หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           ในวันที่ 2 สิงหาคมหรือวันอื่นที่พระสังฆราชท้องถิ่นกำหนดขึ้นเพื่อความสดวกของสัตบุรุษ บรรดาสัตบุรุษสามารถรับ “พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์” ซึ่งตามธรรมประเพณีได้รับการเรียกขานว่า “พระคุณการุณย์แห่งปอร์ทิอุนคุลา” ได้ในพระวิหารชั้นรอง ในสักการสถาน และในวัดทั่วๆไป

           และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อรับพระคุณการุณย์นี้ คือ

           1.การไปเยี่ยมวัดด้วยใจศรัทธา

           2.สวดบท “ข้าแต่พระบิดา” และ “ข้าพเจ้าเชื่อ” พร้อมกับการแก้บาปรับศีลมหาสนิท และภาวนา 1 บทสำหรับพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา

           พระคุณการุณย์นี้สามารถรับได้เพียงครั้งเดียว

           การไปเยี่ยมวัดสามารถทำได้ตั้งแต่เที่ยงวันของวันก่อน จนกระทั่งถึงเที่ยงคืนของวันที่ 2 นี้ (Enchiridion of Indulgences, 1999 edition, concession 33)

ประวัติพระคุณการุณย์แห่งปอร์ทิอุนคุลา

           เอกสารฉบับแรกเกี่ยวกับ “พระคุณการุณย์แห่งปอร์ทิอุนคุลา” ได้รับการบันทึกไว้ในวันที่ 31 ตุลาคม 1277 หลังจากที่ได้มีการประทานพระคุณการุณย์ให้ไปก่อนหน้านี้ประมาณ 60 ปีแล้ว

           “ปอร์ทิอุนคุลา” เป็นวัดเก่าแก่ที่มอบถวายแด่พระนางมารีย์ โดยใช้ชื่อว่า “แม่พระแห่งปวงเทวา” ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นสถานที่ซึ่งนักบุญฟรังซิสรักมาก

           “ปอร์ทิอุนคุลา” เป็นสถานที่ซึ่งคณะนักพรตฟรังซิสกันได้พัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และเป็นสถานที่ซึ่งนักบุญฟรังซิสได้ใช้ชีวิตและสิ้นชีวิตที่นี่

           วัดน้อยแห่งนี้ได้ก่อสร้างขึ้นแต่โบราณในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาลีเบรีอุส (352-366) และเป็นที่เคารพบูชาเนื่องจากทูตสวรรค์ประจักษ์มา ณ ที่นี้ วัดน้อยแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของฤาษีคณะเบเนดิกตินแห่งซูบาซีโอ อยู่บนผืนดินที่เรียกว่า “ปอร์ทิอุนคูลา” และต่อมาชื่อของผืนดินแห่งนี้จึงได้กลายเป็นชื่อของวัดน้อยนี้ด้วย

           วัดน้อยแห่งนี้ถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน นักบุญฟรังซิสจึงได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ที่นี่เป็นที่ที่ท่านเข้าใจถึงกระแสเรียกของท่านอย่างชัดเจนและได้ตั้งคณะภราดาน้อย (Order of the Friars Minor) ในปี 1209 และนักบุญบอนาแวนตูราบอกเราว่า “เพราะท่านมีความเคารพต่อบรรดาทูตสวรรค์และมีความรักศรัทธาอันยิ่งใหญ่ต่อพระมารดาของพระคริสตเจ้า” ท่าน จึงได้มอบถวายวัดน้อยนี้แด่พระนาง ที่ดินและวัดน้อยหลังนี้คณะนักบวชเบเนดิกติน ได้มอบให้ท่านเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของครอบครัวนักบวชใหม่ของท่าน

           ในวันที่ 28 มีนาคม 1211 (นักบุญ) คลารา บุตรสาวของฟาวาโรเน แห่งออฟเฟรดุชโช  ได้รับ
เครื่องแบบนักบวชจากมือของนักบุญฟรังซิสที่วัดน้อยนี้ และ
คณะนักพรตนักบุญคลาราผู้ยากไร้จึงได้เริ่ มก่อตัวขึ้น ณ บัดนั้น

           ในปี 1216 ในภาพนิมิตครั้งหนึ่ง นักบุญฟรังซิสได้รับพระคุณการุณย์แห่งการให้อภัยโทษเมืองอัส ซีซีจากองค์พระเยซูเจ้าเอง  พระคุณการุณย์นี้ได้รับการรับรองจากสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนรีอุสที่ 3 พระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์นี้  โดยปกติสามารถรับได้ในวันที่ 2 และ 15 สิงหาคม และผู้จาริกแสวงบุญสามารถรับได้ปีละครั้งในวันใดก็ได้

           ที่ปอร์ทิอุนโคลา ซึ่งเคยเป็นและกำลังเป็นศูนย์กลางของคณะนักพตรฟรังซิสกัน นักบุญฟรังซิ ส ได้เรียกประชุมสมัชชาบรรดานักพรตทุกคนของคณะที่นี่เป็นประจำทุกปี เพื่ออภิปรายถึงกฏของคณะและรื้อฟื้นการอุทิศตนของพวกเขาตามจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร ในการประชุมสมัชชาในปี 1221 มีบรรดา
นักพรตที่เข้าร่วมประชุมมากกว่า 5000 คน

           ในปัจจุบัน ปอร์ทิอุนโคลา ตั้งอยู่ภายในมหาวิหารแม่พระแห่งปวงเทวา ในเมืองที่ใช้ชื่อเดียวกัน ซึ่งอยู่ห่างจากอัสซีซีราว 5 กิโ ล
เมตร

           เป็นที่นี่ที่ท่านนักบุญฟรังซิสเริ่มและเติบโตในชีวิตนักพรตของท่าน ที่นี่ท่านได้ตั้งคณะนักพรตฟรังซิสกัน ที่นี่ท่านได้แสดงความรัก
และการอุทิศตนอย่างใหญ่หลวงของท่านต่อพระมารดาของพระเจ้า เมื่อนักบุญฟรังซิสทราบว่าท่านกำลังจะสิ้นใจ ท่านได้ขอร้องให้นำท่ านไปยังปอร์ทิอุนคูลา เพื่อว่าท่านจะได้จบชีวิตของท่านที่นี่

           ในขณะที่เราถวายเกียรติแด่แม่พระแห่งปวงเทวา เราอาจจะพบแรงบันดาลใจที่จะทำให้ตัวเราเติบโตและสามารถพัฒนาชีวิตของเ ราในแนวทางตามจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร ซึ่งนักบุญฟรังซิสได้อ้าแขนรับและได้เจริญชีวิตตามจิตตารมณ์อย่างสมบูรณ์แบบ

           เหตุผลของการรับพระคุณการุณย์โดยให้เวลาตั้งแต่การสวดทำวัตรเย็นของวันที่ 1  สิงหาคม จนกระทั่งถึงพระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 2  สิงหาคม กล่าวกันว่า  ที่ท่านนักบุญฟรังซิสได้เลือกวันนี้
เพราะเป็นวันฉลองนักบุญเปโตรต้องพันธนาการซึ่งฉลองในวันที่ 1  สิงหาคม   และท่านนักบญฟรัง
ซิสรู้สึกว่าคนบาปควรได้รับอิสระจากพันธนาการของบาปของพวกเขาในวันต่อจากวันฉลองนี้  นอก
จากนี้วันนี้ยังเป็นวันครบรอบปีของการเสกวัดน้อยแห่งปอร์ทิอุนคูลาอีกด้วย

           หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ครั้งแรกมาถึง มีพระสังฆราช 8 องค์ มารวมกันที่วัดน้อยแ ม่พระแห่งปวงเทวาแห่งนี้ ซึ่งได้มอบให้เป็นวัด “แม่พระแห่งปวงเทวา แห่งปอร์ติอุนคุลา” ในโอกาสน ี้ท่านนักบุญฟรังซิสดีใจเหลือเกิน บอกกับฝูงชนที่แน่นวัดแคบๆแห่งนี้ว่า “พ่ออยากจะทำให้พวกลูกทุกคนไปสวรรค์”

           วัดน้อยแห่งนี้เป็นสถานที่ในโลกนี้ที่ท่านนักบุญฟรังซิสชอบมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นที่ซึ่งท่านได้รับฟังพระวรสารอันทำให้ท่าน ก่อตั้งคณะนักพรตขึ้นเป็นครั้งแรก โดยปฏิบัติตามพระบัญชาของพระคริสตเจ้าที่บอกให้บรรดาศิษย์ของพระองค์ออกไปสั่งสอนทั่วโลก  และ
โปรดศีลล้างบาปให้กับมนุษย์ทุกคนโดยไม่ต้องนำสิ่งใดไปด้วยในการเดินทางไปประกาศข่าวดี เป็นที่นี่ที่ท่านนักบุญได้รับสมาชิกนักพรต รุ่นแรกของท่าน และจากที่นี่เองที่ท่านได้ส่งพวกเขาออกไปในโลก และในวัดน้อยแห่งนี้ ที่นักบุญคลาราได้คุกเข่าต่อหน้าพระรูปแม่พระ
แห่งปวงเทวา  แล้วท่านนักบุญฟรังซิสได้ใช้กรรไกรตัดปอยผมสีทองของเธอ จริงๆแล้วท่านนักบุญฟรังซิสได้วางคุณค่าของวัดน้อยแห่งนี้ไว้สูงมาก เพราะท่านได้สร้างขึ้นใหม่ด้วยมือของท่านเองและได้ร่างระเบียบวินัยเป็นกรณีพิเศษสำหรับ
“ปอร์ทิอุนคุลา” นี้ด้วย

ท่านนักบุญฟรังซิสวอนขอและได้รับพระคุณการณุย์สำหรับการได้รับอภัยบาปอย่างไร

           คืนวันหนึ่งในปี 1216ที่ปอร์ทิอุนโคลา ท่านนักบุญฟรังซิสตื่นขึ้นมา  และได้รับแรงดลใจอย่างรุนแรงผิดปกติท่านจึงรีบลุกขึ้  และ
ไปที่วัดน้อย ท่านคุกเข่าสวดภาวนา ในขณะที่กำลังสวดภาวนาอยู่นั้น พระเยซูเจ้าและพระมารดาของพระองค์ได้ทรงประจักษ์มาหาท่าน และทรงถามท่านว่าต้องการอะไรมากที่สุด ท่านตอบว่า

           “โอ้ข้าแต่พระเจ้า ถึงแม้ลูกจะเป็นคนบาปหนา ลูกวอนขอพระองค์โปรดประทานการอภัยบาปอ ย่างบริบูรณ์แก่ทุกคนที่มาเยี่ยมวัดน้อยนี้ ด้วยการเป็นทุกข์ถึงบาปและสารภาพบาปของเขาอย่างดี”

           พระเยซูเจ้าตรัสกับท่านนักบุญว่า “ฟรังซิส ลูกขอมากจัง แต่ลูกก็สมควรกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
และลูกจะได้รับ”

           พระเยซูเจ้าจึงทรงประทานให้ตามคำขอของนักบุญฟรังซิส และบอกท่านให้ไปหาผู้แทนของพร ะองค์ เพื่อขออนุมัติเรื่องพระคุณการุณย์ พระสันตะปาปาโฮโนรีอุส ที่ 3 ซึ่งพึ่งจะเริ่มสมณสมัยของพระองค์ ขณะนั้นทรงพำนักอยู่ที่เมืองเปรูเจีย นักบุญฟรังซิสจึงได้นำคำร้องขอของท่านถวายแด่สมเด็จพระสันตะปาปา

           พระสันตะปาปโฮโนรีอุส แม้เป็นผู้เปี่ยมด้วยชีวิตฝ่ายจิตและมีธรรมะ พระองค์ก็ทรงรู้สึกลังเล พระทัยต่อคำทูลขอเช่นนี้

           แต่ท่านนักบุญฟรังซิสรีบกราบทูลต่อทันทีว่า“ข้าแต่ท่านบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อไม่นานมานี้ ลูกได้บูรณะวัดน้อยแห่งหนึ่งเพื่อพระองค์
เพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระนางพรหมจารีย์ พระมารดาของพระคริสตเจ้า (ปอร์ทิอุนคุลา) และลูกวอนขอพระองค์ได้โปรดประทานพระคุณการุณย์ให้แก่วัดน้อยแห่งนี้ด้วย”
ท่านนักบุญฟรังซิส

           พระสันตะปาปาตรัสถามว่า “ท่านต้องการพระคุณการุณย์นานกี่ปี”

           นักบุญฟรังซิสตอบว่า “ข้าแต่ท่านบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ ลูกไม่ได้ขอนานกี่ปี แต่ลูกขอสำหรับบรรดาวิญญาณ”

           พระสันตะปาปาทรงถามต่อ “อย่างนั้น ท่านต้องการอะไร?”

           ฟรังซิสตอบว่า“ข้าแต่ท่านบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ องค์พระเยซูเจ้าทรงรับสั่งลูกให้ขอพระองค์ได้โปรดให้ผู้ที่มาเยี่ยมวัดปอร์ทิอุนคูลา เมื่อ
ขาได้ทำการสารภาพบาปอย่างดี ด้วยหัวใจที่เป็นทุกข์ถึงบาป โปรดให้เขาได้รับการอภัยบาปที่เขาได้กระทำมาตลอดชีวิตหลังจากได้รับศ ีลล้างบาปจนถึงวันที่เขาเข้ามาเยี่ยมวัดแห่งนี้”

           สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนรีอุสได้ทรงไตร่ตรองการร้องขอที่เป็นกรณีพิเศษนี้ และทรงกล่าวอย่า งช้าๆ สามครั้งว่า “พ่อก็เช่นกัน ในพระนามของพระเจ้า พ่ออนุญาตประทานพระคุณการุณย์นี้ให้ลูก”

           เริ่มแรก พระคุณการุณย์แห่งปอร์ทิอุนคุลาประทานให้เฉพาะในวัดน้อยแห่งปอร์ทิอุนคุลา  ระหว่าง
ช่วงเวลาบ่ายของวันที่ 1 สิงหาคม ถึงช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 2 สิงหาคมเท่านั้น ต่อมาใน
ปี 1480/1481 พระสันตะปาปาซิกส์ตุส ที่ 4 ได้ทรงขยายออกไปยังวัดทั้งหลายของคณะนักพรตฟรังซิสกัน และต่อมาในปี 1622 พระสันตะปาเกรกอรี่ ที่ 15 ได้ทรงขยายกลุ่มบุคคลเป้าหมายไปถึงสัตบุรุษทุกคน แต่ต้องไปเยี่ยมวัดตามที่ได้ระบุไว้ในวันที่ได้กำหนดไว้ ที่สุดหลังสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 เป็นพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 “พระคุณการุณย์แห่งปอร์ทิอุนคุลา” ก็ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการอีกคำรบหนึ่ง เงื่อนไขอะไรต่างๆก็คงเหมือนเดิม ยกเว้นในเรื่องของวันรับพระคุณการุณย์คือนอกจากในวันที่ได้กำหนดไว้แล้ว ประมุขของสังฆมณฑลอาจจะกำหนดวันอื่นที่สดวกสำหรับบรรดาสัตบุรุษให้เป็นวันที่รับพระคุณการุณย์ก็ได้ และในเรื่องของวัดหรือสถานที่ด้วย คือไปเยี่ยมวัดใดวัดหนึ่งก็ได้ และการที่จะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ สัตบุรุษนั้นๆจะต้องไม่มีบาป แม้บาปเบาด้วย แต่ถ้าไม่สอาดบริสุทธิ์อย่างนั้นจริงๆ ก็จะได้รับเพียงพระคุณการุณย์ไม่ครบบริบูรณ์

เงื่อนไขของการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ของการให้อภัยบาปแห่งอัสซีซี
(เพื่อตนเองหรือเพื่อวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว)

           * รับศีลอภัยบาปเพื่ออยู่ในสถานะพระหรรษทานของพระเจ้า (ระหว่าง 8 วัน ก่อนหรือหลัง)

           * ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและรับศีลมหาสนิท

           * เยี่ยมวัดคาทอลิก 1 แห่ง พร้อมกับสวดบทยืนยันความเชื่อ (บทข้าพเจ้าเชื่อ) เพื่อที่จะยืนยันอีกครั้งถึงเอกลักษณ์ความเป็น
           คริสตชนของตนเอง

           * สวดบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อที่จะยืนยันอีกครั้งถึงศักดิ์ศรีในฐานะบุตรของพระเจ้าเมื่อรับศีลล้างบาป

           * สวดบทภาวนาบทหนึ่งตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา เพื่อที่จะยืนยันอีกครั้งถึงการเป็นสมาชิกในพระศาสนจักร
           ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นรากฐานและเป็นเครื่องหมายของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่
           มองเห็นได้

พระคุณการุณย์
(สภาพระสังฆราชแห่งอิตาลี หนังสือคำสอนผู้ใหญ่ข้อ 710)

           บาปมิได้เพียงแค่ทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเท่านั้น แต่ยังทำลายการประนีประนอมระดับภายในจิตวิญญาณของบุคค ลและความสัมพันธ์กับสิ่งสร้างอื่นๆด้วย การเป็นทุกข์ถึงบาปโดยรวมนั้น แค่เสียใจและรับการอภัยบาปนั้นไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องชดเชยสิ่งที่บาปก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงซึ่งจะตามมาหลังจากการทำบาปด้วย ในกระบวนการชำระชดเชยบาปนี้ ผู้รับศีลอภัยบาปมิได้ถูกทอดท ิ้งให้โดดเดี่ยว เพราะผู้รับศีลอภัยบาปมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระคริสตเจ้าและบรรดานักบุญก็ชื่นชมยินดีกับเขา พระเจ้าทรงสื่อสารกับเขาด้วยบุญกุศลแห่งพระหรรษทานขอ งผู้อื่นที่มีคุณค่ามหาศาลแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันของพวกเขา เพื่อที่จะส่งผลในการชดเชยบาปของเขาอย่างรวดเร็วและอย่างบังเกิดผล

           พระศาสนจักรตักเตือนบรรดาสัตบุรุษอยู่เสมอๆให้อุทิศคำภาวนา   การประกอบกิจการที่ดีและการ
ยอมรับทนทุกข์ทรมาน เพื่อการกลับใจของคนบาปและเพื่อสันติสุขของผู้ล่วงลับไปแล้ว และในระหว่างศตวรรษแรกๆ บรรดาพระสังฆราชได้หย่นระยะเวลาและความเข้มงวดของการลงโทษโดยส่วนร่วมลง จากการ ร้องขอของบรรดาประจักษ์พยานแห่งความเชื่อซึ่งได้รอดจากการถูกลงโทษทรมาน

           จิตสำนึกที่ค่อยๆเติบโตขึ้นในเรื่องของอำนาจการผูกและการแก้ที่ได้รับจากองค์พระเยซูเจ้า รวมท ั้งอำนาจที่จะปลดปล่อยผู้รับศีลอภัยบาป/ผู้เป็นทุกข์กลับใจจากสิ่งที่ตกค้างจากบาปต่างๆที่ได้รับการใหอภัยแล้ว ด้วยการนำเอาบุญกุศลของพระคริสตเจ้าและของบรรดานักบุญไปใช้กับพวกเขาเหล่านั้น และเพื่อ ที่จะได้รับพระหรรษทานแห่งความรักอันแรงกล้า บรรดาพระสงฆ์(สามารถ)ให้สิทธิพิเศษนี้แก่บรรดาผู้ที่มีสถานภาพทางจิตวิญญาณที่เ หมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมเป็นทุกข์ถึงบาปนี้เป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นในการรับพระคุณการุณย์

หน้าหลัก