การระลึกถึงการจากไปของบรรดาสัตบุรุษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ผู้ที่เรารัก ผู้ที่เรารู้จัก ผู้ที่เป็นสมาชิกในคณะนักบวชเดียวกับเรา ฯลฯ เราสามารถย้อนธรรมเนียมอันน่าชมยิ่งนี้ ไปสู่ยุคของพระธรรมเก่าเลยทีเดียว
ซึ่งได้มีการกล่าวถึงในหนังสือของมัคคาบี ฉบับที่ 2(2มคบ 12: 39-45)คือในปี 163 ก่อนคริสตกาล ยูดาห์ มัคคาบี ซึ่งเป็นหัวหน้าของพวกยิว ได้สั่งให้เก็บรวบรวมร่างที่ไร้วิญญาณของพวกยิวด้วยกัน ที่ถูกฆ่าตายในสนามรบ มาทำพิธีปลงศพ
ในช่วงเวลาที่ทำการเก็บศพอยู่นั้น ก็บังเอิญไปพบเครื่องรางของขลังที่ไปได้มาจากวิหารของชนต่างศาสนาซ่อนไว้อยู่ใต้เสื้อยาวของผู้ตาย นี่เป็นการละเมิดข้อธรรมบัญญัติอันได้มีการบัญญัติไว้ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติบทที่ ๗(ฉธบ 7: 25)
ซึ่งกล่าวไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงเผารูปแกะสลักอันเป็นรูปพระทั้งหลายของชนต่างชาติเสียด้วยไฟ ท่านทั้งหลายอย่าโลภอยากได้เงินหรือทองซึ่งปิดรูปพระอยู่นั้น หรือนำไปเป็นของท่าน เกรงว่าท่านจะหลงสิ่งเหล่านั้น
เพราะว่าสิ่งเหล่นั้นเป็นของพึงรังเกียจแด่พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของท่าน เมื่อเห็นเช่นนี้ ทันทียูดา
ห์และพรรคพวกก็ได้พร้อมใจกันสวดภาวนาวิงวอนพระเจ้าได้โปรดอภัยบาปของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งได้ทำการต่อสู้เพื่อพระเกียรติมงคลของพระองค์ ยิ่งกว่านั้นยูดาห์ได้ทำการรวบรวมเงินจำนวนหน
ึ่ง เพื่อที่จะนำส่งไปที่กรุงเยรูซาเล็ม สำหรับเป็นค่าของการถวายเครื่องบูชาแห่งการชดเชยใช้โทษบาปเพื่อผู้ตาย โดยมีความเชื่อมั่นว่าที่ทำเช่นนี้ ก็เพื่อหวังการกลับคืนชีพของผู้ตาย เพราะถ้าหา
กท่านไม่เชื่อว่าผู้ล่วงลับจะกลับคืนชีพแล้ว การภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ ก็คงไม่จำเป็นและงมงาย
นั่นย่อมหมายถึงว่าคำภาวนาและการถวายเครื่องบูชาของบรรดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ สามารถช่วยผู้ตายให้หลุดพ้นจากโทษทัณฑ์ของบาปได้
ส่วนในพระธรรมใหม่นั้น ก็คงมีแต่ข้อความเดียวที่พบได้ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโม
ธี ฉบับที่ ๒(2ทธ 1: 16-18) ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาแก่ครอบครัวของโอเนสิโฟรัสด้วยเถิด
ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงโปรดประทานพระเมตตาแก่เขา ในวันพิพากษาด้วยเถิด
ในสองสามศตวรรษแรกของคริสตศาสนา ธรรมเนียมของการภาวนาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ ได้มีการกล่าวถึงเฉพาะในการสลักเป็นรูปภาพและเป็
นลายลักษณ์อักษรที่หลุมฝังศพของผู้ตายเท่านั้น
การกล่าวถึงการภาวนาอุทิศแก่ผู้ตายในพิธีกรรมสาธารณะ เช่นในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณซึ่งต้องถือว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก
ที่สุดและในการชุมนุมสวดพร้อมๆกันสำหรับผู้ตาย สามารถพบได้ในผลงานเขียนของแตร์ตุลเลียนในช่วงปลายศตวรรษที่ 3
ในปี 337 พระศ
พของจักรพรรดิคอนสแตนติน ได้รับการวางไว้ที่หน้าพระแท่นบูชา พระสงฆ์และสัตบุรุษมาชุมนุมกันเพื่อภาวนาอุทิศแด่พระองค์
นักบุญอัมโบร
ส พระสังฆราชแห่งเมืองมิลานในศตวรรษที่ 4 ได้กล่าวถึงความตายของพี่ชายของท่านและการประกอบพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณอย่างสง่าโอ
กาสครบรอบวันตายของพี่ชายที่จากไปด้วย... นักบุญยอห์น คริสซอสโตม ในปลายศตวรรษที่ 4 ได้พูดถึงธรรมเนียมปฏิบัติของการภาวนาอุทิศแก่
ผู้ล่วงลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการร่วมในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณและในการทำทานซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้เป็นอย่างดีที่สุด
ธรรมเนียมปฏิบัติของการภาวนาอุทิศแก่ผู้ตายนี้ ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นอย่างดี จนกระทั่งถึงในศตวรรษที่ 13 สภาสังค
ายนาลีอองส์ ที่ 2 ในปี 1247 ได้ออกเอกสารของสภาสังคายนาอย่างเป็นทางการ ที่กล่าวถึงเรื่องนี้โดยผนวกเรื่องของไฟชำระเข้าไว้ด้วย คือบ
รรดาวิญญาณที่ต้องได้รับการชำระล้างหลังจากความตายแล้วนั้น สามารถได้รับความช่วยเหลือด้วยพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ การทำทาน การ
ภาวนา รวมทั้งกิจศรัทธาอื่นๆตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร
ต่อมาในปี 1476 พระสันตะปาปาซิกส์ตุส ที่ 4 ได้อนุญาตให้มีพระคุณการุ
ญครบบริบูรณ์สำหรับอุทิศให้กับวิญญาณในไฟชำระได้ ซึ่งยังได้รับการปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ โดยได้รับการปรับปรุงให้ดูดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การระลึกถึงวิญญาณของผู้ตายในวันนี้กำเนิดมาจากอารามฤาษีคณะเบเนดิกตินที่คลูนี และพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 15
ก่อนสงครามโลกครั้งแรก ได้อนุญาตให้พระสงฆ์สามารถถวายบูชามิสซาได้ 3 มิสซาในวันนี้
มนุษย์กับความตาย
ในพิธีปลงศพและในบูชามิสซาที่ระลึกถึงผู้ตายนี้ พระศาสนจักร ทำการฉลองธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาด้วยความเชื่อ โดยมีความหวังอย่า
งเต็มเปี่ยมว่าพวกเขาได้กลายเป็นอวัยวะในพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า พระผู้ได้สิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ โดยอาศัยศีลล้างบา
ปเราจะสามารถผ่านไปสู่ชีวิตพร้อมกับพระองค์โดยผ่านทางความตาย และเมื่อเราตาย จำเป็นที่วิญญาณของเราจะต้องได้รับการชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์เสียก่อน ขณะที่ร่างกายกำลังคอยให้พระคร
ิสตเจ้าเสด็จกลับมาและกำลังคอยการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายด้วยความหวังที่ทำให้มีความสุข (Ordo Exsequiarum Praenotanda n, 1)
ในชีวิตของเรา มนุษย์ไม่เคยรู้สึกพอกับสิ่งที่เราได้รับ เราเจริญชีวิตโดยมุ่งไปสู่อนาคตเสมอ
ไปสู่ วันพรุ่งนี้ ซึ่งเราคอยด้วยความหวังว่าจะมีอะไรที่ดีขึ้น จะพบกับความสุขมากขึ้น มีความเ
ป็นอยู่ที่ดีขึ้น เรามีชีวิตอยู่เพราะว่ามีความหวังที่คอยผลักดันเรา แต่ในส่วนลึกแห่งชีวิตของเราที่ทำให้เราลืมความทุกข์ยากลำบากไปชั่วขณะนั้น หรือในส่วนลึกแห่งความหวังนั้นมักจะมีความคิ
ดอันหนึ่งซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ และความคิดอันนี้ก็มิใช่อะไรอื่น คือ การคิดถึงความตายนั่นเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ทำให้เราคุ้นเคยกับมันได้ยากมาก ตรงข้ามบ่อยๆครั้งเรากลับพยายามจะขับไล่ม
ันให้ไปไกลๆจากความคิดของเราเสียอีก แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ความตายเป็นเพื่อนเดินทางที่คอยติดสอยห้อยตามเราไปทุกๆฝีก้าวแห่งชีวิตขอ
งเรา เช่นในการจากกัน ในความป่วยไข้ ในความเจ็บปวด ในความทุกข์ยากลำบากและในความผิดหวัง ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนเราก่อนว่า เราจะต้องตาย
ความตายคือธรรมล้ำลึก
ความตายยังคงเป็นธรรมล้ำลึกที่ลึกลับสำหรับมนุษย์อยู่นั่นเอง เป็นความลึกลับ แม้ผู้ที่ไม่มีความเชื่อก็ยังหวั่นเกรง
การเป็นคริสตชนช่วยให้เปลี่ยนอะไรบางอย่างหรือไม่ ในเมื่อคิดถึงความตายและในเมื่อต้องเผชิญหน้ากับมัน? คริสตชนควรจะต้องมีทรร
ศนคติเช่นไร เวลาที่ต้องเผชิญกับคำถามนี้? เป็นคำถามที่ความตายถามเราอยู่ทุกขณะพร้อมกับสัญญลักษณ์ของมัน เป็นคำถามที่ถามเราถึงค
วามหมายสุดท้ายของชีวิตมนุษย์ คือ มนุษย์มีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันแน่? ทุกสิ่งทุกอย่างสิ้นสุดลงพร้อมกับความตายเช่นนั้นหรือ?
คำตอบอันนี้เราสามารถพบได้ในส่วนลึกแห่งความเชื่อของเรา สำหรับคริสตชนแล้ว ความตายมิใช่เป็นผลลัพธ์ของโศกนาฎกรรมและสิ่
งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราคริสตชนจะต้องเผชิญหน้ากับมันอย่างเย็นชาแบบเสียไม่ได้ แต่ความตายของคริสตชนอยู่ในร่องรอยหรือเป็นการเจริญรอยตามความตายของพระคริสตเจ้า เป็นถ้วยที่ขมขื่นอ
ันเป็นเพราะผลของบาป ถ้วยกาลิกซ์นี้ที่เราทุกคนจะต้องดื่มจนถึงหยดสุดท้าย เพราะว่าเป็นน้ำพระทัยของพระบิดาเจ้า พระองค์ที่กำลังอ้าแขนคอยเราอยู่ที่ธรณีประตูสวรรค์ความตายที่เป็นชัยชน
ะขั้นเด็ดขาด เป็นความตายที่จะไม่ใช่ความตายอีกต่อไป ทว่าเป็นชีวิต เป็นเกียรติมงคล ในที่สุดเป็นการกลับคืนชีพ
สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นมาในรูปแบบใดที่แน่ๆนั้น เรายังไม่สามารถรู้ได้ในขณะนี้ บางทีเร
ายังไม่สามารถจะวัดหรือคำนวณถึงความยิ่งใหญ่ไพศาลของพระคุณและพระสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าก็เป็นได้
เราระลึกถึงการจากไปของบรรดาสัตบุรุษ ญาติมิตรสหาย ผู้เป็นที่รักของเรา ผู้ที่เรารู้จัก ฯลฯ
ด้วยการมาร่วมในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็นการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้าบนไม้กางเขนและระลึกถึงของการเสด็จกลั
บคืนพระชนมชีพของพระองค์ด้วย ในบทภาวนาก่อนอนุโมทนาคุณ พระศาสนจักรได้สวดภาวนาด้วยคำพูดที่ให้กำลังใจและให้ความหวังแก่เราว่า ในพระองค์ ความหวังของการกลับคืนชีพที่เป็นสุขได้ส่องแสงสำหรับเราทุกคนและถ้าหากว่าการที่เราทุกคนจะต้องตายอย่างแน่นอนนั้น ท
ำให้เราต้องโศกเศร้า พระสัญญาของความไม่รู้ตายในชีวิตหน้าจะช่วยบรรเทาใจเรา โอ้ข้าแต่พระคริสตเจ้า ชีวิตมิได้ถูกถอดถอนออกไปจากตั
วสัตบุรุษของพระองค์ แต่เป็นการเปลี่ยนเป็นชีวิตใหม่ และเมื่อที่พำนักอาศัยของถิ่นที่เนรเทศนี้จะได้ถูกทำพังทลายลงไปแล้ว ที่พำนักอาศัยที่คงอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ในเมืองสวรรค์ก็จะได้รับการจัดเตรียมเอาไว้
เราจะแลเห็นพระคริสตเจ้าหน้าต่อหน้า
ความตายของคริสตชนมิใช่เป็นเวลาของการสิ้นสุดชีวิตของเขาบนแผ่นดินนี้ ชีวิตของเขามิได้หยุดอยู่แต่เพียงแค่นี้ ชีวิตบนแผ่นดินน
ี้เป็นการเตรียมสำหรับชีวิตสวรรค์ในชีวิตหน้า ชีวิตของเราบนแผ่นดินนี้เป็นเหมือนการฝึกอบรม เป็นการต่อสู้ เป็นการเลือกว่าเราจะอยู่ฝ่
ายใด ฝ่ายสวรรค์หรือฝ่ายนรก เวลาเรามนุษย์จะพบตัวเองอยู่ต่อหน้าสิ่งที่เป็นเป้าหมายแห่งความใฝ่ฝันของตน คือเวลานั้น เราจะพบว่าตัวเราอยู่เฉพาะพระพักตร์พระคริสตเจ้าและพระองค์จะทรงเป็นสิ่งที่เราต้องเลือกเอาไว้ตลอดนิรันดร์
พระคริสตเจ้าทรงกางพระกรคอยเราอยู่ตั้งแต่นิรันดรภาพแล้ว ใครก็ตามที่เลือกเป็นศัตรูกับพระคริสตเจ้าจะต้องถูกเผาตลอดทั้งชั่วนิรันด
ร จะถูกเผาด้วยความรักอันนั้นเองที่เขาได้ปฏิเสธไม่ยอมรับพระองค์ ส่วนผู้ที่ได้ตัดสินใจอยู่ข้างพระคริสตเจ้า เขาจะพบกับความชื่นชมยินดีที่เต็มเปี่ยมอันไม่มีที่สิ้นสุดในความรักอันนั้นเช่นกัน
โปรดประทานการพักผ่อนตลอดนิรันดร์แก่เขาเถิดพระเจ้าข้า
เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อผู้ที่ล่วงลับ? พวกเขาเหล่านี้มิได้อยู่ห่างไกลจากเราเลย พวกเขาที่ได้สิ้นใจในอ้อมพระหัตถ์ของพระผู้เ
ป็นเจ้า ยังเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร
การสวดภาวนาเพื่อผู้ที่ล่วงลับเป็นธรรมประเพณีอย่างหนึ่งของพระศาสนจักร ที่จริงคนเราแม้ว่าเวลา
ที่เขาตายนั้น เขาจะอยู่ในสถานะของพระหรรษทานก็ตามที ถึงกระนั้นเขาก็ยังแปดเปื้อนไปด้วยความบกพร่องต่างๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ไป สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นเวลาที่เขาตายไปแล้ว
การตายนั้นยังหมายถึงการตายจากความชั่วช้าด้วย ศีลล้างบาปที่เราได้รับนั้นก็เป็นสัญลักษณ์แห่งคว
ามตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ความตายนี้จะเป็นการชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ จะเป็นการกลับไปหาองค์พระผู้เป็นเจ้า การชำระล้างนี้จะกินเวลานานสักเท่าใด? เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือวิสัยข
องเรามนุษย์ที่จะบอกได้ ดังนั้นเราจึงไม่อยู่ในขีดขั้นที่จะสามารถกำหนดเจาะจงไปได้ว่านานเท่าใด? และอยู่ที่ไหน? อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่ามีระยะเวลาหนึ่งและมีสถานที่แห่งหนึ่งที่วิญญาณเหล่านี้จะต้องชำระล้
างตนเองให้สะอาดหมดจนให้บริสุทธิ์เสียก่อนที่จะไปเชยชมพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าตลอดนิรันดร์ เราทุกคนสามารถช่วยเหลือเขาได้โดยอาศัยคำภาวนาต้องสวดให้นานแค่ไหน? กี่ปี? กี่เดือน? พวกเราไม่มีใครรู้ แ
ต่ที่สำคัญที่สุดสวดไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด
|