ความศรัทธาภักดีต่อแม่พระมหาทุกข์ได้แพร่หลายในหมู่มวลสัตบุรุษก่อนที่จะนำมาใช้ในพิธีกรรมเสียอีก
โดยเฉพะอย่างยิ่งได้รับการเผยแพร่จากคณะนักบวชผู้รับใช้พระแม่มารีย์หรือ Serviti ตั้งแต่ปี 1238 โดยใช้พระรูป แม่พระมหาทุกข์กำลังยืนอยู่ที่เชิงกางเขนของพระเยซูเจ้า (Stabat Mater) เป็นศูนย์กลายแห่งความศรัทธาภักดีของสมาชิกต่อพระนางมารีย์
ในพระศาสนจักรตะวันตก มีการรำลึกถึงมหาทุกข์ของแม่พระปีละ 2 ครั้งด้วยกัน คือในวันศุกร์ของอาทิตย์พระมหาทรมาน(อาทิตย์ก่อนอาทิตย์ศักดิ์สิทธิ์)ครั้งหนึ่งและในวันที่ 15 กันยายนอีกครั้งหนึ่ง การรำลึกถึงแ
ม่พระมหาทุกข์ในวันศุกร์ของอาทิตย์พระทรมานนั้น เป็นวันฉลองที่เก่าแก่กว่า และทำการฉลองกันที่เมืองโคโลญน์ ประเทศเยอรมันนีในปี 1413 และต่อมาก็ที่เมืองอื่นๆในทวีปยุโรปในปลายศตวรรษที่ 15
ในสมัยกลางโดยเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 มีความศรัทธาภักดีอีกอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างแพร่หลายต่อแม่พระมหาปีติ ๕ ประการของพระนางพรหมจารีมารีย์ ต่อมาจาก 5 ประการ ก็เพิ่มเป็น 7 เป็น 9 และเป็น 15 ประกา
ร แต่ว่าที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็เป็น 7 ประการ
มหาทุกข์ของแม่พระที่รำลึกถึงนี้ ก็จะเป็นพระมหาทรมานของพระบุตรของพระนาง และเมื่อวันฉลองนี้ได้แพร่ขยายไปสู่พระศาสนจักรตะวันตกทั้งหมดในปี 1727 ภายใต้ชื่อเรียกว่า แม่พระมหาทุกข์ ๗ ประการ
การฉลองแม่พระมหาทุกข์นี้ชวนเราให้รำพึงถึงความทุกข์เจ็บปวดรวดร้าวของพระมารดาของพระบุตรพระเจ้า 7 ประการด้วยกันที่มีพู
ดถึงในพระวรสาร เป็นพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ในปี 1814 ที่ได้นำการฉลองแม่พระมหาทุกข์เข้ามาในพิธีกรรมของพระศาสนจักรสากล เพื่อเป็นการรำลึกถึงความทุกข์ยากลำบากที่จักรพรรดินโปเลียนได้ทำต่อพระศาสนจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้ทำต่อองค์ประมุขของพระศาสนจักร
การมีส่วนร่วมในความทุกข์ยากลำบากที่พระมารดาของพระผู้ไถ่ได้มีร่วมกับพระบุตรของพระนางในงานช่วยมนุษย์ให้รอดนั้น(ลก2:33-35)โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์พยานในชั่วโมงที่พระองค์ถูกตรึงที่ไม้กางเขน ตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น
ซึ่งได้รับพระนางมาเป็นมารดาของตนและของมนุษยชาติ (ยน 19:25-27)
ในปัจจุบัน การฉลองหรือการระลึกถึงแม่พระมหาทุกข์นี้เรามุ่งมาที่ตัวพระนางเองพระมารดาผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความทุกข์ และยัญบูชาของพระคริสตเจ้าซึ่งพระนางเองได้ถวายแด่พระบิดาพร้อมๆกับพระบุตรของพระนาง และเป็นอิริยาบถอันนี้เองที่ได้แสดงออกมาในรูปของศิลปะที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลก คือ รูป Pieta โดยฝีมือของจิตกรเอกของโลก ไมเคิ้ล แองเจลโล
อันแสดงให้เห็นถึง การเป็นมรณสักขี ที่อยู่ข้างในจิตใจของพระมารดาขอ
งพระผู้ถูกตรึงที่ไม้กางเขน
การระลึกถึงแม่พระมหาทุกข์ เชิญชวนเราให้ไตร่ตรองถึงความทุกข์แสนสาหัสของพระนางมารีย์ 7 ปร
ะการ ที่มีกล่าวไว้ในพระวรสาร สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ทรงนำการฉลองแม่พระระทมทุกข์เข้ามาในพิธีกรรมของพระศาสนจักร เพื่อเป็นการระลึกถึงความทุกข์ยากที่พระศาสนจักรได้รับจากการกระทำของจักรพรรด
ิ์นโปเลียน และโดยเฉพาะที่ได้กระทำต่อพระประมุขของพระศาสนจักร
ความทุกข์ยากเป็นของมนุษย์ทุกคนที่มีชีวิตบนโลกใบนี้ ทุกคนต้องเผชิญกับการถูกประจญของปีศา
จและความยากลำบากในชีวิต แต่พระองค์ทรงประทานพระหรรษทานให้กับทุกคนอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถสู้ทนกับความทุกข์ยากนั้น พระนางมารีย์ก็เช่นกัน พระนางทรงได้รับความทุกข์โศกในชีวิต และความทุกข์โศก 7 ประการของพระนางที่เ
ราควรรำพึงไตร่ตรองคือ
1.คำพยากรณ์ของท่านซีเมโอน
ในพระวิหาร ท่านผู้เฒ่าซีเมโอน รับพระกุมารมาอุ้มไว้ กล่าวพยากรณ์ว่ากุมารนี้จะเป็นสัญลักษณ์แห่งการขัดแย้ง กุมารนี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากในอิสราเอลต้องล้มลง หรือลุกขึ้น และเป็นเครื่องหมายแห่งการต่อต้าน เพื่อความในใจของคนจำนวนมากจะถูกเปิดเผย ส่
วนท่าน ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน (ลก 2: 34-35)
2.พาพระกุมารหนีไปประเทศอียิปต์
ดาบเล่มที่ 2 ที่ทิ่มแทงดวงหทัยของพระนางมารีย์คือ การที่ต้องพาพระกุมารเยซูหนีไปประเทศอียิปต์ เพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือขอ
งกษัตริย์เฮโรดซึ่งรอคอยด้วยความกระวนกระวาย เมื่อทราบข่าวจากโหราจารย์ทั้งสามว่าพระเยซูเจ้าทรงบังเกิดที่ไหน จะได้ตามไปเพื่อปร
ะหารชีวิต แต่เมื่อทราบว่าตนถูกหลอกจึงสั่งให้ฆ่าทารกทุกคนในเมืองเบธเลเฮม แต่ทูตสวรรค์มาเข้าฝันโยเซฟ กล่าวว่า ลุกขึ้น พาพระกุมารและพระมารดาหนีไปประเทศอียิปต์ (มธ 2:13)
3.พระเยซูเจ้าทรงหายไปในพระวิหาร
เป็นภาพที่รันทดใจอย่างมาก ที่พระนางมารีย์ต้องปวดร้าวใจตามหาพระเยซูเจ้าตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอ
ดเวลา 3 วัน พระนางอาจจะรับประทานอาหารพร้อมกับน้ำตา เหมือนดังที่กษัตริย์ดาวิดคร่ำครวญถึงบุตรของตนที่หายไป ข้าพเจ้ากินน้ำตาต่างอาหารทั้งวันทั้งคืน ตลอดวันใครๆก็ถามข้าพเจ้าว่า พระเจ้าของเจ้าอยู่ที่ไหน (สดด 42: 3)
4.พระเยซูเจ้าทรงพบพระมารดา
ประกาศกอิสยาห์กล่าวถึงการมองเห็นพระเยซูเจ้าในสายตามนุษย์แล้วน่าสงสารว่า ทุกคนดูถูกเหยียดหยามเขา เขาเป็นคนที่ต้องทนทุกข์และต้องเจ็บปวด เป็นเสมือนคนที่ใครๆเบือนหน้าหนี เขาถูกสบประมาท ไม่มีผู้ใดสนใจเลย (อสย 53: 2) นี่แหละพระบุตรสุดที่รักของพระนางมารีย์ ที่พระนางไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร พระนางคงปรารถนาจะเข้าไปกอดพระบุตร แต่ทหารคงผลักรุ
นพระเยซูเจ้าไปข้างหน้า พลางสบประมาทและเยาะเย้ยพระนางด้วย แต่พระนางยังคงติดตามพระบุตรไป
5.พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์
พระนางมารีย์เฝ้าดูพระบุตรที่ถูกปรับโทษให้ประหารชีวิต ทั้งๆที่พระบุตรเป็นผู้บริสุทธิ์ พระบุตรที่พระนางรักสุดหัวใจ แต่กลับถูกทร
มานอย่างโหดร้ายและตายเยี่ยงโจรต่อหน้าพระนาง พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์ (ยน 19:25) พระนางมารีย์ทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขน เฝ้าดูพระบุตรถูกทรมาน กำลังจะสิ้นใจ เขาถอดเสื้อผ้าของพระองค์ออก จับนอนลงบนไม้กางเขน ตอกตะ
ปูที่มือและเท้าอย่างทารุณ ยกไม้กางเขนตั้งขึ้น แล้วปล่อยให้พระองค์สิ้นพระชนม์ บรรดาเพชฌฆาตหนีไป แต่พระมารดามิได้จากไป พระนางยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์ดังที่มีผู้กล่าวว่า ผู้ที่เห็นแม่พระยืนนิ่งเงียบโดยไม่บ่นอะไรแทบเชิงกางเขน คงจะตกใจเพราะพระนาง
อดทนจริงๆ ริมฝีปากพระนางเงียบ แต่ใจของพระนางไม่เงียบ พระนางถวายพระบุตรเพื่อความรอดพ้นของเรา ดังนั้นที่เชิงกางเขน แม่พระจึงเป็นมารดาของเราและเราเป็นลูกๆ ของพระนาง พระเยซูเจ้าตรัสแก่พระมารดาว่า แม่ นี่คือลูกของแม่ นี่คือแม่ของท่าน (ยน 19:26-27)
6.แทงสีข้างของพระเยซูเจ้าและนำพระศพลงจากกางเขน
จิตใจของพระมารดาไม่สามารถรับความบรรเทาได้ เพราะพระเยซูเจ้าได้สิ้นพระชนม์แล้ว แม้
ว่าพระบุตรจะสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังถูกหอกแทงที่สีข้างด้วยความโหดร้าย ทหารคนหนึ่งใช้หอกแทงด้านข้างพระวรกายของพระองค์ (ยน 19:34) แม้พระเยซูเจ้าจะสิ้นพระชนม์แล้ว แต่พระนางยังต้องแบมือรับพระศพลงจากกางเขน ดาบเล่มที่หก ที่ทิ่มแทงดวงหทัยของพระนางมารีย์ พระนางต้องทรมา
นทีละอย่างๆ และบัดนี้ทุกอย่างถูกนำมารวมกัน เป็นการทรมานพระนางมากขึ้นเป็นทวีคูณ พระนางยังคงยอมรับความทุกข์ทรมาน ซึ่งดูเหมือนว่าความทุกข์นี้ก็ยังคงอยู่เรื่อยไป เพราะมนุษย์ยังคงทำบาป
ขอให้เรากลับใจเสียใหม่ ดังที่ประกาศกอิสยาห์กล่าวว่า จงกลับใจเสียใหม่เถิด (อสย 46:8)
7.ฝังพระศพพระเยซูเจ้า
พระนางมารีย์ผู้ระทมทุกข์กำลังอ้าแขนออกรับร่างของพระบุตรที่ปราศจากชีวิต ด้วยความโศกเศร้าสุดแสน พระแม่คงจะกล่าวเช่นเดี
ยวกับโยบว่า พระองค์กลับทรงดุร้ายต่อข้าพเจ้า ทรงข่มเหงข้าพเจ้าด้วยพระหัตถ์ทรงฤทธิ์ (โยบ 30:21) พระบุตรยังคงอยู่ในอ้อมแขนพร
ะแม่ บรรดาศิษย์กลัวแม่พระจะสิ้นใจด้วยความทุกข์ จึงรับพระศพไปจากพระนางเพื่อทำพิธีฝัง...เวลาที่ต้องปลงพระศพ พระนางจะปวดร้าวใ
จเพียงใด ที่ต้องกล่าวอำลาเป็นครั้งสุดท้าย แน่นอนว่า จะต้องเป็นภาพที่เศร้าสลดและปวดร้าวใจพระนางสุดพรรณนา แม่พระบอกกับนักบุญ บริยิตว่า บุตรของฉันถูกฝัง แต่มีดวงใจสองดวง ที่ฝังอยู่ที่นั่น ที่สุด พวกเขาก็ปิดที่ฝังพระศพของพระเยซูเจ้า พระกายนั้นมีค่ามากที่สุดทั้งบนแผ่นดินและในสวรรค์ แม่พระทรงทิ้งดวงใจของพระนางไว้กับพระบุตร เพราะพระองค์มีค่ามากที่สุดในชีวิตของพระนาง เพราะทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่นด้วย (ลก 12:34)
แม่พระมหาปีติ 7 ประการ
1.ทูตสวรรค์เข้าแจ้งข่าวแก่พระนางมารีย์
2.พระเยซูเจ้าประสูติ
3.โหราจารย์มาเฝ้าพระกุมาร
4.พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ
5.พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์
6.พระจิตเจ้าเสด็จลงมายังอัครสาวกและพระนางมารีย์
7.พระนางมารีย์ได้รับมงกุฎในเมืองสวรรค์
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1.ให้เราพยายามรักษาความชิดสนิทสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า แม้ในขณะที่เรากำลังแบกกางเขนอยู่
2.ให้เราเรียนรู้จากพระมารดามารีย์ เพื่อให้รู้จักกระทำให้น้ำพระทัยของพระบิดาเจ้าได้สำเร็จไป
3.ในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ให้เราถวายตัวเราเองแด่พระบิดาเจ้าด้วยความรักตามประสาลูก
4.ข้าแต่พระแม่มารีย์ โปรดช่วยเสนอวิงวอนให้เราทุกคนได้รับความรอดนิรันดร์ในองค์พระคริสตเจ้า
|