3.การเพิ่งพินิจภาวนาของนักบวชผู้สนิทสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า
นักบุญออกัสติน
(354-430) เป็นคนแรกที่เริ่มรำพึงถึงธรรมล้ำลึกด้านข้างพระวรกายที่ถูกแทง โดยใช้การเพ่งพินิจภาวนา ในบทเทศน์อธิ บายบทที่ 19 ของพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น ท่านเขียนไว้ว่า ผู้ประพันธ์พระวรสารได้ใช้คำที่สำคัญมาก ไม่ได้กล่าวว่า ทหารได้ตีด้านพระวรกาย หรือ ทำให้ด้านข้างพระวรกายเป็นแผล หรือใช้สำนวนอื่นๆ แต่ใช้คำว่า เปิดด้านข้างพระวรกายของพระองค์ ผู้ประพันธ์ใช้คำว่า เปิด เพื่อชี้ให้เห็นชัดว่าประตูแห่งชีวิตถูกเปิดออก ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ของพระศาสนจักรได้ถือกำเนิดมาจากประตูแห่งชีวิตนี้ และปราศจากศีลศักดิ์สิทธิ์ เราทั้งหลายไม่อาจเข้าถึงชีวิต ซึ่งเ
ป็นชีวิตที่แท้จริงเพียงชีวิตเดียวเท่านั้น
ในสมัยกลาง ความคิดนี้ประทับใจบรรดานักบวชผู้ดำเนินชีวิตสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า เชิญชวนให้คริสตชน
พิศเพ่งภาวนาแทบเชิงพระบาทของพระเยซูเจ้าผู้ทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน เป็นการเพ่งพินิจภาวนาโดยมีจิตใจกราบนมัสการพระองค์ เป็นทุกข์ถึงบาปและรู้คุณ การเพ่งพินิจภาวนาเช่นนี้จะช่วยให้เข้าใจความหมายของความรักที่
พระเยซูเจ้าทรงแสดง และเป็นวิธีตอบสนองความปรารถนาที่จะเข้าสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวอย่างใกล้ชิดกับพระองค์ด้วยความรัก
ในศตวรรษที่ 13 นักบุญบอนาแวนตูรา นักบวชคณะฟรังซิสกันเขียนหนังสือ เถาองุ่นทิพย์ มีประโยคหนึ่ง
ซึ่งผู้ดำเนินชีวิตจิตที่มีพระหฤทัยเป็นศูนย์กลางมักจะอ้างถึงบ่อย ๆ ว่า พระองค์แสดงพระหฤทัยที่มีชีวิต เหมือนกับว่าเป็นดวงใจที่มีความรักเป็
นบาดแผล และเต้นด้วยความรักที่ร้อนแรงมากกว่าคราวที่ถูกแทงด้วยหอกของทหารโรมัน เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ดวงหฤทัยของพระองค์ถูกแทงเป็นบาดแผลเพื่อว่า โดยอาศัยรอยแผลที่มองเห็นนี้ เราจะเห็นแผลแห่งความรักที่มองไม่เห็นของพระองค์ด้วย
|