หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

คำแนะนำและการเชิญชวนของพระศาสนจักร
ในการสวดสายประคำ

          พระสงฆ์ควรจะเชิญชวนให้สัตบุรุษได้สวดสายประคำบ่อยๆหรือเป็นประจำได้ก็ดี พร้อมทั้งให้อธิบายถึงธรรมชาติและความสำคัญของการสวดสายประคำนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนแม่พระ (พฤษภาคมและตุลาคม)

          พระคุณการุญครบบริบูรณ์จะประทานให้กับผู้ที่สวดสายประคำครบสาย (50 เม็ด) อย่างต่อเนื่องพร้อมกับการรำพึงถึงธรรมล้ำลึกของสายประคำทุกๆสิบเม็ดด้วย โดยให้สวดในวัด หรือในครอบครัว หรือในหมู่คณะนักบวช หรือมีการรวมกลุ่มกันสวดเพื่อจุดประสงค์ที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง

    (Enchiridion of Indulgences, 1999 edition, concession 17)

          คำว่า “สายประคำ” โดยปรกติแล้วเรามักจะหมายถึง “สายประคำของคณะนักบวชดอมีนีกัน” ซึ่งเป็นกิจศรัทธาอย่างหนึ่งของการสวดออกเสียง หรือของการภาวนาแบบรำพึงไตร่ตรองก็ได้  การสวดสายประคำแบบครบสูตรจริงๆเป็นการสวดบท “วันทามารีย์” ๑๐ บท ๒๐ รอบด้วยกัน แต่ละรอบจะขึ้นต้นด้วยบท “ข้าแต่พระบิดาของเรา” และลงท้ายด้วยบท “สิริพึงมี” ระหว่างที่สวดแต่ละรอบนี้ ก็จะทำการรำพึงไตร่ตรอง “ธรรมล้ำลึก” ๑ ข้อ ซึ่งจะมุ่งความสนใจไปที่ “การเสด็จมารับสภาพมนุษย์” “ความสว่าง” “พระมหาทรมาน” และ “พระสิริรุ่งโรจน์” ขององค์พระคริสตเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นการสรุปหัวข้อสำคัญๆแห่งชีวิตของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ ทั้งเป็นการสรุปปีพิธีกรรมไปในตัว  เช่นเดียวกับพิธีกรรม การสวดสายประคำ เป็นการนำเสนอความจริงของคริสตศาสนาอย่างครบถ้วนตามลำดับ และมีพลังอย่างยิ่งในการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้กับผู้ที่สวดสายประคำ  การสวดสายประคำ เป็นการภาวนาถวายแด่พระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ เป็นการภาวนาที่นำไปหาพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นท่อธารแห่งพระหรรษทานทั้งปวง โดยอาศัยพระนางมารีย์

ความเป็นมา

          ความเป็นมาของการสวดสายประคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักบุญดอมีนิค(๑๑๗๐-๑๒๒๑) เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมามาก ตามธรรมประเพณีแห่งความเชื่อศรัทธา เราเชื่อว่าพระนางมารีย์ได้ประจักษ์มาหานักบุญดอมีนิค ขณะที่ท่านกำลังทำงานแพร่ธรร มอยู่ท่ามกลางพวก(เฮเรติ๊ก)อัลบีเจนซีส พระนางได้ทรงประทานสายประคำให้แก่ท่าน และได้สั่งท่านให้เทศน์สอนเรื่องสายประคำ พระนางได้ทรงสัญญาถึงความสำเร็จมากมายในงานแพร่ธรรมของท่าน ถ้าหากว่าท่านจะได้สวดสายประคำ ธรรมประเพณีที่ว่านี้ได้แพร่หลายไปทั่วตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๕ และได้รับการยอมรับโดยทั่วๆไป เพราะได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง จากผู้มีใจศรัทธาต่อการสวดสายประคำนี้ และเพราพระสันตะปาปาบางพระองค์ถึงกับได้ออกพ ระสมณสาสน์ว่าจะประทานพระคุณการุญหลากหลายแก่คนที่สวดสายประคำอีกด้วย

          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนับสนุนธรรมประเพณีดังกล่าวข้างต้นนี้ ไม่สามารถรวบรวมหาข้อพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือมาสนับส นุนเพิ่มขึ้น มีเพียงแต่บอกได้ว่า มีการปฏิบัติการสวดสายประคำอย่างเสรี ทั้งก่อนและระหว่างชีวิตของนักบุญดอมินิค แต่ข้อพิสูจน์ที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุด คือมีพระสันตะปาปาไม่น้อยกว่า ๑๐ พระองค์ที่ได้ทรงสนับสนุนการสวดสาย ประคำโดยการออกพระสมณสาสน์ แต่ว่ามิใช่เป็นการสอนประวัติของสายประคำ ทั้งมิใช่เป็นการพิสูจน์ว่าธรรมประเพณีที่ได้รับสืบทอดกันมาเป็นจริง เพียงแต่ได้กล่าวถึงการสวดสายประคำ ว่าเป็นความเชื่อศรัทธา พระสมณสาสน์ที่กล่าวถึง การประทานพระคุณการุญให้แก่ผู้ที่สวดสายประคำเป็นครั้งแรก คือพระสันตะปาปาอะเล็กซานเดอร์ที่ ๖ ซึ่งออกในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๔๙๕

          ทั้งยังได้มีการกล่าวอ้างว่า การสวดสายประคำมีกำเนิดมาจากวิธีการเทศน์สอนของนักบุญดอมีนิค คือโดยได้รับการดลใจจากพระนางมารีย์ นักบุญดอมีนิคได้อธิบายความจริงแห่งความเชื่อตามลำดับก่อนหลัง และเพื่อที่จะนำพระหรรษทานลงมาสู่บรรดาผู้ฟัง นักบุญได้เชื้อเชิญผู้ฟังให้ส วดบท “ข้าแต่พระบิดา” และ “วันทามารีย์”ระหว่างที่ท่านอธิบายข้อความเชื่อ แต่ว่าธรรมประเพณีที่ว่านี้ก็มีคนไม่มากนักที่ให้การสนับสนุน สรุปแ ล้วก็คือ เราไม่สามารถพบความเชื่อมโยงระหว่างนักบุญดอมีนิคกับสายประคำได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นในเอกสารประกาศแต่งตั้งท่านเป็นนักบุญ หรือในประวัติชีวิตของท่าน หรือในบทเทศน์ในวันฉลองของท่าน หรือแม้กระทั่งในธรรมนูญของคณะของท่านด้วย

          คำอธิบายที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เกี่ยวกับกำเนิดของสายประคำ น่าจะเป็นการวิวัฒนาการที่ค่อยเป็นค่อยไปของความศรัทธาภักดีต่อ พระคริสตเจ้า และต่อพระนางมารีย์ที่นำมาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน ความศรัทธาภักดีที่ว่านี้สามารถย้อนกลับไปสู่ศตวรรษที่ ๑๒ ที่อยากให้สัตบุรุษที่ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สามารถมีส่วนร่วมในพิธีกรรมได้  ดังนั้น การสวดบทข้าแต่พระบิดา ๑๕๐ บทแทนบทเพลงสดุดี ได้กลายเป็น “หนังสือทำวัตรของคนจน” แล้วบทข้าแต่พระบิดาก็ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มๆละ ๕๐ บท เหมือนกับบทเพลงสดุดีของกษัตริย์ดาวิด สายประคำจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สายประคำข้าแต่พระบิดา” และเม็ดประคำ มีไว้สำหรับนับจำนวนของบทภาวนาเหล่านี้ ต่อมาความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ ไ ด้มีแนวโน้มออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือสัตบุรุษที่มีความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ เฉลิมฉลองความปีติยินดีของพระนาง พลางสวัสดีพระนางด้วยบทเพลงขับร้องทางพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยบทวันทามารีย์ของทูตสว รรค์กาเบรียล เพราะเชื่อว่าเมื่อพวกเขากระทำเช่นนั้น พระนางจะมีความปีติยินดีเช่นเดียวกับที่พระนางมี ขณะทูตสวรรค์ได้มาแจ้งสารเรื่องการบังเกิดของพระบุตรพระเจ้า  ดังนั้นพวกเขาจึงได้ทวีบทวันทามารีย์เข้าไปในการสวดสายปร ะคำ เป็น ๕๐ เม็ด หรือ ๑๐๐ เม็ด หรือ ๑๕๐ เม็ด พร้อมกันนั้นคำทักทายของนางเอลีซาเบธ “เธอเป็นผู้มีบุญยิ่งกว่าหญิงใดๆ...” ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในบทวันทามารีย์ ถัดจากนั้นมาเล็กน้อยพระนามพระเยซูก็ได้ถูกผนวกเข้าไปด้วย

          วิวัฒนาการของธรรมล้ำลึกของสายประคำ ได้เกิดขึ้นในวิถีทางที่ขนานกันไป ระหว่างบทเพลงสดุดีพระเยซูคร ิสต์กับบทเพลงสดุดีพระนางพรหมจารีมารีย์ โดยการนำเอาบทเพลงสดุดีไปใช้กับพระคริสตเจ้าหรือพระมารดาของพระองค์ พร้อมทั้งผนวกถ้อยคำภาวนาที่กล่าวถึงพระเยซูเจ้าหรือพระนางมารีย์เข้าไปด้วย แต่ว่าในเวลาต่อมา บทเพลง สดุดีเหล่านี้ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาได้มีการพัฒนาถ้อยคำภาวนาออกมาเป็นช่วงชีวิตสั้นๆของพระเยซูเจ้า หรือของพระนางมารีย์ โดยเริ่มจาก การมาแจ้งข่าวการมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสต์จนถึงการได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ของ พระนางมารีย์ นอกนั้นการระลึกถึงความปีติยินดีต่างๆของพระนาง ก็ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ธรรมล้ำลึกต่างๆด้วย เริ่มแรกทีเดียว เฉพาะความปีติยินดีของการแจ้งข่าวการมาบังเกิดฯได้รับการรำลึกถึง แต่ในไม่ช้าได้มีการใช้ บทเพลงทางพิธีกรรมหรือแต่งคำภาวนาสั้นๆขึ้นมาใหม่ และได้ถูกนำเข้าไปรวมกับการสวดบทวันทามารีย์ ระหว่างที่สวดสายประคำ ก็จะทำการรำพึ งไตร่ตรอง ความปีติยินดีแห่งการมาแจ้งข่าวการมาบังเกิดฯ  ต่อมาเมื่อความศรัทธาภักดีต่อมหาทุกข์ของพระนางมารีย์ ได้เกิดขึ้นมาในระหว่างศตว รรษที่ ๑๔  การสวดสายประคำสายที่สองจึงได้ยกให้กับธรรมล้ำลึกข้อนี้ ส่วนการสวดสายประคำ ๕๐ เม็ดที่สาม จึงจำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องถูกยกให้กับธรรมล้ำลึกแห่งความปีติยินดีของเมืองสวรรค์

          ด้วยการพัฒนามาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนในลักษณะนี้ สายประคำ ๕๐-๑๐๐ หรือ ๑๕๐ เม็ด ที่รำพึงไตร่ตรองถึงธรรมล้ำลึก ก็ได้รับการประ กอบขึ้นมา จากชีวิตในหลายๆช่วงขององค์พระเยซูเจ้าและของพระนางมารีย์ ซึ่งได้รับการวิวัฒนาการมาจากบทเพลงสดุดีของพระเยซูเจ้าและพระ นางมารีย์ และได้รับการปะติดปะต่อเข้าไปกับการสวดบทวันทามารีย์ เป็นฤาษีคณะคาร์ทูเซียนที่ชื่อ ดอมีนิคแห่งปรัสเซีย ที่ได้นำเอาหนึ่งถ้อยคำภ าวนาต่อหนึ่งบทวันทามารีย์เข้ามาใช้ และได้ทำให้การสวดแบบนี้เป็นที่แพร่หลายตั้งแต่ปี ๑๔๐๙ เมื่อเขาได้นำเอาถ้อยคำภาวนา ๕๐ บทที่กล่าวถึงพระเยซูเจ้าและแม่พระ ผนวกเข้าไปกับ ๕๐ บทวันทามารีย์ กลุ่มของ ๕๐ บทภาวนานี้ได้ถูกเรียกว่า “หนึ่งสวนดอกกุหลาบ” อันเป็นที่มาของคำว่ำ “Rosarium” ในภาษาลาติน หรือ “Rosary” ในภาษาอังกฤษ ที่ใช้คำนี้ ก็เพราะว่าบรรดาผู้ศรัทธาภักดีต่อแม่พระ ได้ใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความปีติยินดีกับพระนาง ต่อมาภายหลัง ชื่อนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้กับการสวด ๕๐ บทวันทามารีย์

          ในขณะเดียวกันนั้น วิธีการสวดสายประคำแบบออกเสียงก็ได้มีวิวัฒนาการเหมือนกัน คือก่อนอื่นหมด ๑๕๐ บทวั นทามารีย์ได้ถูกรวมเข้ากับ ๑๕๐ บทข้าแต่พระบิดา โดยจะสวดบทวันทามารีย์ต่อด้วยบทข้าแต่พระบิดาสลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ และในต้นศตวรรษที่ ๑๕ เฮนรี คอลคาร์ ฤาษีคณะคาร์ทูเซียนซึ่งได้ออกไปเยี่ยมคริสตชนในพื้นที่ราบของแ ม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมันนี ได้ทำการสอดใส่ ๑ บทข้าแต่พระบิดาเข้าไปในแต่ละ ๑๐ บทวันทามารีย์ทั้ง ๑๕๐ บทวันทามารีย์ และได้ทำการแบ่ง ๕๐ บทวันทามารีย์ด้วย ๕ บทข้าแต่พระบิดา

          ดังนั้น จากต้นศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นไป การสวดสายประคำแบบที่ได้รับการผสมผสานกันนี้ ก็ได้เป็นที่ยอมรับ คือจะประกอบด้วยบทข้าแต่พระบิดา บทวันทามารีย์ และธรรมล้ำลึก สำหรับการรำพึงข้อธรรมล้ำลึกของสายประคำในเวลานั้น ยังเป็นการภาวนาแบบใช้อ่านเอา และผู้สวดสายประคำจะต้องมีหนังสือเล่มหนึ่งที่มีข้อรำพึงธรรมล้ำลึกทั้งหมดไ ว้ติดตัวอยู่เสมอ ดังนั้นการสวดสายประคำ จะไม่สามารถกลายเป็นกิจศรัทธาของสัตบุรุษโดยทั่วๆไปได้ ถ้าหากว่ายังไม่ได้รับการทำให้เรียบง่ายขึ้น  ตั้งแต่ปี ๑๔๘๐ สายประคำ ๑ สายที่มีการรำพึงไตร่ตรองธรรมล้ำลึก ๕๐ ข้อด้วยกัน ก็ได้ถูกลดลงมาเหลือ ๕ ข้อ คือธรรมล้ำลึก ๑ ข้อสำหรับ ๑๐ บทวันทามารีย์ และการสวดสายประคำครบสูตร(๓ สาย)จึงประกอบด้วยธรรมล้ำลึก ๑๕ ข้อเหมือนแบบที่เป็นอยู่ก่อนในขณะนี้ โดยมีการผนวกบทสิริพึงมี และท่อนหลังของบทวันทามารีย์ “สันตะมารีย์ มารดาพระเจ้า...” เข้าไปในกา รสวดสายประคำตั้งแต่การประจักษ์ของแม่พระที่เมืองฟาติมาในปี ๑๙๑๗ พระนางมารีย์ได้สอนให้เด็กทั้งสาม ได้ภาวนาเพิ่มเติมเข้าไปหลังทุก ๑๐ บทวันทามารีย์ว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรอภัยบาปของเรา ช่วยเราให้พ้นจากไฟนรก นำวิญญาณทุกดวงไปสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดวงวิญญาณที่ มีความต้องการมากที่สุด”พระสมณสาสน์เรื่อง “สายประคำ” ของพระสันตะปาปาปีโอที่ ๕ ในปี๑๕๖๙ และการนำเอาวันฉลอง “แม่พระแห่งสายประค ำ” ในปี ๑๕๗๓ เข้ามาในพระศาสนจักร ได้ช่วยสร้างมาตรฐานให้กับการสวดสายประคำ โดยได้นำเสนอให้การสวดสายประคำเป็นการผสมผสานของการสวดแบบออกเสียงและแบบรำพึงไตร่ตรอง ทั้งให้ถือว่าการรำพึงไตร่ตรองเป็นส่วนสำคัญของกิจศรัทธานี้

การแพร่หลายของการสวดสายประคำ

          แม้ว่านักบวชคณะคาร์ทูเซียน จะได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเรื่องการสวดสายประคำ แต่ก็เป็นนักบวชคณะดอมีนีกันที่ได้ทำกันเผ ยแพร่การสวดสายประคำ และได้ทำให้การสวดสายประคำเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่สัตบุรุษโดยทั่วๆไป นักบวชคณะดอมีนีกันได้ทำเรื่องการสวด สายประคำเป็นผลสำเร็จ ด้วยการออกหนังสือสายประคำ ด้วยการเทศน์สอน และด้วยการส่งเสริมสมาชิกภารดรภาพของการสวดสายประคำ (Rosary Confraternity) ต่อมาไม่ช้า นักบวชคณะอื่นๆก็ได้เข้ามาร่วมขบวนด้วย และนักบุญใหญ่ๆหลายองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักบุญปีเตอร์ คาน ีซีอุส นักบุญฟิลิป เนรี และนักบุญหลุยส์ มารีย์ เดอ มงฟอร์ต ได้กลายเป็นผู้ส่งเสริมตัวหลักของการสวดสายประคำ และโดยเริ่มจากพระสันตะปาปาเลโอที่ ๑๓ “พระสันตะปาปาของการสวดสายประคำ” ก็มีประสันตะปาปาอีกหลายๆพระองค์ได้พยายามที่จะเก็บรักษาการสวดสายประคำ ให้เป็น การภาวนาที่ตกทอดเป็นมรดกและให้เป็นประชานิยม รวมทั้งได้พยายามที่จะเผยแพร่การสวดสายประคำนี้ด้วย ได้มีการประทานพระคุณการุญมากมา ยให้กับผู้ที่สวดสายประคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประทานพระคุณการุญครบบริบูรณ์จากพระสันตะปาปาปีโอที่ ๑๑ ในปี ๑๙๓๘ สำหรับผู้ที่สวดสาย ประคำต่อหน้าศีลมหาสนิท และพระสันตะปาปาปีโอที่ ๑๒ ก็ได้ฝากฝังการสวดสายประคำนี้ให้กับบรรดาลูกๆของพระศาสนจักรด้วย

          สุดท้าย พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ ๒ ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๐๐๒ ได้ทรงออกสมณลิขิต “สายประคำของพระนางพรหมจารีมารีย์” (Rosarium Virginis Mariae) และได้ทรงประกาศให้เดือนตุลาคม ๒๐๐๒ ถึงเดือนตุลาคม ๒๐๐๓ เป็นปีแห่งการ สวดสายประคำ อันเป็นการเริ่มเฉลิมฉลองปีที่ ๒๕ แห่งสมณสมัยของพระองค์ และรำลึกถึงครบรอบ ๑๒๐ ปีแห่งสมณสาสน์ “Supremi Apostolatus Officio” ของพระสันตะปาปาเลโอที่ ๑๓(๑๘๘๔) พระองค์ทรงขอร้องบรรดา พระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกร ผู้ทำงานศาสนบริการ นักเทววิทยา นักบวชชายหญิง ครอบครัว

          คริสตชน คนป่วย คนสูงอายุ เด็กและเยาวชน ได้สวดสายประคำ และทำการส่งเสริมการสวดสายประคำนี้ด้ วยความเชื่อมั่นศรัทธา เพื่อจะได้รับพระพรอันอุดมจากพระหัตถ์ของพระนางพรหมจารีมารีย์ พระมารดาพระผู้ไถ่

          การสวดสายประคำ เริ่มต้นและลงท้ายด้วยวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป  ในประเทศสหรัฐอเมริก า การสวดสายประคำเริ่มด้วยการสวดบทข้าแต่พระบิดา ๑ บท วันทามารีย์ ๓ บท บทสิริพึงมี ๑ บท และลงท้ายด้วยการสวดบทวันทาพระราชินีและบทภาวนาของวันฉลองแม่พระสายประคำ  ส่วนนักบวชคณะดอมีนีกันจะเริ่มสวดสา ยประคำด้วยบทภาวนาเปิดพิธีทำวัตรเช้า  จริงๆแล้ว บทภาวนาเริ่มและบทภาวนาลงท้าย รวมทั้งบทสิริพึงมี มิได้เ ป็นส่วนที่จำเป็นของการสวดสายประคำ  ในขณะสวดสายประคำ โดยปรกติผู้สวดจะไม่มุ่งความตั้งใจไปที่บทสวดนั้นๆ แต่จะมุ่งการรำพึงไตร่ตรองอ ยู่ที่ธรรมล้ำลึกประจำ ๑๐ บทวันทามารีย์นั้นๆมากกว่า การรำพึงไตร่ตรองอาจจะทำทันทีก่อนหรือหลังจากสวดบทวันทามารีย์ ๑๐ บท

          ในพระสมณสาสน์ เรื่องการสวดสายประคำ ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงเขียนไว้ว่า “เนื่องจากการสวดสายประคำเริ่มต้นจ ากประสบการณ์ของพระแม่มารีย์ จึงเป็นการภาวนาแบบเพ่งพินิจที่วิเศษสุด ถ้าหากว่าการสวดสายประคำขาดมิติการเพ่งพินิจนี้แล้ว ก็จะไม่มีความห มายอะไรดังที่สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงเตือนไว้อย่างชัดเจนว่า “ถ้าการสวดสายประคำไม่มีการเพ่งพินิจ ก็เป็นเหมือนร่างกายไร้วิญญาณ และการสวดก็จะกลายเป็นการท่องสูตรอย่างเครื่องจักร” (การสวดสายประคำ ข้อ 12)

          การสวดสายประคำ ซึ่งเป็นการพูดซ้ำ การคาดคะเนล่วงหน้าถึงความเชื่อที่มีพลัง และความรักจริงใจต่อพระคริสตเจ้าพระผู้ไถ่กู้ และพระนางพรหมจารีมารีย์

          “การสวดสายประคำไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก วิธีการเพ่งพินิจแบบหนึ่ง ในฐานะที่เป็นวิธีการ จึงเป็นเพียงอุปกรณ์ ที่นำไปสู่จุดหมาย และจะเป็นจุดหมายไปไม่ได้ ถึงกระนั้นในฐานะที่เป็นผลจากประสบการณ์นานหลายศตวรรษ วิธีการนี้จะต้องไม่ถูกมองว่าไม่สำคัญ ประสบการณ์ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากเป็นพยานได้ในเรื่องนี้” (การสวดสายประคำ ข้อ 28)

          สายประคำ หรือ “มงกุฎดอกกุหลาบ” เป็นการสวดภาวนาแบบไตร่ตรองถึงชีวิตของพระเยซูเจ้า ซึ่งเกี่ยวพันกับกา รรำพึงไตร่ตรองเหตุการณ์ในพระวรสารถึงธรรมล้ำลึกที่เกี่ยวกับพระนางมารีย์ ”การสวดสายประคำมิใช่อะไรอื่นนอกจาก การเพ่งพินิจดูพระพักตร์ของพระคริสตเจ้าพร้อมกับพระแม่มารีย์” (การสวดสายประคำ ข้อ 3)

          การสวดสายประคำมีมานานหลายศตวรรษ “มีนักบุญจำนวนมากรักการภาวนาแบบนี้ พระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอนก็ส่งเสริมเชิญชวนคริสตชนให้ภาวนาด้วย” (การสวดสายประคำ ข้อ 1) บทรำพึงต่างๆในการสวดสายประคำอยู่บนพื้น ฐานของพระคัมภีร์ คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก และสมณสาสน์เรื่องการสวดสายประคำ ของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2

          สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงเพิ่มเติมมิติทาง คริสตวิทยาของสายประคำ โดยเพิ่ม “พระธรรมล้ำลึกแห่งความสว่าง” ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับพระชนมชีพเปิดเผยของพระคริสตเจ้า ด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถกล่าวได้อย่างแท้จริงว่า การสวดสายประคำเป็นการ “สรุปพระวรสาร”

การสวดสายประคำประกอบด้วย “พระธรรมล้ำลึก” ยี่สิบประการ (หมายถึงเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์) ได้รวมกลุ่มเป็น 4 ตอนคือ


     ธรรมล้ำลึกแห่งความปิติยินดี : วันจันทร์และวันเสาร์

       ข้อ 1.     ทูตสวรรค์มาแจ้งข่าวแก่พระนางมารีย์
       ข้อ 2.     พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ 
       ข้อ 3.     พระเยซูเจ้าประสูติ ณ เมืองเบ็ธเลเฮ็ม  
       ข้อ 4.     พระนางมารีย์ถวายพระเยซูเจ้าในพระวิหาร
       ข้อ 5.     พระนางมารีย์พบพระเยซูเจ้าในพระวิหาร
 

    
     ธรรมล้ำลึกแห่งความสว่าง : วันพฤหัสบดี

       ข้อ 1.     พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน
       ข้อ 2.     พระเยซูเจ้าเสด็จไปในงานมงคลสมรสที่หมู่บ้านคานา 
       ข้อ 3.     พระเยซูเจ้าทรงประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้า  
       ข้อ 4.     พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์
       ข้อ 5.     พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท
 

  
     ธรรมล้ำลึกพระทรมาน :  วันอังคารและวันศุกร์

       ข้อ 1.     พระเยซูเจ้าทรงเข้าตรีฑูตในสวนเกทเสมนี
       ข้อ 2.     พระเยซูเจ้าทรงถูกเฆี่ยน
       ข้อ 3.     พระเยซูเจ้าทรงถูกสวมมงกุฎหนาม  
       ข้อ 4.     พระเยซูเจ้าทรงแบกไม้กางเขน 
       ข้อ 5.     พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน 


ธรรมล้ำลึกพระสิริรุ่งโรจน์ :  วันพุธและวันอาทิตย์

       ข้อ 1.     พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ 
       ข้อ 2.     พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์    
       ข้อ 3.     พระจิตเสด็จลงมา    
       ข้อ 4.     พระนางมารีย์ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์
       ข้อ 5.     พระนางมารีย์ได้รับสวมมงกุฎในสวรรค์     

หน้าหลัก