หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร ในยามที่มนุษย์ต้องเผชิญกับนานาวิกฤติทางความเชื่อ สังคม สงครามและการเมือง พระเจ้าทรงส่งเหตุการณ์และบุคคลจำนวนมากมาช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นอยู่เสมอ เช่นในศตวรรษที่ 17 พระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์แกนักบุญมาร์การีตา มารีย์ อาลาก็อก พร้อมทรงมอบภารกิจให้เผยแผ่ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัย เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตจิตของคริสตชนทั่วไป โดยใช้กิจปฏิบัติที่เรียบง่าย ซึ่งได้เผยแผ่ไปในพระศาสนจักรอย่างรวดเร็วและยังปฏิบัติ กันจนถึงทุกวันนี้ และในศตวรรษที่ 20 ก็เช่นกันพระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่นักบุญโฟสตีนา โควัลสกา พร้อมทรงมอบภารกิจให้เผยแผ่สารและกิจศรัทธาต่อพระเมตตาของพระเจ้าซึ่งเป็นที่ยอมรับในพระศาสนจักรสาก ล รวมทั้งในประเทศไทยปัจจุบัน คนหลายล้านคนทั่วโลกรักและรู้จักนักบุญโฟสตีนาว่า เป็นธรรมทูตผู้ป่าวประกาศพระเมตตาของพระเจ้าแก่มนุษย์

           เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คริสตชนตั้งคำถามว่า ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้ามีควา มสัมพันธ์กับความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระเมตตาของพระเจ้าหรือไม่ ความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองนี้เป็นคู่แข่งที่สัตบุรุษจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่หรือควรปฏิบัติไปได้พร้อม ๆ กัน พระศาสนจักรควรส่งเสริมความเลื่ อมใสศรัทธาทั้งสองนี้หรือ สัตบุรุษบางคนที่คุ้นเคยและปฏิบัติความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยตามธรรมประเพณีที่ยาวนานของพระศาสนจักร อาจจะรู้สึกว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีความเลื่อมใสศรัทธาใหม่นี้ เพราะดูเหมือนว่ าเป็นการซ้ำความศรัทธาต่อพระหฤทัยแต่สัตบุรุษบางคนคิดตรงกันข้าม เขาอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องปฏิบัติกิจศรัทธาแบบเก่าต่อพระหฤทัย แต่ควรปฏิบัติกิจศรัทธาต่อพระเมตตาแทนความศรัทธาโบราณนั้นละเว้นไปได้เลย

           ความจริงนักบุญทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งนักบุญมาร์การีตา มารีย์ และนักบุญโฟสตีนาไม่แยกความศรัทธาทั้งสองนี้ ท่านเห็นว่ าความศรัทธาต่อพระหฤทัยและต่อพระเมตตาต้องคู่กันอยู่เสมอแยกจากกันไม่ได้ พระศาสนจักรจึงควรส่งเสริมกิจศรัทธาทั้งสองแบบ

           นักบุญโฟสตีนาก็ได้รับการอบรมในกิจศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และในข้อเขียนของท่านเรา สังเกตเห็นว่าท่านคิดถึงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าอยู่เสมอพระหฤทัยเป็นเครื่องหมายความรักของพระเจ้า  เช่นท่านบันทึกไว้ว่า"ความรักของพระเจ้าคือดอกไม้  พระเมตตาของพระองค์คือผล"(ไดอารี่948)หรือเมื่อท่านพิศเ พ่งพระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขนก็บันทึกว่า "โอ้ พระโลหิตและน้ำ ซึ่งหลั่งมาจากพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นท่อธารพระเมตตาเพื่อลูกทั้งหลาย ลูกวางใจในพระองค์"(ไดอารี่ 84) และยังบันทึกไว้อีกว่า "พระเยซูเ จ้าทรงนำข้าพเจ้าให้อยู่ชิดสนิทกับพระองค์จนดวงใจของข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระหฤทัยของพระองค์ เป็นเอกภาพด้วยความรัก ข้าพเจ้ารู้สึกความเคลื่อนไหวของพระหฤทัยนั้น และพระองค์ทรงสัมผัสการเต้นของหัวใจ ข้าพเจ้า"(ไดอารี่1056)ทำนองเดียวกันจากข้อเขียนของนักบุญมาร์การีตา มารีย์ เราพบข้อความที่กล่าวถึงพระเมตตาแห่งพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ดังนั้นความศรัทธาทั้งสองแบบจึงแยกจากกันไม่ได้

           ความศรัทธาต่อพระเมตตาของพระเจ้าเป็นการพัฒนาความเลื่อมใสต่อพระหฤทัยนั่นเอง คือเป็นชีวิตจิต ที่มีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลางในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองแบบดึงดูดความสนใจของสัตบุรุษให้สนใจมองพระหฤทัยของพระผู้ไถ่ อย่างไรก็ตามความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับสารและภ าพวาดของพระเยซูเจ้า ดังนั้น เราจึงควรพิจารณาถึงลักษณะที่คล้ายคลึงกันและที่แตกต่างกันเสียก่อน หลังจากนั้น เราจึงจะพิจารณาความเลื่อมใสศรัทธาที่ประสานทั้งสองธรรมประเพณีของพระศาสนจักรด้วยกัน

           

           1.1 ความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองแบบได้รับแรงกระตุ้นจากการเปิดเผยที่พระเยซูเจ้าประทานแก่นักบวชหญิง 2 ท่านดังนี้

           - ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยสืบมาจากนักบุญมาร์การีตา มารีย์ อาลาก๊อก (1647-1690) ผู้ได้เห็นนิมิตของพระเยซูเจ้าที่อารา มปาเรย์ เลอ โมนีอัลในประเทศฝรั่งเศส

           - ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระเมตตาของพระเจ้ามาถึงเราผ่านทางนักบุญโฟสตีนา โควัลสกา (1905-1938)ผู้ได้เห็นนิมิตของพระเยซูเจ้าที่เมืองกราโกฟในประเทศโปแลนด์

           1.2 สารของนักบวชทั้งสองท่านเชิญชวนเราให้มีความไว้วางใจที่ไม่มีขอบเขตในพระเมตตาและความรักของพระเจ้าเราพบแหล่งที่มา ของความรักเมตตานี้ในพระหฤทัยของพระผู้ไถ่ นั่นคือ

           - บทภาวนาสั้น ๆ ที่แสดงความปรารถนาแรงกล้าของสัตบุรุษที่เราพบในความศรัทธาต่อพระหฤทัยนั้นคือ "พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์" เป็นบทภาวนาที่สัตบุรุษใช้กันมากตลอดศตวรรษที่19-20 ดังนั้น เราพบความเมตตากรุณาที่นักบุญโฟสตีนาเขียนไว้ประกาศในข้อเขียนนักบุญมาร์การีตา มารีย์ เช่นเดียวกันนักบุญมาร์การีตาเน้นว่าเราต้องมีความไว้ใจและความหวังในพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า เพราะเป็นบ่อเกิดและเป็นดังเหวลึกของพระเมตตา

           - บทภาวนาสั้น ๆ ที่นักบุญโฟสตีนาสั่งให้เขียนบนพระรูปของพระเยซูเจ้าว่า"พระเยซูเจ้าข้า ลูกวางใจในพ ระองค์"เน้นเป็นพิเศษว่า สภาพของจิตใจที่รู้ว่าตนเป็นคนบาปและขอพระเมตตาของพระเจ้าทำให้ความไว้วางใจนี้เป็นลักษณะที่เด่นของความเลื่อมใสศรัทธา นักบุญโฟสตีนาย้ำเสมอว่า ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้พระเยซูเจ้าได้รับการ ลบหลู่มากกว่าการที่เราขาดความไว้วางใจในพระองค์ ทำนองเดียวกันความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยนั้นเรียกร้องให้มีความไว้วางใจแต่ความแตกต่างคือความไว้วางใจเป็นผลของความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัย ส่วนคว ามเลื่อมใสศรัทธาต่อพระเมตตาเรียกร้องความไว้วางใจเป็นข้อตั้งหลัก

           1.3 พระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่นักบุญทั้งสองในฐานะที่ทรงกลับคืนพระชนมชีพ

           - นักบุญมาร์การีตา มารีย์เขียนไว้ว่า "พระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้น่ารักของลูกทรงสำแดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์มีรอยแผ ลศักดิ์สิทธิ์ที่ส่องแสง ราวกับเป็นพระอาทิตย์ที่ออกมาจากพระธรรมชาติมนุษย์ของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทรวงอกของพระองค์ซึ่งเหมือนเป็นกองไฟ เมื่อเปิดออกแล้วพระองค์ทรงเปิดเผยพระหฤทัยที่น่ารัก ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเปลวไฟ

           - นิมิตของนักบุญโฟสตีนาออกมาจากทรวงอกของพระเยซูเจ้าเหมือนกับเสื้อขาว มีน้ำและพระโลหิตไหลออกมาเหมือนรัศมีของแสง สว่าง อย่างไรก็ตามพระองค์เป็นพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ไม่ใช่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกำลังรับทรมานบนไม้กางเขน

           1.4 นักบุญทั้งสองท่านได้รับภารกิจเร่งด่วนในการเผชิญความยากลำบากและความต้องการของประชาชนในสมัยของตน

           - พระเยซูเจ้าตรัสกับนักบุญมาร์การีตา มารีย์ ว่า"บัดนี้ เราจะควบคุมไฟแห่งความรักของเราไม่ไหวแล้วเราจะต้องเผยแผ่ไปทั่วโลกทา งเธอ"พวกเราคงจำได้ว่าในสมัยของนักบุญองค์นี้ พระศาสนจักรมีปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับลัทธิยันเซนส์ที่สอนให้ผู้มีความเชื่อต้องหวาดกลัวพระเจ้า แต่สารของนักบุญองค์นี้ต่อต้านความรู้สึกเฉยเมยของคริสตชนต่อพระเจ้า

           - นักบุญโฟสตีนาเห็นว่าวิธีช่วยมนุษย์ที่ทำสงครามอย่างไร้ความเมตตาให้มีใจเมตตากรุณาคือการพิจารณารำพึงพระเมตตาของพระเ จ้าเพื่อตนเองและเพื่อมนุษยชาติ เพราะขณะนี้โลกเต็มไปด้วยความชั่วร้าย ยารักษาโรคมีอยู่ชนิดเดียวคือพระเมตตาของพระเจ้า

           

           2.1 วัตถุประสงค์ของความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองแตกต่างกันดังต่อไปนี้

           - สารของนักบุญโฟสตีนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้คริสตชนมีความรู้และแสดงคารวกิจต่อพระเมตตาของพระเจ้า พระเมตตานี้เป็นคุณลัก ษณะของพระตรีเอกภาพ

           - สารของนักบุญมาร์การีตา มารีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คริสตชนมีความรู้และแสดงคารวกิจต่อพระบุตรผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์คือพร ะเยซูคริสตเจ้า

           2.2 วัตถุที่ใช้แสดงคารวกิจ

           - นักบุญโฟสตีนาเสนอให้ใช้ภาพของพระเมตตาที่พระเยซูเจ้าทรงพระบัญชาให้เขียนตามนิมิต

           - นักบุญมาร์การีตา มารีย์ใช้ภาพพระหฤทัย คือดวงใจมนุษย์ที่เป็นเนื้อหนังของพระเยซูเจ้าดังที่พระองค์ทรงสำแดงในนิมิต

           2.3 แก่นแท้ของความเลื่อมใสศรัทธา

           - แก่นแท้ของคารวกิจต่อพระเมตตาคือความไว้วางใจ

           - ส่วนนักบุญมาร์การีตา มารีย์ ได้รับการเปิดเผยให้ทำกิจการใช้โทษบาปเหมือนกับว่าต้องบรรเทาพระห ฤทัยของพระเยซูเจ้าที่ทรงได้รับการล่วงเกิน การลบหลู่จากมนุษย์

           2.4 สารเกี่ยวกับการเรียกร้อง

           - สารของนักบุญมาร์การีตา มารีย์ เรียกร้องให้คริสตชนแสดงความศรัทธา โดยดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ถ วายตนแด่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าในทัศนคติที่เป็นเครื่องบูชาชดเชยบาป

           - ความศรัทธาต่อพระเมตตาของพระเยซูเจ้าเรียกร้องให้คริสตชนต้องแสดงความเมตตาต่อผู้อื่น การแ สดงความเมตตาต่อผู้อื่นคือความรัก เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ มิฉะนั้นแล้ว ก็เปรียบเสมือนว่า เราตัดตนเองออกจากพระพรของพระเจ้า นักบุญโฟสตีนาบันทึกพระวาจาที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า "เราสั่งให้ท่านต้องทำเมตตากิจ ซึ่งต้องออกมาจากความรักที่มีต่อเราต้องแสดงความรักต่อพี่น้องอยู่เสมอ และในทุกวิถีทาง ไม่ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งนี้และอย่าหาข้อแก้ตัว" (ไดอารี่ 742)ความศรัทธาแท้ต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเคยกระตุ้นให้มนุษย์แสด งความรักต่อผู้อื่นเช่นกัน อย่างไรก็ตามเราจะเห็นความแตกต่างกันของคำเรียกร้องนั้นคือ สารของนักบุญโฟสตีนาเรียกร้องที่จะแสดงเมตตากิจต่อผู้อื่นอย่างชัดเจนและเป็นอันดับแรก

           2.5 กิจศรัทธาทั้งสองต้องแสดงความปรารถนาที่จะมีวันฉลองในปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร

           - นักบุญมาร์การีตา มารีย์ได้ขอให้พระศาสนจักรกำหนดให้มีวันหนึ่งที่จะชดเชยบาปเป็นพิเศษ คือวันศุกร์หลังจากวันสมโภชพระกายแ ละพระโลหิตของพระเยซูเจ้า

           - นักบุญโฟสตีนาได้ขอให้พระศาสนจักรกำหนดให้วันอาทิตย์แรกหลังวันสมโภชปัสกาเป็น “วันฉลองพระเมตตา”

           2.6 พระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องให้นักบุญทั้งสองตั้งใจเป็นพิเศษในบางเวลาของแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์

           - พระองค์ทรงขอให้นักบุญมาร์การีตา มารีย์คิดถึงพระองค์ โดยมีส่วนร่วมในความทุกข์ที่สวนเกทเสมนี ทุกเย็นวันพฤหัสตั้งแต่ 23.00 น.-24.00 น.

           - พระเยซูเจ้าทรงขอให้นักบุญโฟสตีนาทำทุกอย่างเพื่ออยู่กับพระองค์ทุกวันตั้งแต่บ่ายสามโมงถึงบ่ายสี่โมง โดยมีเจตนาที่จะอยู่กับพร ะองค์ในความทุกข์ทรมาน และขอบพระคุญพระเยซูเจ้าเพราะสิ้นพระชนม์ที่เนินเขากลโกธา

           2.7 พระเยซูเจ้าทรงขอให้นักบุญทั้งสองท่านเผยแผ่ความศรัทธานี้โดยใช้รูปวาดของความรักที่เป็นรูปธรรม

           - พระเยซูเจ้าทรงสั่งนักบุญโฟสตีนาอย่างเจาะจงมากกว่านักบุญมาร์การีตา มารีย์ ให้วาดพระรูปตามรูปแบบที่พระองค์ทรงบันดาลให้ท่ านเห็น โดยบันทึกประโยคที่ว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้าลูกวางใจในพระองค์”

           - สำหรับภารกิจของนักบุญมาร์การีตา มารีย์ พระองค์ทรงมีความปรารถนาให้วาดพระรูป แต่ไม่ให้รายละเอียดอย่างเจาะจง ทรงบอกเพี ยงแต่ว่าคริสตชนที่ตั้งและถวายเกียรติพระรูปของพระหฤทัยจะได้รับพระพรจากพระองค์

           2.8 นักบุญทั้งสองท่านได้รับภารกิจให้เผยแผ่ความปรารถนาที่จะรับความรอดพ้นโดยอาศัยความเลื่อมใสศรัทธาและกิจศรัทธาบางอย่างที่มีพระพรพิเศษ

           - ในกรณีของนักบุญมาร์การีตา มารีย์ วิธีการนี้คือการรับศีลมหาสนิทในวันศุกร์ต้นเดือนเพื่อเป็นการชดเชยบาป

           - สำหรับนักบุญโฟสตีนาคือสวดสายประคำพระเมตตา

           2.9 พระเยซูเจ้าทรงสัญญาว่า พระองค์ทรงอวยพระพรทุกคนที่ช่วยเผยแผ่ภารกิจความศรัทธานี้

           - สัตบุรุษได้จัดพิมพ์คำสัญญาของพระเยซูเจ้า 12 ประโยค ที่คัดมาจากข้อเขียนของ นักบุญมาร์การีตา มารีย์จนถึงทุกวันนี้

           - พระสัญญาที่พระเจ้าให้แก่นักบุญโฟสตีนาที่รู้จักกันดีคือ "สำหรับผู้ที่เผยแผ่พระเมตตาของเรา เราจะไ ม่เป็นผู้พิพากษาแต่จะเป็นผู้มีใจเมตตาช่วยให้รอดพ้น"

           2.10 ชีวิตจิตที่มีศูนย์กลางในศีลมหาสนิท

           - นักบุญมาร์การีตา มารีย์ เขียนไว้ว่า “จงนำคำภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงถวายแทนเราในพิธีบูชาขอบพร ะคุณมาถวายแด่พระบิดาเจ้า"นักบุญมาร์การีตาจึงให้กำลังใจเราเพราะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยกับวิธีการต่าง ๆ ที่เน้นการกระทำด้วยการภาวนา การที่เรารู้จักถวายตนแด่พระเยซูเจ้า ถวายพระองค์แด่พระบิดาบนพระแท่นบูชา

           - ส่วนนักบุญโฟสตีนากำหนดให้การสวดสายประคำของพระเมตตา หลังจากแต่ละข้อมีบทภาวนาที่ให้ก ำลังใจแก่ทุกคนให้เขารู้จักถวายตนพร้อมกับพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทว่า “ข้าแต่พระบิดานิรันดร ลูกขอถวายแด่พระองค์ซึ่งพระกาย พระโลหิต พระวิญญาณ และพระเทวภาพแห่งพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ พระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของลูกทั้งหลาย เ พื่อชดเชยบาปของลูกและของชาวโลกทั้งมวล”

           2.11 ในด้านการปฏิบัติความแตกต่างที่น่าสังเกตคือ

           - สำหรับนักบุญโฟสตีนาบทภาวนาวอนขอพระเมตตาจากพระเจ้ามักจะเน้นการชดเชยบาปที่มนุษย์ทั่วไปได้กระทำ และเป็นการขอให้ พระบิดาเจ้าทรงแสดงพระเมตตาต่อประชาชนโดยอาศัยพระบารมีของพระเยซูเจ้าผู้ทรงรับทรมานเพื่อวอนขอพระเมตตา ดังนั้นบทภาวนานี้จึ งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างพระตรีเอกภาพกับผู้อธิษฐานภาวนาวอนขอพระเมตตาสำหรับผู้อื่น พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเมตตาของพระเจ้าที่รับธรรมชาติมนุษย์ ทรงเป็นคนกลาง นำพระพรต่าง ๆ ของพระเมตตานั้น

           - ความเลื่อมใสศรัทธาของนักบุญมาร์การีตา มารีย์เน้นการชดเชยบาปที่เราส่วนตัวได้กระทำต่อพระเยซูเจ้าเพราะความเย็นเฉย โดยเฉ พาะอย่างยิ่งไม่เพียงบาปที่เรากระทำโดยความเย็นเฉยต่อพระพรของศีลมหาสนิท นักบุญโฟสตีนาทูลขอพระบิดาเจ้าโดยอ้างพระบารมีของพ ระทรมานของพระเยซูเจ้า ส่วนนักบุญมาร์การีตา มารีย์ เห็นว่าเราขออภัยโทษพระเยซูเจ้าเป็นความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพระเยซูเจ้ามากกว่าการคิดถึงพระเมตตาของพระบิดา

           ในปี ค.ศ. 1956 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงประกาศว่า "เมื่อเรายอมรับความจริงที่เป็นแก่นแท้นี้แล้ว เราก็ตระหนักว่า พระ หฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็นพระหฤทัยของพระบุคคลพระเจ้า คือพระวจนาตถ์ผู้ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ และพระหฤทัยนี้เป็นเครื่องหมายแสดงค วามรักที่พระองค์ทรงเคยมีและยังทรงมีต่อเราด้วย ดังนั้น คารวกิจที่เราทั้งหลายถวายแด่พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้าจะต้องสมพระเ กียรติในฐานะที่หมายถึงคริสตศาสนาทั้งหมด  ซึ่งเป็นศาสนาของพระเยซูเจ้าที่มีศูนย์กลางในบุคคลที่เป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้า เราทั้งหลายไ ม่สามารถบรรลุถึงพระหฤทัยของพระเจ้าได้หากไม่ผ่านทางพระหฤทัยของพระเยซูคริสตเจ้า  ดังที่พระองค์ตรัสว่า “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา” (พระสมณสาสน์ "จงตักน้ำ" 106)

           เนื่องด้วยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงสั่งสอนอย่างชัดเจนว่า ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยเป็นการแสดงความเชื่ออย่างสมบูรณ์แ ล้ว เราต้องเห็นว่าความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระเมตตานั้นต้องอยู่ภายในความศรัทธาต่อพระหฤทัย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แตกต่างกันหรือแยกจากกัน แต่ต้องอยู่ภายในกันและกัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว นักบุญโฟสตีนาก็ได้รับการอบรมและ สั่งสอนให้กระทำกิจศรัทธาต่อพระหฤทัยก่อนที่จะได้เน้นความเมตตาของพระเจ้า การเน้นสิ่งใหม่หรือลักษณะใหม่เปรียบเหมือนการกระจายของสีต่าง ๆ ในแท่งปริซึมเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับข้อเขียนในจดหมายของนักบุญเป าโลถึงชาวเอเฟซัสว่า"จะได้เข้าใจถึงความกว้าง ความยาว ความสูง ความลึกอีกทั้งหยั่งรู้ซึ้งถึงความรักซึ่งเกินกว่าจะหยั่งรู้ได้ของพระคริสตเจ้า" (อฟ 3:18-19)

           ความเลื่อมใสศรัทธาทั้งสองนี้ไม่เป็นคู่แข่งกัน แต่ช่วยเราให้เข้าใจความรักของพระเยซูเจ้ามากยิ่งขึ้น เร าต้องขอบพระคุณพระเจ้าที่ทรงเปิดเผยความจริงนี้แก่เรา แน่นอนการเปิดเผยสมบูรณ์แล้วในพันธสัญญาใหม่ แต่ความเข้าใจคำสอนที่พระเยซูเจ้าทรงสั่งสอนจะคงยังมีต่อไป และพระองค์พอพระทัยที่จะสำแดงองค์แก่นักบุญ มาร์การีตา มารีย์ และนักบุญโฟสตีนาเพื่อทรงแสดงความปรารถนาของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง และเพื่อเราจะได้รู้จักความรักของพระองค์

           เนื่องจากมนุษย์เป็นคนขี้ลืม  เรามักจะลืมหรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติกิจการที่แสดงความรักต่อพระองค์ และลืมที่จะประกาศความจริงที่เ ป็นแก่นแท้ของคริสตศาสนา ดังนั้น พระเมตตาของพระเจ้าจึงเปรียบเสมือนความสว่างส่องแสงในความมืดของชีวิต ในความผิดหวัง ในการปฏิเสธความรักหรือแม้แต่การปฏิเสธข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้า เพื่อให้มนุษย์มีความสงบสุขและสมหวังตลอดไป

หน้าหลัก