คำว่า ปิตาจารย์ เป็นชื่อเรียกทางเทคนิคที่ใช้กับนักเขียนบางท่านของพระศาสนจักรในยุคต้นๆ
แนวความคิด
ในสมัยโบราณ ชื่อเรียกนี้ใช้กับครูผู้สอนซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้รังสรรค์บุคลิกภาพทางด้านจิตวิญญาณให้กับศิษย์ และปิตาจารย์ของพระธรรมใหม่คือครูผู้สอนความเป็นจริงในเรื่องของจิตวิญญาณ อันช่วยบันดาลให้จิตวิญญาณของศิษย์ ได้เกิดใหม่ในภาพลักษณ์ขององค์พระคริสต์(1คร 4: 14-15) ในศตวรรษแรกๆของคริสตศาสนา พระสังฆราชก็เป็นปิตาจารย์ในองค์พระคริสต์ เพราะ
ท่านเป็นผู้ที่ได้โปรดศีลล้างบาปให้กับฝูงแกะของท่านและเป็นหัวหน้าครูผู้สอนของพระศาสนจักรท้องถิ่นของท่าน จากปลายศตวรรษที่ 4 เป็นต้นไป ชื่อเรียกนี้ถูกนำไปใช้กับพระสังฆราชในอดีตในฐานะที่เป็นประจักษ์พย
านอันทรงอำนาจให้กับธรรมประเพณีของพระศาสนจักร
นักบุญออกัสติน
(354-430) ได้รวมเอานักเขียนที่มิได้เป็นพระสังฆราช เช่นนักบุญเยโรม(345-419/20) ให้เข้าไปอยู่ในหมู่ปิตาจารย์ เนื่องจากนักบุญเยโรมเป็นผู้คงแก่เรียนและได้เป็นประจักษ์พยานแห่งความจริงในเรื่องของบาปกำเนิด นักบุญวินเซนต์ แห่งเลแรงส์ (?-450) เป็นท่านแรกที่ได้พัฒนาเรื่องของ
ปิตาจารย์ โดยดำเนินตามรอยของนักบุญออกัสติน ได้กล่าวไว้ว่า ปิตาจารย์ คือบรรดาครูผู้สอนที่พระศาสนจั
กรได้ให้การรับรองในเรื่องของช่วงระยะเวลาและตำแหน่งที่ตั้ง ทั้งได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศาสนจักรคาทอลิกในเรื่องของความเชื่อและการปกครองในศตวรรษที่ 6 ได้มีกฤษฎีกาฉบับหนึ่งชื่อว่า กฤษฎีกาของเยลาเซียน ได้กล่าวถึงปิตาจารย์ว่า เป็นผู้ที่ไม่หลงออกนอกทางของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ไม่ออกนอกความเชื่อและคำสั่งสอนของ
พระศาสนจักร แต่โดยอาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า ท่านเหล่านั้นได้มีส่วนร่วมในสัมพันธภาพกับพระศาสนจักรจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
ความหมายของชื่อเรียกปิตาจารย์ในพระศาสนจักรคาทอลิก จึงได้มีวิวัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนมา จนกระทั่งสามารถให้คำนิยามว่าด
ังนี้ ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร คือบรรดานักเขียนของพระศาสนจักรในยุคสมัยแรกๆ เป็นผู้ที่โดดเด่นในเรื่องของข้อคำสอนอันเป็นที่ยอม
รับและในเรื่องของชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งได้รับการยอมรับจากพระศาสนจักรในเรื่องของการเป็นประจักษ์พยานให้กับความเชื่อ ...จากคำน
ิยามสั้นๆดังกล่าว เราจะแลเห็นว่ามีคุณสมบัติที่สำคัญๆ 4 ประการด้วยกันสำหรับผู้ที่จะเป็น ปิตาจารย์ของพระศาสนจักร
1.อยู่ในคริสตศตวรรษแรกๆของพระศาสนจักร ยุคสมัยของปิตาจารย์ โดยพิจารณาจากลักษณะวรรณกรรมของผลงานเขียนของ
นักเขียนของพระศาสนจักร โดยเริ่มจาก จดหมายถึงชาวโครินธ์ (ประมาณปี ค.ศ. 96) ของนักบุญเคลเมนท์ ที่ 1พระสันตะปาปาแห่งโรมหรือจากหนังสือ Didache (ปี ค.ศ. ใกล้เคียงกับพระวรสารทั้งสี่) แต่ว่าปัญหาท
ี่ยุ่งยากกว่าคือปัญหาของจุดสิ้นสุดของยุคปิตาจารย์ของพระศาสนจักร ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ก็ได้มีการแยกแยะยุคโบราณออกจากยุคกลาง โดยทั่วๆไป บรรดานักวิชาการคาทอลิกต่างก็ได้ยึดถือว่านักบุญยอห์น แห่งดามัสกัส (?750) เป็นปิตาจารย์องค์สุดท้ายของพระศาสนจักรตะวันออกและนักบุญอิสิโดร์ แห่งเซบียา (?636) เป็นปิตาจารย์องค์สุดท้ายของพระศาสนจักรตะวันตก
2.ความถูกต้องของคำสอนที่สอน
สำหรับความถูกต้องของคำสอนที่สอนนี้ควรจะต้องมีคุณสมบัติอยู่ 3 ระการด้วยกันคือ
2.1 ความเป็นเลิศของคำสอนที่ถูกต้อง มีลักษณะเป็นเทววิทยาและเป็นปิตาจารย์เป็นผู้แต่งและเรียบเรียงคำสอนนั้นๆ
2.2 คำสอนที่ถูกต้องของปิตาจารย์ ไม่จำเป็นต้องปลอดจากข้อผิดหลงทั้งหลายทั้งปวง เพราะบรรดาปิตาจารย์มิใช่เป็นประจัก
ษ์พยานโดยตรงของความเชื่อ แต่ผลงานเขียนส่วนใหญ่ของท่านนั้น จะมีลักษณะเป็นเทววิทยาที่พยายามจะเจาะเข้าไปให้ถึงการไขแสดงอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ ขอเพียงแต่ว่าคำสอนของท่านจะต้องไปกันได้กับของพระศาสนจักรสากล 2.3 ความเป็นเลิศที่เรียกร้องจากผลงานเขียนของปิตาจารย์ ก็คือจะต้องมีคุณสมบัติอย่างหาตัวจับยาก เช่นความเป็นตัวของตั
วเอง ความลึกซึ้งหรือความสมบูรณ์แบบ พลังหรือความชัดเจนหรือความยอดเยี่ยมของคำสอนนั้น\
คุณสมบัติต่างๆเหล่านี้ที่มีอยู่ในผลงานเขียนของบรรดาปิตาจารย์ ไม่จำเป็นต้องเอาไปเปรียบเทียบกับผลงานเขียนของบรรดานักบุ
ญที่เป็นปราชญ์หรือนักคิดคริสตชนในยุคต่อๆมา เพราะมีชีวิตอยู่ต่างยุคต่างสมัยกัน
3.ความศักดิ์สิทธิ์
ความศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาปิตาจารย์ มิได้หมายถึงว่าพวกท่านจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญจากพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการ และก็คงมิใช่เป็นผู้ที่บรรดาสัตบุรุษแสดงความคารวะต่อท่านเหมือนกับที่ได้ทำกับบรรดานักบุญในยุคต้นๆของพระศาสน
จักร ข้อเรียกร้องขั้นต่ำสุดสำหรับท่านเหล่านี้ ก็คือต้องมีคุณธรรมแบบคริสตชนทั่วๆไป มีความชิดสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกันในชีวิตของตนระหว่างคำสั่งสอนและชีวิตจริง ระหว่างความเชื่อและความประพฤติทางศีลธรรม
4.พระศาสนจักรให้การรับรอง
การรับรองของพระศาสนจักรต้องเป็นไปอย่างเป็นทางการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เช่น เมื่อสภาสังคายนาหรือพระสันตะปาปา หรือแม้กระทั่งเอกสาร Martyrology ได้ประกาศรับรองเป็นเกียรติยศให้กับผลงานเขียนและการดำเนินชีวิตของท่าน หรืออย่างมีนัยยะ เช่น เมื่อสภาสังคายนาหรือพระสันตะปาปา หรือแม้กระทั่งพิธีกรรมได้อ้างอิงผ
ลงานเขียนหรือชีวิตของท่าน ก็เหมือนกับให้การรับรองไปในตัว หรืออย่างเทียบเคียง/เทียบเท่าเสมอ(virtual) เช่นได้รับการสนับสนุนเห็นชอบจากหมู่สัตบุรษเป็นส่วนใหญ่
แม้จะเป็นที่ยอมรับว่าความคิดเกี่ยวกับเรื่องปิตาจารย์ ย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทววิทยาและสัจธรรม ถึงกับบางครั้งก็ยังเป็นที่โ
ต้แย้งกันอยู่ เช่นในกรณีของท่านโอรีเจน(Origen) ซึ่งก็ยังไม่มั่นใจในเรื่องของความถูกต้องของคำสอนของท่าน(Orthodoxy) หรือในกร
ณีของท่านแตร์ตุลเลียน(Tertullian) ซึ่งได้ละทิ้งพระศาสนาไป หรือในกรณีของเชลซุส(Celsus) และพอร์ฟิรี(Porphyry) ซึ่งเป็นคนต่างศาสนาและได้โจมตีข้อความเชื่อทางศาสนาอีกด้วย การที่เรื่องของปิตาจารย์ได้เปิดกว้างเช่นนี้ ก็เป็นเพราะว่าการค้นคว้าเรื่องของปิตาจาร
ย์จะได้บังเกิดผลอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น มากกว่าที่จะไปจำกัดวงอยู่เฉพาะที่ผลงานเขียนซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจ
ากพระศาสนจักร หรือเฉพาะคำสั่งสอนและการตีความพระคัมภีร์ที่สอดคล้องกับของพระศาสนจักรเท่านั้น การศึกษาค้นคว้าเรื่องของปิตาจาร
ย์และผลงานเขียนของท่าน จะช่วยเปิดขอบฟ้าให้กว้างไกลขึ้นในการที่จะพัฒนาข้อคำสอนของพระศาสนจักร และช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการช่วยนำเสนอเรื่องของการที่พระเจ้าได้ทรงสื่อสารพระองค์เองกับมวลมนุษย์
ภาษาดั้งเดิมของวรรณกรรมปิตาจารย์ในยุคแรกๆเป็นภาษากรีก เช่น ผลงานเขียนของนักบุญบาซิล(329-379) และนักบุญยอห์น คริ
สซอสโตม(347-407) และพระศาสนจักรที่กรุงโรม บนภาคพื้นอาฟริกาตอนเหนือและที่ฝรั่งเศส ก็ยังใช้ภาษากรีกจนถึงปลายศตวรรษที่ 3 แ
ต่ก็ค่อยๆถูกทดแทนด้วยภาษาประจำชาติ เช่นภาษาซีเรีย คอปติค และอาร์เมเนียน ส่วนบนนอกอาณาบริเวณประเทศกรีก และทางภาคพื้นตะวันตก ก็จะถูกภาษาลาตินเข้าแทนที่ อันจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นตอนต้นศตวรรษที่ 2 ที่กรุงโรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคพื้นตอนเหนือของอาฟริกา เมื่อมีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาลาตินโดยท่าปิตาจารย์แตร์ตุลเลียน
การสำรวจดูวรรณกรรมปิตาจารย์
เราสามารถแบ่งวรรณกรรมปิตาจารย์อย่างกว้างๆออกมาเป็น 3 ระยะ/ยุค ด้วยกัน
1.
ยุคเริ่มต้น เริ่มตั้งแต่ยุคหลังบรรดาอัครสาวกจนถึงสภาสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาที่ 1 ในปี 325 2.ยุคทองของปิตาจารย์
ตั้งแต่สภาสังคายนาแห่งเมืองนีเชอาที่ 1 ปี 325 ถึงสภาสังคายนาแห่งเมืองคัลเชโดเนีย ในปี 451 3.ยุคตกต่ำ
เริ่มจากหลังสภาสังคายนาแห่งเมืองคัลเชโดเนีย ปี 451 จนถึงศตวรรษที่ 7/8
1.ยุคเริ่มต้น
ปิตาจารย์กลุ่มแรกที่มีลักษณะวรรณกรรมละม้ายคล้ายคลึงกับของพวกอัครสาวก เพราะโดยตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานว่า
ท่านเหล่านั้นคงได้รู้จักเป็นการส่วนตัวกับอัครสาวกบางท่าน หรืออย่างน้อยก็ได้เคยรับคำสั่งสอนจากลูกศิษย์ของอัครสาวก เช่น นักบุญอิกญาซีโอ แห่งอันติโอ๊ค (?110) นักบุญโพลีคาร์พ แห่งสมีรนา (69-155) นักบุญเคลเมนท์ ที่ 1 (พระสันตะปาปา, 88-97) นอกนั้นก็ยังมีปิตาจารย์ท่านอื่นๆอีกซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ลักษ
ณะวรรณกรรมที่โดดเด่นของปิตาจารย์ตะวันออก (พูดภาษากรีก) ในศตวรรษที่ 2 ก็คือใช้คำสอนสำหรับปกป้องพระศาสนจักรจากคนต่างศาสนาและจากผู้เคร่งครัดศาสนายิว นี่เป็นการที่คริสตศาสนาได้เริ่มมีการติดต่อกับโลกภายนอก โดยเริ่มจากนักบุญยุสติน มรณสักขี (100-165) ท่านอะเธนากอรัสแห่งกรุงอะเธนส์ (ศตวรรษที่ 2)
และนักบุญเธโอฟิลุส แห่งอันธิโอ๊ค (ศตวรรษที่ 2) ได้ใช้ปากกาทำการประท้วงและต่อต้านดาบของราชสำนักแล
ะม็อบข่าวลือต่างๆ โดยได้นำเสนอว่าพระคัมภีร์พระธรรมใหม่เปรียบเสมือนความสำเร็จบริบูรณ์ของพระคัมภีร์พระธรรมเดิม และได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างความจริงของศาสนาคริสต์และนิยายปรัมปราของศาสนาอื่
น ทั้งได้ใช้ความพยายามในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างการไขแสดงใหม่กับปรัชญาโบราณ วรรณคดีที่ต่อต้านคำสอนเฮเรติ๊ก ส่วนใหญ่ได้สูญหาย เช่นคำโต้ตอบของพระศาสนจักรต่อลัทธิ Montanism และ Gnosticism บุคคลที่เด่นในเรื่องนี้ ก็คือนักบุญอีเรเนอูส (140-202) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ก่อตั้งเทววิทยาของคริสตศาสนา
ในช่วงปี ค.ศ. 200 วรรณกรรมของพระศาสนจักรได้เปลี่ยนโฉมหน้าอย่างมาก หลังจากนักบุญอีเรเนอูส บุรุษแห่งธรรมประเพณี ลัก
ษณะที่เด่นในช่วงนี้คือความพยายามที่จะรังสรรค์เทววิทยาให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆที่สำคัญๆอย่างครบถ้วน ส่วนหนึ่งก็มาจากข้อโต้แย้งเร
ื่องของข้อความเชื่อและคำสอน แต่ว่าที่สำคัญกว่า น่าจะมาจากข้อเรียกร้องอันเกิดจากธรรมชาติของข้อความเชื่อของคริสตศาสนาเอง ศูนย์กลางที่สำคัญๆของการรังสรรค์ทางเทววิทยา คือนครอะเล็กซานเดรียของพระศาสนจักรตะวันออก และนครคารเธจของพระศาสนจักรตะวันตก พร้อมๆกับกรุงโรมซึ่งมีบทบาทเป็นพระรอง แต่ก็มีความสำคัญมากๆในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจปกครองของพระศาสนจักร บุค
คลตัวแทนที่น่าประทับใจมากๆ เช่น เคลเมนท์ แห่งอะเล็กซานเดรีย นักวิชาการของคริสตศาสนา และโอรีเจน นักสารานุกรม ของพระศาสนจ
ักรตะวันออก ส่วนของพระศาสนจักรตะวัน ก็มีแตร์ตุลเลียน ผู้หลักแหลมและชอบโต้แย้ง และนักบุญซีเปรียน ผู้เปี่ยมด้วยความสำนึกในเรื่องของพระศาสนจักร นอกนั้นก็ยังมี เมโธดีอุส แห่งโอลิมปุส และ ฮิปโปลีตุส แห่งโรม และ โนวาซีอานุส
2.ยุคทอง
อันเป็นช่วงเวลาที่พระศาสนจักรสามารถชื่นชมกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและทางบ้านเมืองก็ยอมรับว่าคริสตศาสนามีสิทธิในการดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระเสรี ไม่มีการเบียดเบียน ซึ่งเป็นการแผ้วทางให้กับยุคทองแห่งวรรณกรรมของบรรดาปิตาจารย์ ทั้งยังเ
ป็นช่วงเวลาของสภาสังคายนาสากล 4 ครั้งแรกของพระศาสนจักรด้วย คือ สภาสังคายนาแห่งเมืองนีเชอา คร
ั้งที่ 1 (325) สภาสังคายนาแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล ครั้งที่ 1 (381) สภาสังคายนาแห่งเมืองเอเฟซุส (431) และ สภาสังคายนาแห่งเมืองคัลเชโดเนีย (451) ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการสร้างสรรค์เทววิทยาของ
คริสตศาสนา พระศาสนจักรตะวันออกได้ให้ความสนใจและทำการค้นคว้าศึกษาเรื่องของพระตรีเอกภาพและข
องพระเยซู คริสตเจ้า ส่วนพระศาสนจักรตะวันตกกลับให้ความสนใจในเรื่องของพระศาสนจักรและอวสานตกาล แ
ต่ว่าในเวลาเดียวกันก็ทำให้เกิดการแตกแยกทางศาสนาขึ้น เช่นเกิดลัทธิของอารีอูส ลัทธิของโดนาตูส ลัทธิ
ของมานี ลัทธิของเปลาจีอูส ลัทธิของอาปอลลีนารีอูส และ ลัทธิของเนสตอรีอูส เป็นต้น
และในช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาของมานุษยนิยมของคริสตศาสนาด้วย นักเขียนคริสตชนหลายๆท่านได้ท
ำการผสมผสานเทววิทยากับวิชาการทางโลกด้วยการรังสรรค์วรรณกรรมด้วยภาษาที่สละสลวย วรรณกรรมของคริสตศาสนาได้เบ่งบานในหลายระดับด้วยกัน เช่นศาสตร์ของการปกป้องศาสนา ศาสตร์ของการโต้แย้งเรื่องข้
อความเชื่อ ชีวประวัติของบุคคลสำคัญของพระศาสนจักรและประวัติพระศาสนจักร จดหมายโต้ตอบและวรรณกรรมทางกวีต่างๆและบทเทศน์สอน รวมทั้งการศึกษาพระคัมภีร์ของสำนักศึกษาแห่งนครอะเล็กซานเดรีย นครอันทิโอ๊ค นครเอเดสสา และนครนีซีบิส
ได้มีผู้ทำรายนามนักเขียนชั้นหัวกะทิในช่วงยุคทองของประวัติศาสตร์แห่งวรรณกรรมและเทววิทยาของพระศาสนจักร ในประเทศอีจิป
ต์ มีนักบุญอาธานาซีอูส ผู้ต่อต้านลัทธิของอารีอส และนักบุญซีริลแห่งอะเล็กซานเดรีย ผู้ต่อต้านลัทธิของเนสตอรีอูส ดีดีมูส ผู้ตาบอด นักเทววิทยาเรื่องพระตรีเอกภาพ และเอวากรีอูส ปอนตีกูส ผู้ก่อตั้งสำนักฤาษีบำเพ็ญพรตแบบเพ่งฌาณ ในเขตเอเชียไมเนอร์ ก็โดดเด่นในเรื่องของเทววิทยาแบบใหม่ในบุคคล ๓ ท่านแห่งแคว้นกัปปาโดเชีย คือนักบุญบาซิล องค์ใหญ่ นักปฏิบัตินิยม นักบุญเกรกอรี่ แห่งนาซีอานซูส จอมวาทศิลป์ และนักบุญเกรกอรี่ แห่งนิสสา นักค
ิด ในนครอันทิโอ๊คและซีเรีย ก็มีนักเขียนที่โดดเด่น เช่นเอวเซบีอูส แห่งเชซาเรอา บิดาแห่งประวัติศาสตร์พระศาสนจักร นักบุญซีริส แห่งเยรูซาเล็ม อาจารย์แห่งการสอนคำสอน นักบุญเอปีฟานีอูส แห่งซาลามิส ผู้ต่อสู้กั
บพวกเฮเรติ๊กอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย และอาจารย์ผู้สอนที่โดดเด่นแห่งสำนักของนครอันทิโอ๊ค เช่น ดีโอโดรูส แห่งทาร์ซูส นักบุญยอห์น คริสซอสโตม และเธโอดอรูส แห่งม็อบซูเอสเตีย เป็นต้น ส่วนในพระศาสนจักรตะวัน
ตก อาจารย์ผู้สอนที่โดดเด่น ก็มีอาทิเช่น นักบุญฮีแลร์ แห่งปัวเจียรส์ ผู้ทำการต่อสู้ที่เข้มแข็งกับลัทธิของอาร
ีอูส นักบุญอัมโบรส แห่งนครมิลาน ผู้มีบุคลิกภาพที่โดดเด่นมากที่สุดท่านหนึ่งของศตวรรษที่สี่ นักบุญเยโรม นักพระคัมภีร์และนักมานุษยนิยม พระสันตะปาปา นักบุญเลโอ ที่ 1 (องค์ใหญ่) นักวาทศิลป์และผู้ปกป้องอารยธรรมตะวันตก และเหนืออื่นใด
นักบุญออกัสติน ผู้ประสานพลังสร้างสรรค์ของแตร์ตุลเลียนกับความลึกซึ้งเชิงความคิดของโอรีเจน ผนวกกับความรับผิดชอบต่อพระศาสนจักรของนักบุญซีเปรียน ประสานความคิดเชิงใช้เหตุใช้ผลของอริสโตเติ้ลกับ
ความคิดเชิงอุดมคติที่ลึกซึ้งของพลาโต้ และประสานความเป็นนักปฏิบัติของพระศาสนจักรลาตินกับพุทธิปัญญาที่เป็นเหมือนพลังขับเคลื่อนของพระศาสนจักรกรีกให้เข้าด้วยกันได้
3.ยุคตกต่ำ
หลังจากสภาสังคายนาแห่งนครคัลเชโดเนีย การสร้างสรรค์เทววิทยาก็ได้เริ่มเสื่อมถอย สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากจิตวิญญ
าณภายใจพระศาสนจักรเอง คือหลังจากที่ได้มีการเรียกประชุมสภาสังคายนาหลายครั้งด้วยกัน อีกทั้งได้มีปิตาจารย์มากหน้าหลายท่านที่โด
ดเด่น ปัญหาสำคัญๆของความเชื่อแห่งคริสตศาสนา ก็ได้รับการจัดการให้เรียบร้อยลง และดูเหมือนว่าเทววิทยาได้ก้าวไปถึงจุดสุดยอดแล้ว จึงทำให้การศึกษาค้นคว้าและการไตร่ตรองทางเทววิทยาดูอ่อนแอลง ในขณะที่วิชาการทางชีวิตภายในและพิธีกรรมได้เข้ามาแทนที่ ความแตกแยกระหว่างพระศาสนจักรตะวันออกกับพระศาสนตะวันตกเริ่มตั้งเค้า และอารยธรรมของชนอิสลามกำลังวางรากฐานบนอารยธรรมที่กำลังเป็นทรากปรักหักพังของคริสตศาสนา
รัชญาของอริสโตเติ้ลได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนความคิดทางเทววิทยา อันเป็นการเตรียมพื้นฐานให้กับการพัฒนาทางด้านการคิดทบทวนของลัทธิอัสสมาจารย์สมัยกลาง บุคคลสำคัญในช่วงรอยต่อนี้ ก็มีอาทิเช่น โบเ
อซีอูส ด้วยผลงานแปลงานเขียนของอริสโตเติ้ล นักบุญเกรกอรี่ที่ 1 (องค์ใหญ่) พระสันตะปาปา ผู้อธิบายพร
ะคัมภีร์ และอาจารย์แห่งชีวิตภายในของพระสงฆ์ นักบุญอิสิโดรูส แห่งเซบียา นักประวัติศาสตร์ นักเขียนเรื่องชีวิตนักบวชถือพรต และนักสารานุกรม เซวโด-ดีโอนีซีอูส นักเทววิทยาที่ลึกซึ้งแห่งชีวิตภายในแบบเพ่งฌาณ น
ักบุญมักซีมูส อรหันต์ และนักบุญยอห์น แห่งดามัสกัส ผู้ทำการสังเคราะห์ปรีชาญาณของปิตาจารย์กรีก และย
ังมีนักบุญเอเฟรม ในวรรณกรรมแบบซีเรีย เป็นนักเทววิทยาสัจธรรมและแบบถือพรตและเป็นนักประพันธ์ด้วย
ในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ถือว่านักบุญยอห์น แห่งดามัสกัส (676-749) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 8 หรือ นักบุญเบอร์นาร์ด แห่งแคลร์โวซ์ (1090-1153) เป็นปิตาจารย์ท่านสุดท้าย
|