อ่อนเปลี้ยลง...นี่เป็นเหตุการณ์ซึ่งควรจะต้องก่อความกระวนกระวายใจให้เกิดแก่ทุกผู้ทุกคนที่เชื่อในพระคริสต์...พลังรุดห น้าในการแพร่ธรรมได้เป็นเครื่องหมายแห่งความมีชีวิตชีวาของพระศาสนจักรเสมอมา ทำนองเดียวกับที่ความอ่อนเปลี้ยก็คือเครื่องหมายแห่งวิกฤติการณ์ทางความเชื่อ  (RM 1)

          ความเชื่อย่อมมั่นคงขึ้น เมื่อเราให้ความเชื่อออกไป...งานธรรมทูตนั้นมีจุดมุ่ง หมายแต่เพียงอย่างเดียว คือรับใช้เพื่อนมนุษย์ เพราะเป็นการนำพระเยซูคริสต์ไปให้กับเพื่อนพี่น้อง พระองค์จะบันดาลให้พวกเขาได้รู้จักตนเองอย่างเต็มที่ ได้รู้จักศักดิ์ศรีของตน และรู้ความหมายของการดำรงชีวิตในโลก

          พระเป็นเจ้าทรงเปิดขอบฟ้ามนุษยชาติให้พระศาสนจักรได้เห็น ในลักษณะพร้อม กว่าเดิมที่จะรับการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพระวรสาร  ข้าพเจ้าประมาณว่าถึงเวลาแล้วที่จะรวมพลังทั้งหมดของพระศาสนจักรในการแพร่พระวรสารครั้งใหม่นี้และในการปฏิบัติพันธกิจการแพร่ธรรมสู่นานาชาติ (ad gentes) ไม่ม ีใครสักคนเดียวที่เชื่อในพระคริสต์ หรือสถาบันใดของพระศาสนจักรที่จะสามารถถอนตัวออกไปได้จากหน้าที่อันสูงส่งนี้  คือ การประกาศพระคริสต์แก่ประชากรทั้งมวล

          คริสตชนทุกคน ในฐานะสมาชิกของพระศาสนจักร  โดยอาศัยศีลล้างบาป จะต้องร่วมรับผิดชอบในงานแพร่ธรรม...ความร่วมมือในงา นแพร่ธรรมนี้   ก่อนอื่นหมดจะต้องอยู่ที่การมีชีวิตที่ชิดสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์เป็นการส่วนตัว  เช่นเดียวกับที่กิ่งองุ่นติดอยู่กับ ลำต้นองุ่น (เทียบ ยน 15: 5) เพราะจะเป็นการเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับตัวเอง  อันจะช่วยให้งานแพร่ธรรมของพระศาสนจักรบังเกิดผลอันอุดม

          การมีส่วนร่วมในงานแพร่ธรรม จะต้องเป็นเครื่องหมายแห่งวุฒิภาวะในความเชื่อและในชีวิตคริสตชน โดยขยายมิติแห่งเมตตาธรรมข องตนออกไปอย่างกว้างขวาง  แสดงความกังวลห่วงใยต่อผู้ที่อยู่ไกลจะภาวนาเพื่อมิสซังต่างๆและเพื่อกระแสเรียกของธรรมทูต จะติดตามกิจกรรมของธรรมทูตด้วยความสนใจ

          ในบรรดารูปแบบต่างๆของความร่วมมือในงานแพร่ธรรม  คือความร่วมมือฝ่ายจิต อันได้แก่การภาวนา  การทำพลีกรรม  การเป็นประจั กษ์พยานของชีวิตคริสตชน... นักบุญเปาโลเองมักจะขอให้สัตบุรุษของท่านภาวนาเพื่อท่านเสมอ เพื่อว่าท่านจะได้ประกาศพระวรสารด้วยความอาจหาญและมั่นอกมั่นใจ

          นอกจากการภาวนาแล้วยังจะต้องผนวกเอาการพลีกรรมเข้ามาไว้ด้วย  เพราะคุณค่าในการช่วยให้รอดของการทนทุกข์ทรมานทุกชนิด ท ี่ยอมรับและถวายแด่พระเจ้าด้วยความรักนั้น หลั่งไหลมาจากพลีกรรมของพระคริสต์ ผู้ทรงเรียกร้องสมาชิกทุกคนแห่งพระรหัสกายของ พระองค์  ให้เข้ามาร่วมในมหาทรมานของพระองค์ และรับทนจนสำเร็จในร่างกายของพวกเขา (เทียบ คส 1: 24) การเสียสละของบรรดาธรร มทูตจักต้องได้รับการแบ่งปันและค้ำจุนโดยการเสียสละและการพลีกรรมของสัตบุรุษ...ผู้ป่วยเองสามารถเป็นธรรมทูตได้โดยถวายความทุกข์ทรมานนั้นแด่พระเป็นเจ้าเพื่อธรรมทูตทั้งหลาย

          ความร่วมมือในงานแพร่ธรรมยังแสดงออกได้  ในการส่งเสริมกระแสเรียกให้เข้ามาเป็นธรรมทูต  เพราะการประกาศพระวรสารต้องการผ ู้ประกาศ   การเก็บเกี่ยวต้องการคนงาน งานแพร่พระวรสารนั้น  ส่วนใหญ่กระทำโดยชายและหญิงที่อุทิศตนตลอดชีพให้แก่กิจการของพ ระวรสาร  ด้วยความพร้อมที่จะเดินทางไปทั่วโลก  เพื่อนำความรอดไปเผยแพร่...  การมีธรรมทูต  พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง  ครูคำสอนเพ ิ่มย่อมเป็นเครื่องหมายที่แน่นอนแห่งพลังวังชาของพระศาสนจักร... การปลูกฝังกระแสเรียกให้เข้ามาเป็นธรรมทูต ควรจะต้องเริ่มตั้งแ ต่ในครอบครัวกับบรรดาลูกๆของตน  ด้วยการมีชีวิตภาวนาที่เข้มข้น การรับใช้เพื่อนมนุษย์  และการมีส่วนร่วมด้วยใจกว้างในกิจกรรมของ พระศาสนจักร  ซึ่งจะช่วยสร้างภาวะอันเอื้ออำนวยให้เกิดกระแสเรียกขึ้นในใจของเด็กและเยาวชนภายในครอบครัว  พ่อแม่จะมีความชื่นชมยินดี ในวันที่บุตรชายหรือบุตรสาวของเขาได้ยินเสียงเรียกของพระเจ้า

          “การให้ทำให้เกิดสุขมากกว่าการรับ” (กจ 20: 35) ความต้องการด้านวัตถุและเศรษฐกิจของมิสซังต่างๆนั้นมีมากมาย มิเพียงเพื่อก่อตั้งรากฐานของพระศาสนจักร  เช่น วัด โรงเรียน   การฝึกอบรมครูคำสอนและสามเณรเท่านั้น แต่ยังเพื่อค้ำจุนกิจการเมตตาธรรม  การศึกษาและการส่งเสริมมนุษยธรรมอีกด้วย... การเสียสละและการมีส่วนร่วมของบรรดาฆราวาสเป็นสิ่งที่ขา ดเสียมิได้เพื่อเสริมสร้างพระศาสนจักร และแสดงให้เห็นประจักษ์ถึงความรักเมตตาธรรมของพวกเขาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

           “รูปแบบใหม่ของความร่วมมือกันในงานแพร่ธรรม”... ในศตวรรษแรกๆ คริสตศาสนาแผ่กระจายออกไป  ส่วนใหญ่ก็เพราะคริสตชนซึ่งเดินทางหรือไปตั้งหลักฐานอยู่ในดินแดนซึ่งพระ คริสต์ยังไม่ได้รับการประกาศ ได้สำแดงความเชื่อของตนให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยความกล้าหาญ และได้ก่อตั้งชุมชนชาวคริสต์ในยุคแรกๆขึ้นมา...  จึงเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เมื่อคริสตชนฆราวา สจะไปทำงานหรือตั้งหลักฐานในที่ที่คริสตศาสนายังไม่เป็นที่รู้จักเพราะจะเป็นโอกาสให้พวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ชีวิตอยู่ในความเชื่อ และเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อนั้นอันจะเป็นเมล็ดพันธ์ในการก่อตั้งชุมชนชาวคริสต์ขึ้น เช่นเดี ยวกับยุคแรกๆของคริสตศาสนา

          “การสร้างชีวิตชีวาและการฝึกอบรมธรรมทูตในหมู่ประชากรของพระเจ้า”...พระศาสนจักรท้องถิ่นจะต้องปลุกเร้าเรื่องความร่วมมือกั นในงานแพร่ธรรมในหมู่สัตบุรุษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาเยาวชน โดยอาศัยสิ่งพิมพ์  อุปกรณ์โสตทัศนะต่างๆ  ฯลฯ   พระศาสนจักรท้ องถิ่นต้องใส่ใจในการฝึกอบรมธรรมทูต   อบรมเรื่องกิจการแพร่ธรรมทั่วสากลโลกของพระศาสนจักร เรื่องศาสนสัมพันธ์   เรื่องของศาสนาที่สำคัญๆ   และธรรมทูตวิทยา (missiology)

          เราจะมีดวงจิตสงบนิ่งไปไม่ได้ เมื่อนึกถึงพี่น้องชายหญิงของเราอีกเป็นล้านๆคน   ซึ่งได้รับการไถ่โทษแล้วเช่นกัน ด้วยพระโลหิตขอ งพระคริสต์แต่ยังมีชีวิตอยู่ในความไม่รู้ถึงความรักของพระเจ้า  สำหรับคริสตชนแต่ละคน  เช่นเดียวกับสำหรับพระศาสนจักรทั้งมวลภาระห น้าที่ในการแพร่ธรรมจักต้องมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเกี่ยวกับชะตานิรันดรของมนุษย์  และเป็นการสนอบตอบอย่างสอดคล้องกับแผนการอันลึกล้ำ   และเปี่ยมด้วยเมตตาของพระเป็นเจ้า

          งานแพร่ธรรมเรียกร้องให้ธรรมทูตให้มีชีวิตภายในในแบบเฉพาะเจาะจง คือ
                 1.ยอมตนให้พระจิตทรงนำไป
                 2.ดำเนินชีวิตตามธรรมล้ำลึกแห่งพระคริสต์ “ผู้ถูกส่งมา”
                 3.รักพระศาสนจักรและเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าทรงรักพวกเขา
                 4.ธรรมทูตที่แท้จริงคือ “นักบุญผู้ศักดิ์สิทธิ์”

          การแพร่ธรรมของคริสตชนเป็นสิ่งที่อยู่ในแผนการของพระเป็นเจ้าผู้ทรงเป็น “แหล่งกำเนิดของความรัก” ที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยมน ุษย์ที่ตกในบาป ในบริบทของแผนการนี้  พระเป็นเจ้าทรงค่อยๆ เผยแสดงพระองค์  ที่มีความหมายสูงสูด  และเป็นเป้าหมายของชีวิตมนุษย์  “ความปรารถนาในพระเป็นเจ้า จารึกอยู่ในหัวใจของมนุษย์ เพราะมนุษย์ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยพระเป็นเจ้าและเพื่อพระเป็นเจ้า พร ะองค์ไม่ทรงหยุดยั้งที่จะดึงดูดมนุษย์เข้ามาหาพระองค์  และในพระเป็นเจ้าเท่านั้นที่มนุษย์จะได้พบความจริง  และความสุข ซึ่งมนุษย์แสวง หาอยู่ไม่หยุดหย่อน” (CCC 27)  การเลือกของอับราฮัมเหมาะสำหรับรวบรวมมนุษย์ที่กระจัดกระจายไป   และทำให้พวกเขาเป็น “บิดาแห่งมนุษยชาติ”   โดยทางท่านบรรดาประชาชาติในแผ่น ดินนี้จะได้รับพระพร  ซึ่งเป็นขั้นตอนอันแน่วแน่ของแผนการช่วยโลกให้รอดพ้นของพระเป็นเจ้า “แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้  พระเป็นเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงผ ู้หนึ่ง...เพื่อทรงไถ่...” (กท 4: 4-5)  พระเป็นเจ้าทรงกระทำให้พระสัญญาที่พระองค์ทรงกร ะทำกับอับราฮัมและลูกหลานของท่านสมบูรณ์โดยการส่งพระเยซูคริสตเจ้าลงมา  ดังนั้น ในใจกลางของงานแพร่ธรรมเราจะพบแก่นแท้ในบุคลิกลักษณะในพระบุคคลของพระเยซูเจ้าชาวนาซ าเร็ธ  พระบุตรแต่องค์เดียวของพระบิดา ผู้ทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์เพื่อเรา   พระองค์ผู้ทรงกลับคือพระชนมชีพและสถิตกับเราตลอดไป ประวัติศาสตร์นี้เป็นตัวกำหนดงานแพร่ธรร มของคริสตชน  เพราะพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพพระวจนาถของพระบิดา  “ทรงรับธรร มชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ในหมู่เรา...ทรงเปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง”(ยน1:14) ทรงถูกส่งมาเพราะ ”พระเป็นเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก” (ยน 3:16) พระเยซูคริสตเจ้า “แสงสว่างส่องโลก” (ยน 8:12,ลก 2:32) ทรงเป็นผู้ก่อตั้งงานแพร่ธรรมของคริสตชน การเป็นประจักษ์พยานของพระเยซูคริสตเจ้า และ การประกาศพระองค์เป็นพระผู้กู้แต่พระองค์เดียวและเป็นสากล  เป็นรูปแบบต่างๆของเนื้อหางานแพร่ธรรมของคริสตชน  จุดมุ่งหมายของกา รประกาศจะต้องเป็นพระคริสตเจ้าเสมอไป  ผู้ทรงกระทำให้เราเป็นอิสระจากความชั่ว บาป  และความตายได้อย่างสมบูรณ์ถาวร และโดยท างพระองค์พระเป็นเจ้าเองได้ทรงสื่อสารกับเรา นี่คือข่าวดีที่มนุษย์ทุกคนในโลกมีสิทธิที่จะได้รับฟังและได้รู้ ในพระสมณสาร หลังการประชุมสมัชชา “พระศาสนจักรในเอเชีย” สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2  ได้แสดงพระเยซูคริสตเจ้าแก่ประชาชนชาวเอเชียว่าเป็นบุคคลผู้ซึ่ง “เสด็จมาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์” (ยน 10:10) พระผู้ไถ่กู้โลกทรงบังเกิดในเอเชีย  การประกาศพระองค์ในเอเ ชีย  จึงต้องถือว่าเป็นพระพรแก่ชาวเอเชีย  เพื่อจะกระทำให้การเผยแสดงของพระเป็นเจ้าในองค์พระเยซูคริสตเจ้าสมบูรณ์  ไม่ใช่การคัด ค้านความปรารถนาลึกๆที่อยู่ในมนุษย์ แต่การเผยแสดงนี้ ทำให้พอใจเกินความคาดหมายของหัวใจมนุษย์ที่หิวและกระหายพระเป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้ทุกๆ เหตุผลของการประกาศพระเยซูคริสตเจ้าต้องไม่ใช่การบังคับ  แต่เป็นข้อเสนอให้สำหรับชาวเอเชีย  เพราะสิ่งนี้จะเกิดผลได้ถ้าได้รับการยอมรับอย่างอิสระและโอบรับไว้ด้วยความรักเท่านั้น

          การประกาศพระวรสารจึงต้องมีการไตร่ตรองอย่างจริงจัง  ให้เข้าใจอย่างดีถึงธรรมชาติของต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทาง  คือประ กาศชีวิตของเยซูคริสตเจ้า   ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว  การถ่ายทอดสารแห่งพระวรสาร/การประกาศข่าวดี เป็นหน้าที่ของพระศาสนจักร  ซึ่งเ ป็นหน้าที่ของทุกสังฆมณฑลและของทุกคนที่รับศีลล้างบาป  หน้าที่นี้จะดำเนินไปได้ด้วยดีจะต้องมีการอภิบาลผู้แพร่ธรรม มีลมหายใจที่ มีชีวิต  เพื่อทำให้งานแพร่ธรรมเป็นความจริงที่สมบูรณ์ตามคำสอนและคำสั่งของพระเยซูคริสตเจ้า ลมหายใจที่เป็นจิตวิญญาณของงานแพร่ธรรมคือ ชีวิตฝ่ายจิตของผู้แพร่ธรรม

           ชีวิตฝ่ายจิตของผู้แพร่ธรรมประการแรกคือ : การกลับใจและความสุภาพถ่อมตน  เป็นรูปแบบของความมั่นใจทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต  เป็นความก้าวหน้าของการออกจากตนเองเพื่อเข้าสู่หนทางที่วกวน และอุปสรรคมากมายได้มากยิ่งขึ้น ในแบบอย่างของพระเยซูช่างไม้ผู้เป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้า ในพระสมณสาร “พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่” ได้กล่าวถึงชีวิตฝ่ายจิตของผู้แพร่ธรรมที่เรียกร้องให้ผู้แพร่ธร รมได้ตระหนักถึงการเป็นผู้แพร่ธรรมที่แสดงออกถึงคุณลักษณะของชีวิตที่มีความครบครัน  และความน่าเชื่อถือ (เทียบ RM 11,49,90)   จึ งอาจกล่าวได้ว่าพระสมณสารฉบับนี้ทั้งฉบับได้เรียกร้องให้ผู้แพร่ธรรมมีชีวิตฝ่ายจิตที่เข้มข้น  เพราะมีผลต่อความเป็นไปได้และความน่าเ ชื่อถือของงานแพร่ธรรม  งานการแพร่ธรรมเป็นปัญหาเรื่องความเชื่อ  งานแพร่ธรรมเป็นการแสดงออกถึงความเชื่อของเราในความรักต่อพระคริสตเจ้า ด้วยความสุภาพถ่อมตน “พันธกิจการแพร่ธรรมเป็นปัญหาเรื่องความเชื่อ  เป็นมาตรการวัดความเชื่อของเราในพระเยซูคริสตเจ้าและในความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเราอย่างแน่นอน” (RM11)

          ในพระสมณกฤษฎีกา  Ad Gentes  ได้กล่าวถึงชีวิตฝ่ายจิตของผู้แพร่ธรรมไว้ว่า   “ผู้แพร่ธรรมจะเข้าไปในชีวิตและภารกิจของพระผู้ที่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น  ทรงรับสภาพดุจทาส” เพราะฉะนั้น เขาต้องพร้อมที่จะยึดมั่นในกระแสเรียกของเขาตลอดชีวิต  ต้องพ ร้อมที่จะสละทิ้งตนเองและทุกสิ่งที่เขามีจนถึงเวลานั้น   “ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” ...เจริญชีวิตตามพระวรสารอย่างแท้จริง มีความเพียรอดทน ความหนักแน่นมั่นคง ความอ่อนโยนและความรักที่จริงใจ   เขาก็เป็นประจักษ์พยานประกาศพระคริสตเจ้า และถ้าจำเป็ นก็ประกาศจนถึงกับยอมหลั่งโลหิต   เขาจะได้รับความกล้าหาญและกำลังจากพระเป็นเจ้าเพื่อรู้ว่า   ในการสู้ทนความทุกข์ยากลำบากมากม าย   และความยากจนอย่างแสนสาหัสนั้น  มีความชื่นชมอยู่อย่างล้นเหลือ(AG 24) ถือความซื่อสัตย์ต่อพระองค์ ถือความยากจนและคว ามไม่มีใจผูกพันกับโลก  ไม่แสดงความสะทกสะท้านต่ออำนาจของโลกนี้  พูดสั้นๆ แต่คำเดียวคือ  ถือความศักดิ์สิทธิ์

           ผู้แพร่ธรรมต้องเน้นย้ำทุกวิธีปฏิบัติของชีวิตฝ่ายจิตคริสตชน “เพราะเขาทำหน้าที่เป็นทูตของพระองค์” (AG 24) จิตตารมณ์การเป็น ผู้แพร่ธรรมจึงต้องอยู่ในทุกๆกระแสเรียกของคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช นักพรต หรือฆราวาส  “พระสงฆ์ทุกองค์จะต้องมีจิ ตใจและความรู้สึกนึกคิดเป็นผู้แพร่ธรรม เปิดใจออก พร้อมที่จะสนองความต้องการของพระศาสนจักร และของโลก” (RM 67) “พระศาสนจ ักรจะต้องให้คนได้รู้ถึงคุณค่าอันใหญ่หลวงของพระวรสาร  ซึ่งพระศาสนจักรเป็นผู้เชิดชูอยู่ และไม่มีบุคคลใดจะสามารถเป็นประจักษ์พยานอย่างน่าเชื่อถือถึงคุณค่าเหล่านี้ได้  นอกจากผู้ที่ปฏิญาณตนจะดำเนินชีวิตตามคำปฏิญาณในการถือ ความบริสุทธิ์  ความยากจนและความนอบน้อมเชื่อฟัง โดยการถวายตนอย่างสิ้นเชิงแด่พระเป็นเจ้า  พร้อมที่จะรับใช้มนุษย์และสังคมตามแบบฉบับของพระคริสตเจ้า” (RM 69) “การมีส่วนร่วมของฆราวาสที่ได้รับเรียกให้มาร่วมในกิจกรรมแพร่ธรรม ความจำเป็นที่สัตบุรุษทุกคนจะต้องเข้ามาแบ่งปันความร ับผิดชอบ...เป็นสิทธิ์  และหน้าที่ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนศักดิ์ศรีซึ่งได้รับจากศีลล้างบาป  ด้วยเหตุนี้  สัตบุรุษฆราวาสย่อมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ของพระเยซูคริสตเจ้า... มีพันธะโดยทั่วไป และม ีสิทธิทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล  และในฐานะกลุ่มที่รวมกันเข้าเป็นสมาคม   ที่จะปฏิบัติงานให้สารของพระเป็นเจ้าเรื่องความรอดพ้น  ได้เป็นที่รู้จักและยอมรับของมนุษย์ทั้งปวงทั่วไปทั้งแผ่นดิน” (RM 71) กระแสเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ทั่วโลก มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับกระแสเรียกสู่การแพร่ธรรมทั่วโลก สัตบุรุษทุกคนได้รับเรียกให้เข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์และการแพร่ธรรม ”...ชีวิตภายในของธรรมทูตในพระศาสนจักรคือหนทางไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์” (RM 90) ในพระสมณสารพระพันธกิจพระผู้ไถ่นี้ยังได้ก ล่าวไว้อีกว่า  “ธรรมทูต  หากว่าเขาไม่ใช่ผู้พิศเพ่งภาวนาย่อมไม่สามารถประกาศพระคริสตเจ้าได้อย่างน่าเชื่อถือ  ธรรมทูตคือประจักษ์พยานถึงประสบการณ์เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า และจะต้องสามารถพู ดเช่นเดียวกับบรรดาอัครสาวกได้ว่า “เราประกาศเรื่องราวเกี่ยวกับพระวจนาถแห่งชีวิต... เราประกาศให้ท่านทั้งหลายรู้ด้วย” (RM 90)

         คริสตชนทั้งหลายในฐานะสมาชิกของพระศาสนจักรโดยอาศัยศีลล้างบาป   จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในกิจกรรมแพร่ธรรม   การมีส่วน ร่วมของชุมชน และสัตบุรุษในสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า “ความร่วมมือในการแพร่ธรรม” (AG 77)
             + ความร่วมมือกันระหว่างพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช นักพรต ฆราวาส
             + ด้วยการดำรงชีวิตชิดสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าเป็นส่วนตัว
             + มีชีวิตภายในที่มีความเชื่อลึกซึ้ง และมั่นคงในพระคริสตเจ้า
             + การแพร่ธรรมของแต่ละบุคคลเป็นมาตรการวัดความเชื่อของเขา
             + ผู้ที่บรรลุวุฒิภาวะในความเชื่อ และในชีวิตคริสตชน จะก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการแพร่ธรรม
                                                                                                                           (เทียบ RM 11, 77)

หน้าหลัก