หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

พี่น้องชายหญิงที่รัก

          ในโอกาสวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากล พ่อขอเชิญชวนพวกท่านให้ไตร่ตรองถึงความรีบด่วนอย่างต่อเนื่องในก ารประกาศข่าวดีในยุคสมัยของเรา ด้วยการส่งธรรมทูตออกไปอย่างต่อเนื่อง ว่าเป็นสิ่งที่ต้องกระทำก่อนอย่างแท้จริง เพื่อทุกคนที่ได้รีบศีลล้างบาปแล้วซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ผู้รับใช้และธรรมทูตของพระเยซูคริสตเจ้า” ในช่วงเริ่มพั นปีใหม่นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ข้ารับใช้ของพระเป็นเจ้า ผู้ทรงเป็นพระสันตะปาปาก่อนข้าพเจ้า ได้ทรงกล่าวไว้ในสมณสาร “การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน” ว่า  “การประกาศพระวรสารเป็นพระพรและกระแสเร ียกเฉพาะของพระศาสนจักร เป็นเอกลักษณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดของพระศาสนจักร” (ข้อ 4) ดังเช่น แบบอย่างของผู้แพ ร่ธรรมที่ได้รับมอบหมายหน้าที่นี้ ข้าพเจ้าขอชี้ให้ดูท่านนักบุญเปาโลเป็นพิเศษ ผู้เป็นธรรมทูตนานาชาติ เพราะปีนี้เป็นปีที่เราเฉลิมฉลองเป็นพิเศษแด่ท่าน ในปีนักบุญเปาโลนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะทำความคุ้นเคยกับอัครสาวกผ ู้มีชื่อเสียงท่านนี้ ผู้ซึ่งได้รับกระแสเรียกให้ประกาศข่าวดีแก่ชนต่างศาสนา ตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงแสดงแก่ท่านว่า “จงไปเถิด เราจะส่งเจ้าออกไปยังชนต่างศาสนาที่อยู่ห่างไกล” (กจ 22:21) ทำไมเราจึงจะไม่ใช้โอกา สเฉลิมฉลองแด่ท่านเป็นพิเศษนี้ เพื่อให้พระศาสนจักรท้องถิ่น กลุ่มคริสตชนและสัตบุรุษแต่ละคนได้เผยแพร่การประกาศข่าวดีไปจนสุดปลายแผ่นดิน เพราะอานุภาพของพระเป็นเจ้านำความรอดพ้นให้แก่ทุกคนที่มีความเชื่อ (เทียบ รม 1:16)

1. มนุษยชาติต้องการการปลดปล่อย

          มนุษยชาติต้องการการปลดปล่อยและการไถ่กู้  ดังที่ท่านนักบุญเปาโลกล่าวไว้ว่า สิ่งสร้างเองอดทนและยังมีความหวังที่จะได้รับอิส รภาพของบรรดาบุตรของพระเจ้า (เทียบ รม 8: 19-22) ถ้อยคำเหล่านี้เป็นความจริงในโลกปัจจุบันนี้ด้วย สิ่งสร้างเจ็บปวด สิ่งสร้างเจ็บปวดและรอคอยอิสรภาพที่แท้จริง กำลังรอคอยในสิ่งที่แตกต่าง รอคอยโลกที่ดีขึ้น กำลังรอคอย “การไถ่กู้” และลึก ๆ ลงไปนั้น สิ่งสร้างทราบดีว่าโลกใหม่นี้ซึ่งรอคอยจินตนาการถึงมนุษย์ใหม่ เป็นจินตนาการถึง “บรรดาบุตรของพร ะเป็นเจ้า” ให้เรามองดูสถานการณ์ของโลกปัจจุบันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในขณะที่ด้านหนึ่งก็แสดงให้เห็นภาพกว้าง ๆ ของความหวังข้างหน้าที่เป็นคำมั่นสัญญาทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในอีกด้านหนึ่งก็นำความกังวลและให้เพิ่มความสนใจเกี่ยวกับอนาคตของมนุษย์ การใช้ความรุนแรงในหลายกรณีสร้างรอยแผลแห่งความสัมพันธ์ระหว่ างบุคคลและประชาชน ความยากจนบีบคั้นพลเมืองหลายล้านคน การแบ่งแยกและในบางครั้งการข่มเหงเผ่าพันธุ์ และเพราะเหตุผลทางวัฒนธรรมและศาสนาก็ผลักดันให้ประชาชนจำนวนมากหลบหนีจากประเทศของตน เพื่อจะหาท ี่หลบภัยและการปกป้องจากที่อื่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเมื่อมิได้มีจุดประสงค์เพื่อศักดิ์ศรีและความดีของมนุษย์ หรือเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือกัน ก็จะสูญเสียศักยภาพที่เป็นปัจจัยของความหว ังและวิ่งเข้าหาอันตราย ในทางกลับกัน จะเป็นการเพิ่มภาวะที่ขาดความสมดุลและความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้น ยิ่งก ว่านั้นยังมีการคุกคามอย่างต่อเนื่องในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการไม่รู้จักระวังในการใช้ทรัพยากรต ามอำเภอใจ อันมีผลต่อสุขภาพทางกายและจิตใจของมนุษย์ อนาคตของมนุษย์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายจากภัยคุกคามต่อชีวิตของพวกเขาในหลายๆรูปแบบและวิธีการ

          แผนการก่อนหน้านี้  “การต่อสู้ระหว่างความหวังและความกังวล...และความยากลำบากตกต่ำลงด้วยความเป็นทุกข์” (พระธรรมนูญว่า ด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 4) ความห่วงใยใดที่เราถามตนเองว่า มนุษยชาติและสิ่งสร้างจะเป็นอย่างไร? มีความหวังในอนาคตหร ือไม่? หรือถ้าจะพูดให้ถูก มีอนาคตสำหรับมนุษยชาติหรือไม่? และอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไร? คำตอบของคำถามเหล่านี้สรุปได้สำหรับเราผู้มีความเชื่อ คือมาจากพระวรสาร พระคริสตเจ้าคืออนาคตของเรา ดังที่พ่อได้เขียนไว้ในสมณสาร “รอดพ้นด้วยความหวัง”(Spe Salvi) ว่า ข่าวดีของพระองค์ทำให้ “ชีวิตเปลี่ยนไป” เป็นการสื่อสารที่ให้ความหวัง ประตูแห่งอนาคตที่มืดอยู่ก็ถูกเปิดออก และให้ความสว่างกับ อนาคตของมนุษยชาติและสากลจักรวาล (เทียบ ข้อ 2)

          นักบุญเปาโลมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่า ในพระคริสตเจ้าเท่านั้นที่มนุษยชาติสามารถพบการช่วยให้รอดพ้นและความหวัง ดังนั้นท่า นจึงสัมผัสรู้ได้ว่าการแพร่ธรรมเป็นสิ่งรีบด่วนและเร่งรีบเพื่อประกาศ “พระสัญญาที่จะประทานชีวิตให้เราในพระคริสตเยซู” (2 ทธ 1:1) “ความหวังของเรา” (1 ทธ 1:1) ดังนั้น มนุษย์ทุกคนสามารถร่วมเป็นทายาทและผู้ร่วมงานตามพระสัญญาอาศัยข่าวดี (เทียบ อฟ 3:6) ท่านต ระหนักดีว่าปราศจากพระคริสตเจ้า มนุษยชาติ “อยู่ในโลกนี้โดยไม่มีความหวังและไม่มีพระเจ้า” (อฟ 2:12)  ไม่มีความหวัง เพราะไม่มีพระเจ้า (รอดพ้นด้วยความหวัง/Spe Salvi ข้อ 3) เป็นความจริงว่า “ทุกคนที่ไม่รู้จักพระเจ้า แม้ว่าเขาจะมีความหวังทุกชนิดก็ตาม ที่สุดแล้วเขาก็ไม่มีความหวังใด ๆ ไม่มีความหวังยิ่งใหญ่ที่ช่วยค้ำจุนทั้งชีวิตได้” (เทียบ อฟ 2:12 และเทียบ รอดพ้นด้วยความหวัง/Spe Salvi ข้อ 27)

2. การแพร่ธรรมเป็นการสอบถามถึงความรัก

          ด้วยเหตุนี้ หน้าที่อันเร่งด่วนสำหรับทุกคนคือ ประกาศพระคริสตเจ้าและสารแห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระองค์ นักบุญเปาโลกล่าวไ ว้ว่า “หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ” (1 คร 9:16)  ระหว่างทางไปเมืองดามัสกัสท่านได้รับประสบการณ์แล ะเข้าใจความหมายว่า การไถ่กู้และการแพร่ธรรม เป็นงานของพระเป็นเจ้าและความรักของพระองค์ ความรักของพระคริสตเจ้าชักจูงท่านให้เด ินทางไปทั่วท้องถนนของอาณาจักรโรมันในฐานะผู้ถือสาร ในฐานะธรรมทูต ในฐานะนักเทศน์ และในฐานะครูแห่งข่าวดีซึ่งท่านได้ประกาศว่า ตัวท่านเป็น “ทูตที่ถูกจองจำ” (อฟ 6:20) ความรักเมตตาของพระเป็นเจ้ากระทำให้ท่าน “เป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน...ใช้ทุกวิถีทางช่วยบางคนให้รอดพ้น” (1 คร 9:22)  จากการมองประสบการณ์ของท่านนักบุญเปาโล ทำให้เราเข้าใจได้ว่า กิจกรรมของบรรดาธรรมทู ตเป็นการตอบรับต่อความรักซึ่งพระเป็นเจ้าทรงรักเรา ความรักของพระองค์ไถ่กู้เราและปลุกเร้าเราสู่การแพร่ธรรมสู่นานาชาติ เป็นพลังฝ่ายจิตที่สามารถทำให้ความลงรอยกัน ความยุติธรรมและความร่วมมือก ันเติบโตขึ้นในระหว่างบุคคล เชื้อชาติและทุกคน อันเป็นสิ่งซึ่งทุกคนต้องการ (เทียบ พระเจ้าคือความรัก/Deus Caritas Est ข้อ 12) ดังนั้นพระป็นเจ้า ผู้ทรงเป็นความรัก ผู้ทรงนำพระศาสนจักรมาสู่วิวัฒ นาการใหม่ของมนุษยชาติและร้องขอผู้ประกาศพระวรสาร ให้ดื่ม “จากต้นตอแห่งลำธารอยู่เป็นนิจ ต้น ตอนั้นคือพระคริสตเจ้าซึ่งความรักแห่งพระเป็นเจ้าไหลออกมาจากดวงใจที่ถูกทิ่มแทงของพระองค์” ( พระเจ้าคือความรัก/Deus Caritas Est ข้อ 7) จากต้นตอนี้เท่านั้นที่สามารถเอาใจใส่ ห่วงใย เห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พร้อมสรรพแล ะให้ความสนใจต่อการดึงปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ออกมาแก้ไข เช่นเดียวกับคุณธรรมอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้ส่งสารของข่าวดี เพื่อละทิ้งท ุกสิ่งและอุทิศตนเองอย่างครบถ้วนและไม่มีเงื่อนไข เพื่อเผยแพร่กลิ่นหอมแห่งความรักเมตตาของพระคริสตเจ้าให้ออกไปทั่วโลก

3. ประกาศพระวรสารตลอดเวลา

          ในขณะที่การประกาศพระวรสารครั้งแรกยังคงดำเนินต่อไปซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนในหลายภูมิภาคของโลก ในปัจจุบัน ความขาดแคลนพระสงฆ์และกระแสเรียกที่ลดน้อยลง ทำให้เกิดความลำบากในหลายสังฆมณฑลและในคณะน ักบวชหลายคณะ จึงจำเป็นต้องยืนยันอีกว่า แม้ในขณะที่ความยากลำบากมีเพิ่มมากขึ้น พระบัญชาของพระคริสตเจ้าให้ประกาศพระวรสารแก่มนุษย์ทุกคนยังคงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำก่อนและอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะทำให้พระบัญชานี้อ่อนลงหรือหยุดนิ่งได้ เพราะ “งานประกาศพระวรสารแก่ชนทุกชาตินั้นเป็นหน้าที่สำคัญของพระศาสนจักร” (การประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน/Evangelii Nuntiandi ข้อ 14) เป็นพันธกิจซึ่ง “ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น เราจะต้องผูกพันตนรับใช้พันธกิจน ี้อย่างสุดพละกำลัง” (พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่/Redemptoris Missio ข้อ 1) เราจะไม่คิดถึงช าวมาสิโดเนีย ซึ่งปรากฏมาหาท่านนักบุญเปาโลในความฝันได้อย่างไร พวกเขาร้องขอนักบุญเปาโลว่า “ท่านจะไม่มาที่มาสิโดเนียเพื่อช่วยเราหรือ?” มีคนจำนวนนับไม่ถ้วนที่ยังกำลังร้องขอความช่วยเหลือจากบรรดาผู้ซึ่งได้สละทุกสิ่งเพื่อพระคริสตเจ้าและถ่ายทอดความเชื่อและความรักที่มีต่อพระอง ค์ให้กับประชาชน (เทียบ รอดพ้นด้วยความหวัง/Spe Salvi ข้อ 8)

4. หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ (1 คร 9:16)

          พี่น้องชายหญิงที่รัก “จงแล่นเรือออกไปในที่ลึก” ให้เราแล่นเรือออกไปในทะเลอันกว้างใหญ่ของโลก และติดตามคำเชื้อเชิญของ พระเยซูเจ้า ให้เราเหวี่ยงแหของเราออกไปโดยไม่ต้องกลัว มีความมั่นใจในความช่วยเหลืออย่างมั่นคงของพระองค์ นักบุญเปาโลเตือนเราว่ า ไม่มีเหตุผลใดที่จะอวดอ้างถึงการประกาศข่าวดี (เทียบ 1 คร 9 : 16) แต่ตรงกันข้าม เป็นหน้าที่และความปิติยินดี  บรรดาพระสังฆราชที่รัก ผู้กระทำตามแบบอย่างของท่านนักบุญเปาโลแต่ละท่านคงมีความรู้สึก “ถูกจองจำเพราะพระคริสตเยซูเพื่อคนต่างชาติ” (อฟ 3:1)  ทราบดีว่าท่านสามารถนับค่าความกล้าหาญที่พระองค์ประทานให้เราในความยากลำบากและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ พระสังฆราชเป็นผู้ได้รั บเจิมไว้ มิใช่เพื่อสังฆมณฑลของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อความรอดของทั้งโลก (เทียบ พระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่/Redemptoris Missio ข้อ 63) ดังเช่นนักบุญเปาโล พระสังฆราชได้รับเรียกให้ออกไปสู่ผ ู้ที่อยู่ห่างไกลและยังไม่รู้จักพระคริสตเจ้า หรือยังไม่ได้รับประสบการณ์ความรักที่เป็นอิสระของพระองค์ การได้รับมอบหมายหน้าที่ของพระสังฆราชคือ การทำให้ทั้งสังฆมณฑลเป็นชุมชนธรรมทูต ด้วยการใ ห้เงินช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ การส่งบรรดาพระสงฆ์และฆราวาสไปยังพระศาสนจักรอื่น ๆตามความเป็นไปได้ เพื่อบริการรับใช้ในการประกาศพระวรสาร ด้วยวิธีนี้ การแพร่ธรรมสู่นานาชาติกลายเป็นหน่ว ยเดียวกัน และหลักการที่ทำให้เกิดการบรรจบกันของงานอภิบาลทั้งหมด และกิจกรรมแห่งความใจกว้าง

          บรรดาพระสงฆ์ที่รัก ผู้ร่วมงานเอกของบรรดาพระสังฆราช จงเป็นผู้อภิบาลที่มีน้ำใจดี และเป็นผ ู้ประกาศพระวรสารที่มีความกระตือรือร้น ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ พวกท่านหลายคนได้ไปยังดินแดนมิสซังและสมณสาร Fidei Donum  ซึ่งได้ฉลองครบรอบ 50 ปีเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ข้ารับใช้ของพระเป็นเจ้า ซึ่งอยู่ในตำแหน่งก่อนพ่อได้ให้แรงผลักดันในการร่วมมือกันระหว่างพระศาสนจักรต่าง ๆ พ่อมั่นใจว่าความห่วงใยในเรื่องธรรมทูตของพระศาสนจักรท้องถิ่นต่าง ๆ จะลดน้อยลง แม้ว่าการขาดแคลนพระสงฆ์ซึ่งยังเป็นปัญหาลำบากอย่างมากสำหรับพวกเขาอยู่

          และบรรดานักบวชชาย-หญิงที่รัก ซึ่งมีกระแสเรียกเด่นชัดถึงการเป็นธรรมทูตที่เข็มแข็ง นำการประกาศข่าวดีไปสู่ทุกคน โดยเฉพาะอ ย่างยิ่งไปสู่ผู้ซึ่งอยู่ห่างไกล โดยทางการเป็นประจักษ์พยานซึ่งยึดมั่นต่อพระคริสตเจ้า และติดตามข่าวดีของพระองค์อย่างสุดชีวิต

          บรรดาสัตบุรุษฆราวาสที่รัก พวกท่านดำเนินการในพื้นที่ที่แตกต่างกันในสังคม ได้รับเรียกให้มีส่วนร่วมที่มีความสำคัญในการเพิ่มพู นวิถีทางในการเผยแผ่ข่าวดี พื้นที่ต่างแดนที่มีความสลับซับซ้อนและหลากหลายรูปแบบ ได้เปิดอยู่ต่อหน้าให้ทำการประกาศข่าวดี คือ โลก จงเป็นประจักษ์พยานด้วยการดำเนินชีวิตของพวกท่านว่าบรรดาคริสตชน “เป็นของสังคมใหม่อันเป็นเป้าหมายของการเดินทางจาริกร่วมกันและเป้าหมายที่ว่านี้ก็เป็นจริงล่วงหน้าแล้วในขณะนี้ ขณะที่กำลังเดินทางจาริกอยู่นี้” (รอดพ้นด้วยความหวัง/Spe Salvi ข้อ 4)

5. สรุป

          พี่น้องชาย-หญิงที่รัก ขอให้การฉลอง วันอาทิตย์แพร่ธรรมสากล  ปลุกเร้าทุกคนในเริ่มตระหนักใหม่อีกครั้งถึงความต้องการเร่งด่วนในการประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าขอชื่นชมด้วยความจริงใจในการให้การสนับสนุนสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธร รม (PMS) เพื่อกิจกรรมการประกาศพระวรสารของพระศาสนจักร ข้าพเจ้าขอขอบคุณพวกเขาในความช่วยเหลือที่พวกเขาได้มอบให้กับชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะสำหรับพระศาสนจักรที่ยังเยาว์ พวกเขาเป็นเครื่องมือที่ให้ผลตา มต้องการสำหรับปลุกเร้าและวิธีการ เพื่อประชากรของพระเจ้าในความคิดเห็นด้านการแพร่ธรรม พวกเขาบำรุงเลี้ยงการร่วมกันของบุคคลต่าง ๆ และสังหาริมทรัพย์ในระหว่างส่วนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร ขอให้เงินที่รวบรวมมา จากวัดต่าง ๆ ในวันแพร่ธรรมสากลเป็นเครื่องหมายของการติดต่อและความห่วงใยซึ่งกันและกัน ระหว่างพระศาสนจักรต่าง ๆ ประการสุดท้าย ขอให้คริสตชนสวดภาวนาให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เป็นวิถีทางฝ่ายจิตที่จำเป็นสำหรับแ ผ่กระจายความสว่างของพระคริสตเจ้าไปสู่มนุษย์ทุกคน “เป็นแสงสว่างแท้ เป็นดวงอาทิตย์ที่ปรากฏขึ้นเหนือเงามืดทั้งหมดในประวัติศาสตร์” (รอดพ้นด้วยความหวัง ข้อ 49) เช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าขอมอบแด่พระเป็นเจ้าในงานธรรมทูตของบรรดาธรรมทูต พระศาสนจักรต่าง ๆทั่วโลกและสัตบุรุษที่ก่อให้เกิดกิจกรรมการแพร่ธรรมต่าง ๆ มา กมายและขออ้อนวอนในการวอนขอแทนของท่านนักบุญเปาโล อัครสาวกและพระนางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ “หีบแห่งพันธสัญญาอันทรงชีวิต” ดวงดาราแห่งการประกาศพระวรสารและความหวัง
ขออวยพระมายังทุกคน

                                                                                                                                 จากสำนักวาติกัน
                                                                                                                               11  พฤษภาคม 2008


                                                                                                                                           แปลและเรียบเรียงโดย PMS

หน้าหลัก