7. พระสมณสาสน์เกี่ยวกับพระหฤทัย
ในปี 1856
พระสันตะสำนักอนุญาตให้คริสตชนทั่วโลกทำวันฉลองพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระสันตะปาปาทุกองค์ทรงส่งเสริมความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยอย่างเป็นทางการ ในปี 1899 สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13
ทรงประกาศพระสมณสาสน์ ปีศักดิ์สิทธิ์ (Annum Sacrum) ทรงอธิบายหลักการทางเทววิทยาของการมอบถวายตน (consecration) แด่พระหฤทัยขอ งพระเยซูเจ้า โดยเน้นเป็นพิเศษว่า กิจการใด ๆ ที่แสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า เป็นการแสดงความเคารพต่อ
พระบุคคลของพระเยซูเจ้าโดยตรงอย่างแท้จริง
ในปี 1928 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ พระผู้ไถ่ผู้ทรงเมตตากรุณา
อย่างยิ่ง (Miserentissimus Redemptor) ทรงย้ำคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 เกี่ยวกับการมอบถวายตนแด่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และทรงอธิบายเพิ่มเติมว่า ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยยังต้อ
งมีลักษณะการชดเชยบาป พระองค์ยังทรงนิยามคารวกิจต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าว่า เป็น แก่นแท้ทั้งหม
ดของศาสนาคริสต์ และยังเป็นบรรทัดฐานการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์แบบ เพราะความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระ
หฤทัยกระตุ้นใจเราให้รักพระเยซูเจ้าอย่างแรงกล้ายิ่งขึ้น และชวนเราให้ปฏิบัติตามพระฉบับของพระองค์ด้วยใจกว้าง
ในปี 1956 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ จงตักน้ำ (Haurietis
Aquas) ทรงปกป้องความถูกต้องของคารวกิจนี้จากผู้ที่ไม่ยอมรับ และทรงชี้แนะแนวทางแห่งการปฏิรูปความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัย เพราะทรงยอมรับว่าวิธีปฏิบัติของคริสตชนหลายครั้งมีข้อบกพร่องและอาจจะเสี่
ยงต่อข้อความเชื่อของพระศาสนจักร สำหรับพระองค์คารวกิจต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าเป็น การยืนยันและการปฏิบัติศาสนาคริสต์อย่างถูกต้อง เพราะเป็นการเคารพความรักของพระเจ้า ที่พระเยซูเจ้าทรงสำแดงแก่เรา และเป็นการแสดงความรักของเราต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ บรรดาสัตบุรุษต้องแสวงหาความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้าจากพระคัมภีร์ จากธรรมประเพณี และจ
ากพิธีกรรม ประดุจจากสายน้ำใสบริสุทธิ์ หากเขาอยากรู้ซึ้งถึงธรรมชาติแท้ของความศรัทธานี้ และอยากได้รับอาหารเลี้ยงความกระตือรือร้นและความมั่นคงในศาสนา (100)
ในปี 1979 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ประกาศพระสมณสาสน์ฉบับแรก พระผู้ไถ่มนุษย์ (Redemptor Hominis) ทรงอ้
างโดยตรงถึงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าว่า การไถ่บาปมนุษย์ในความหมายที่ลึกซึ้งที่สุดก็คือ ความยุติธรรมบริบูรณ์ ในพระหฤทัยของมนุษย์
คือพระหฤทัยของพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า เพื่อความยุติธรรมของพระองค์จะกลายเป็นความยุติธรรมในใจของมนุษย์มากมาย
ผู้ถูกเรียกให้มารับความรัก (9)
เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ยังเป็นพระคาร์ดินัล ทรงเขียนหนังสือที่มีชื่อว่า จงมองผู้ที่ถูกแทง พระองค์จึงทรงแสดง
ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยอย่างลึกซึ้ง จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ในปีแรกของสมณสมัยพระองค์ ก็ทรงเขียนพระสมณสา สน์เกี่ยวกับควา
มรักของพระเจ้า ในแง่ที่ว่าความรักเป็นธรรมชาติของพระเจ้า
ในปี 2005 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ พระเจ้าทรงเป็นความรัก (Deus Caritas Est) ทรงอธิบายว่า การเป็นคริสตชนไม่ได้เป็นผลของการปฏิบัติธรรมหรือเป็นความคิดที่
ลึกซึ้ง แต่เป็นการพบกับเหตุการณ์หรือบุคคลซึ่งเปิดมิติใหม่และให้แนวทางที่แน่นอนแก่ชีวิต บุคคลนั้นคือพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้า พระคัมภีร์เล่าประวัติศาสตร์ความรักของพระเจ้าว่าพระองค์เสด็จมาพบเรา ท
รงหาวิธีต่าง ๆ ที่จะชนะใจเรา จนถึงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูเจ้ากับบรรดาศิษย์ จนถึงพระหฤทัยที่ถูกแทงของพระองค์บนไม้กางเขน จนถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแสดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ แ
ละกิจการยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงนำทางแก่พระศาสนจักรแรกเริ่ม โดยอาศัยการกระทำของบรรดาอัครสาวก (17)
ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยจึงเตือนเราให้ระลึกว่า พระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์ สุดจิตใจ โดยความสมัครพระทัยและความก
ระตือรือร้น พระองค์ทรงสอนเราว่า เราต้องทำความดีด้วยความยินดี เพราะ การให้ย่อมเป็นสุขมากกว่าการรับ(กจ 20:35) และ พระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยใจยินดี (2 คร 9:7) การกระทำเช่นนี้ไม่มาจากความตั้งใจของมนุษย์ แต่เป็นพระหรรษทานที่พระเยซูเจ้าทรงมอบแก่เรา เป็นข
องประทานจากพระจิตของพระองค์ ทำให้ทุกสิ่งเป็นเรื่องง่ายและค้ำจุนชีวิตประจำวันของเรา แม้ในเวลาถูกทดลองและเผชิญกับยากลำบาก
|