หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           ประวัติของนักบุญเยโรมส่วนมากมักจะเริ่มด้วยการกล่าวว่า ท่านเป็นนักปราชญ์ของพระศาสนจักรซึ่งมีความรอบรู้ด้านพระคัมภีร์มากที่สุด ท่านเป็นผู้แปลพระคัมภีร์จากภาษาฮีบรูและกรีก เป็นภาษาลาติน ซึ่งสภาสังคายนาแห่งเมืองเทรนท์(1545-1563) ประกาศให้เป็นฉบับที่ใช้ในพระศาสจักร ท่านเป็นหนึ่งในสี่ท่านที่เป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของพระศาสนจักรตะวันตก เพราะท่านได้มอบเป็นมรดก ทางด้านความคิดต่างๆของท่านให้แก่พระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทของการศึกษาด้านพระคัมภีร์

           นักบุญเยโรมเป็นนักผู้โต้แย้งตัวยงของพระศาสนจักร ท่านเป็นคนพูดจาเปิดเผยตรงไปตรงมา โ ดยไม่เกรงกลัวคำตำหนิติเตียนของบรรดาคริสตชนที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน ท่านโกรธง่าย แต่ก็รู้สึกเสียใจทันทีหลังจากนั้น รูปภาพของท่านบางรูปแสดงให้เห็นว่าท่านกำลังเอาก้อนหินทุบหน้าอก ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์หนึ่งตรัสว่า “ท่านทำถูกที่ถือก้อนหิน เพราะถ้ามิเช่นนั้นพระศาสนจักรคงไม่มีวันแต่ งตั้งท่านเป็นนักบุญ”

ชีวิตช่วงต้นๆ

           ชื่อเต็มๆของนักบุญเยโรมคือ ยูเซบิอุส ฮีเอโรนิมุส โซโฟรนิอุส ท่านเกิดในปี 342 ที่เมืองสตรีดอนอันเป็นเมืองเล็กๆ อยู่ใกล้กับเ มืองอาควีเลยา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี ภาษาบ้านเกิดของท่านคือ ภาษาอิลลิเรียน ท่านถูกส่งไปรับการศึกษาที่กรุงโรม ที่กรุงโรมนี้เองที่ท่านสามารถพูดภาษาลาตินและกรีกได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านอ่านวรรณคดีของทั้งสองภาษาได้อย่างเพลิ ดเพลิน ขณะอยู่ที่กรุงโรม ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ในภายหลังว่าท่านได้สูญเสียความศรัทธาในศาสนาที่ท่านได้รับการอบรมมาจากทางบ้าน แต่ท่านได้เริ่มสนใจในการไปเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพของบรรดามรณสักขีในสุสานใต้ดินและชอบดูภาพวาดจารึกต่างๆที่อยู่บนกำแพงของสถานที่ฝังศพของบรรดามรณสักขีเหล่านั้น ท่านได้รับศีลล้างบาปเมื่ออายุ 18 ปี โดยพระสันตะปาปาลีเบรีอุส

           นักบุญเยโรมเป็นผู้ที่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จึงทำให้ท่านออกจากกรุงโรม เพื่อที่จะออกไปสำรวจส่วนต่างๆของโลก โดยมีท่า นโบโนซุส เพื่อนในวัยเด็กเป็นเพื่อนร่วมทาง ท่านเริ่มเดินทางไปยังอาควีเลยา ที่ซึ่งท่านได้รู้จักกับรูฟีนุส ฤาษีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักเทววิทยา ในภายหลังได้กลายเป็นศัตรูตัวแสบของท่าน หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปยังเทรียร์ ประเทศฝรั่งเศส ณ ที่นี้เอง ที่ท่านได้ตื่นตัวในเรื่องศาสนา ทำให้ท่านเลิกการแสวงหาทางโลกทุกอย่างและอุทิศตนเองให้กับพระเป็นเจ้า ท่านเป็นนักวิชาการและได้ทำการคัดลอกหนังสือบางเล่มของนักบุญฮิลารี แห่งปัวเทียรส์ และท่านได้เริ่มสะสมหนังสือต่างเพื่อทำเป็นห้องสมุดของตนเอง

           ท่านได้กลับไปยังเมืองอาควีเลยา ที่ซึ่งพระสังฆราชนักบุญวาเลเรียน ประมุขของสังฆมณฑล เป็นผู้ ที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้คนจำนวนมาก และเมืองนี้ก็ได้เป็นสังฆมณฑลที่ผลิตพระสงฆ์นักบวชที่มีชื่อเสียงจำนวนหนึ่งไปทั่วพระศาสนจักรตะวันตก หลังจากนั้นสองสามปี เพราะมีความขัดแย้งกันบางอย่างเกิดขึ้ น นักบุญเยโรมจึงบ่ายหน้าไปทางตะวันออกพร้อมกับเพื่อนๆอีกหลายคน และหลังจากเดินทางไปยังกรุงเอเธนส์ บิทาเนีย กาลาเทีย ปอนทุส คัปปาโดเชีย และซิลิเซีย ท่านและเพื่อนๆได้ไปถึงเมืองอันทิโอ๊คของซีเรีย ในราวปี 374

           ที่เมืองอันทิโอ๊คนี้เอง เพื่อนร่วมทางสองคนของท่านได้เสียชีวิตลงขณะกำลังเดินทาง ส่วนท่านนักบุญเยโรมเองก็ได้ล้มป่วยล งและเพื่อนคนที่สามของท่านก็ได้เดินทางกลับอิตาลี ภายหลังท่านได้เขียนจดหมายถึงนักบุญเอวสโทคีอุม โดยบอกว่า ระหว่างที่ท่านมี อาการเพ้อเพราะไข้ขึ้นสูง ท่านได้เพ้อฝันไปว่าท่านได้ไปยืนอยู่ต่อหน้าพระบัลลังก์ของพระคริสตเจ้า เพื่อฟังคำพิพากษาตัดสินของพระองค์ พระคริสตเจ้าตรัสถามว่า “ท่านเป็นใคร” ท่านตอบว่า “ผมเป็นคริสตชน” พระองค์ตรัสว่า “เจ้าโกหก เจ้าเป็นคนของชิเชโร เจ้าไม่ใช่คริสตชน เพราะสมบัติของเจ้าอยู่ที่ใด หัวใจของเจ้าก็อยู่ที่นั่นด้วย” ซึ่งเป็นการประฌามสิ่งที่ท่านนักบุญเยโรมชอบ คือ ท่านชอบอ่านวรรณกรรมของพวกปราชญ์เมธีชาวโรมันมากกว่าผลงานเขียนของบรรดานักเขียนคริสตชน

           ดังนั้น นักบุญเยโรมจึงได้ย้อนกลับไปอยู่ในถิ่นทุรกันดารที่เมืองคัลชิส ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองอันทิโอ๊คประมาณ 50 ไมล์ ที่นี่ ท่านไ ด้ใช้ชีวิตแบบฤาษีนักพรตอยู่ 4 ปี โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาเล่าเรียนและมีชีวิตที่เคร่งครัดในวินัยส่วนตัว สิ่งหนึ่งที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนคือภาษาฮีบรู ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับท่านในภายหลังที่จะแปลพระคัมภีร์จากภาษาฮีบรูเป็นภาษาลาติน ท่านได้เ ขียนชีวประวัติของนักบุญเปาโล แห่งธีบีส ในระหว่างสี่ปีนี้ ท่านเจ็บป่วยหลายครั้งและได้รับความทุกข์ทรมานจากการถูกประจญในเรื่อง ความบริสุทธิ์ ท่านได้อธิบายถึงการถูกประจญนี้และการสู้รบปรบมือกับมันในจดหมายของท่านถึงนักบุญเอวสโทคีอุม

           พระศาสนจักรที่เมืองอันทิโอ๊ค ถูกบั่นทอนให้อ่อนแอลงด้วยการโต้แย้งเรื่องข้อคำสอนและระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และถูกแบ่งอ อกเป็นสามฝักสามฝ่าย ฝ่ายหนึ่งก็คือบรรดาฤาษีแห่งทะเลทรายคัลชีสซึ่งต้องการให้นักบุญเยโรมเป็ฯฝ่ายเดียวกับตน ท่านจึงได้เขียนข อคำแนะนำจากสมเด็จพระสันตะปาปาดามาซูส แต่ท่านมิได้รับคำตอบแต่อย่างไรจากพระองค์ ท่านจึงเขียนไปหาพระองค์อีกครั้ง และใ นครั้งนี้เชื่อว่าท่านน่าจะได้รับคำตอบ  ถึงแม้คำตอบจะไม่มีหลักฐานหลงเหลืออยู่ก็ตาม ไม่ว่พระสันตะปาปาดามาซูสจะมีคำตอบเช่นใด นักบุญเยโรมก็ลงเอยเห็นด้วยกับพระอัครสังฆราชเปาลีนุส ซึ่งเป็นประมุขของอัครสังฆมณฑลอันทิโอ๊คในขณะนั้น เมื่อท่านออกจากทะเลทราย ท่านได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์จากพระอัครสังฆราชเปาลีนุส ท่านยินยอมบวชเป็นพระสงฆ์เฉพาะภายใต้เงื่อนไขที่ว่าท่านจะไม่ขอรับใช้พระศาสนจักรใดๆ จึงเป็นที่เชื่อกันว่าท่านไม่เคยถวายบูชามิสซา

ชีวิตช่วงกลาง

           หลังจากที่ท่านได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ในปี 380 ท่านได้เดินทางไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล ที่ซึ่งท่านได้ศึกษาเล่าเรียพระคั มภีร์กับนักบุญเกรโกรี แห่งนาซีอานส์ (329-389) เมื่อนักบุญเกรโกรีได้ลาออกจากการเป็นพระอัครสังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิ ลในปี 382 แล้ว นักบุญเยโรมจึงได้เดินทางกลับไปยังกรุงโรมพร้อมกับพระอัครสังฆราชเปาลีนุสแห่งอันทิโอ๊ค เพื่อเข้าร่วมประชุมสภาสังคายนาที่สมเด็จพระสันตะปาปาดามาซูสจัดขึ้น เพื่อจัดการกับเรื่องการแตกแยกที่เมืองอันทิโอ๊ค นักบุญเยโรมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเ ลขานุการในสภาสังคายนาครั้งนี้ และเป็นที่ประทับใจของสมเด็จพระสันตะปาปา พระองค์จึงให้ท่านอยู่ที่กรุงโรมต่อและทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ด้วย

           ขณะที่ท่านรับใช้สมเด็จพระสันตะปาปาดามาซูสในฐานะเลขานุการส่วนพระองค์อยู่นั้น พระองค์ทร งขอให้ท่านนักบุญเยโรมช่วยปรับปรุงแก้ไขพระคัมภีร์ภาคพระธรรมใหม่จากต้นฉบับเดิมที่เป็นภาษากรีกให้เป็นภาษาลาติน ท่านยังได้ปรับปรุงบทเพลงสดุดีที่เป็นภาษาลาตินอีกด้วย และเมื่อท่านมีเวลาว่างจากงานแ ปลพระคัมภีร์ ท่านก็ใช้เวลานั้นสนับสนุนในการก่อตั้งกลุ่มสตรีสูงศักดิ์ของกรุงโรมให้ดำเนินชีวิตบำเพ็ญพรต ในบรรดาสตรีเหล่านี้ บางท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญ ที่สำคัญในบรรดาสตรีเหล่านี้คือนักบุญเปาลาและเบลสซิลลาบุตรสาว ส่วนนักบุญเอวสโทคีอุมบุตรชายก็เป็นผู้ซึ่งท่านนักบุญได้เขียนจดหมายไปหาหล ายฉบับด้วยกัน

           พระสันตะปาปาดามาซูส (366-384) ได้สิ้นพระชนม์ หลังจากนักบุญเยโรมมาอยู่ที่กรุงโรมได้เพียงสองปี ในช่วงระยะเวลาสองปี นี้ ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านเป็นที่เลื่องลือในเรื่องของวิชาความรู้และความศักดิ์สิทธิ์ แต่การเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมาของท่านก่อใ ห้เกิดศัตรู ท่านได้เขียนต่อต้านบรรดาสตรีและสมาชิกบางท่านในคณะสงฆ์ของกรุงโรม ในจดหมายนั้นท่านเขียนว่า “ความห่วงใยทั้งปว งของพวกท่านอยู่ที่เครื่องแต่งกาย... ท่านควรจะใช้มันเพื่อเจ้าบ่าว (= พระเยซูเจ้า) ก็จะเป็นการดีกว่าที่จะเป็นนักบวช สิ่งทั้งหลายทั้งป วงที่พวกท่านคิดถึงคือเรื่องของการรู้จักชื่อ รู้จักบ้านและรู้จักพฤติกรรมของบรรดาสุภาพสตรีที่ร่ำรวย (เท่านั้น)” เพื่อเป็นการตอบโต้สิ่งที่ท่านเขียน ท่านจึงถูกโจมตีเรื่องความเรียบง่ายของท่าน แม้กระทั่งการเดินและการยิ้มของท่านก็มีคนวิพากษ์วิจ ารณ์ มีการนินทาว่าร้ายถึงมิตรภาพอันเป็นที่สดุดของท่านกับนักบุญเปาลา สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งกรุงโรม

           หลังจากพระสันตะปาปาดามาซูส สิ้นพระชนม์ในปี 384 พระสันตะปาปาซิริชีอุส ทรงได้รับเลือกให้เป็นพ ระสันตะปาปาองค์ต่อมา นักบุญเยโรมจึงตัดสินใจว่าจะเป็นการดีกว่า ถ้าท่านกลับไปยังภาคพื้นตะวันออก สถานที่แห่งแรกที่ท่านเดินทางไปก็คือไซปรัส แล้วนั้นก็ต่อไปยังเมืองอันทิโอ๊ค ที่เมืองอันทิโอ๊คนี้เองที่นักบุญเปาลา เอวสโทคีอุมและบรรดาสตรีชาวโรมันอื่นๆได้ร่วมเดินทางไปกับท่านด้วย บรรดาสตรีเหล่านี้ได้ตัดสินใจที่จะติด ตามนักบุญเยโรมไปยังแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาได้ย้ายมาอยู่ยังที่เมืองเบธเลเฮม ณ ที่นี้ นักบุญเปาลาได้ให้เงิ นทุนเพื่อสร้างอารามให้นักพรตชายใกล้กับพระวิหารพระเยซูเจ้าบังเกิดและสร้างบ้านสำหรับหมู่คณะสตรีสามกลุ่ม โดยนักบุญเปาลาเป็นผู้นำกลุ่มหนึ่ง หลังจากเธอสิ้นชีวิตแล้ว นักบุญเอวสโทคีอุมได้รับตำแหน่งเป็นผู้นำกลุ่ม ต่อมา แต่นักบุญเยโรมเลือกที่จะอาศัยอยู่ในถ้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด ถ้ำของนักบุญเยโรมเป็นสถานที่ที่บรรดาผู้แสวงบุญมักจะชอบมาเยี่ยมเยียนจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านได้เปิดโรงเรียนและบ้านพักสำหรับแขกผู้มาแสวงบุญที่เมืองเบธเลเฮมด้วย

ชีวิตช่วงปลาย

           นักบุญเยโรมใช้ชีวิตในบั้นปลายของท่านที่เมืองเบธเลเฮม คือตั้งแต่ปี 390-410 และได้แปลพระคัมภีร์จากภาษาฮีบรูและกรีกเป็นภาษาลาตินจนเสร็จ อันเป็นงานซึ่งท่านได้เริ่มเมื่ออยู่ที่กรุงโรม หลังจากการแปลพระคัมภีร์ภาคพระธรรมใหม่จากภาษากรีกเป็นภาษา ลาตินแล้ว ท่านก็แปลพระคัมภีร์ภาคพระธรรมเดิมเป็นภาษาลาตินจากภาษาฮีบรูโดยตรง เมื่อท่านเรียนรู้ว่าหนังสือโทบิตและส่วนหนึ่งข องหนังสือดาเนียลเป็นภาษาคัลเดีย ท่านจึงเรียนภาษานี้ด้วย หนังสือที่ท่านไม่ได้แปลคือหนังสือปรีชาญาณ หนังสือปัญญาจารย์ หนังสือบารุค และหนังสือมัคคาบี เล่ม 1 และเล่ม 2

           และผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ท่านได้ทำก็คือท่านได้เขียนคำอธิบายพระคัมภีร์ภาคพระธรรมเดิมและภาคพระธรรมใหมนักบุญเยโรมได้สานต่องานเขียนประวัติศาสตร์พระศาสนจักรของท่านยูเชบีอุส แห่งซีซาริยาห์ (260-339) และได้ทำจนถึงปี 378 ท่านได้ตีพิมพ์หนังสือ”บุรุษผู้มีชื่อเสียง” (De Viris Illustribus) โดยได้น ำเสนอนักเขียนชั้นนำของพระศาสนจักรหลายๆท่านด้วยกันในสมัยนั้น ได้แปลผลงานเขียนบางชิ้นของท่านโอริเจน (184-253) ท่านได้เขียนจดหมายจำนวนมากมายซึ่งรวมกันเป็นหนังสือเล่มโตๆได้ 3 เล่มด้วยกัน และได้เขียนตำราข้อโต้แย้งประเภทต่างๆ หนังสือตำราข้อโต้แย้งต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นข้อโต้แย้งกับลัทธิข องอารีอุส ลัทธิของโอริเจนและลัทธิของเพลาจีอุส เพราะนักบุญเยโรมไม่สามารถทนและนิ่งเฉยดูดายกับผู้ที่สอนนอกรีตได้

           การโต้เถียงอย่างหนึ่งคือ เรื่องการเป็นพรหมจารีเสมอตลอดกาลของพระนางมารีย์ ขณะอยู่ที่กรุงโรม นักบุญเยโรมได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งโต้แย้งที่เฮลวีดิอุสบอกว่าพระนางมารีย์มิได้เป็นพรหมจารี เพราะพระนางมีบุตรคนอื่นๆอีกกับนักบุญยอแซฟหลังจากการได้ให้กำเนิดพระคริสตเจ้าแล้ว ความคิดนี้โยวิเนียนได้เป็นผู้น ำเสนอขึ้นมาอีกและปัมมาคีอุสซึ่งเป็นบุตรเขยของนักบุญเปาลา ได้ส่งข้อเขียนบางส่วนของโยวิเนียนมาให้นักบุญเยโรมดู ท่านจึงได้เขียนหนังสือ 2 เล่มเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับโยวิเนียน ท่านได้มีท่าทีที่เอาจริงเอาจังในการสนับสนุนความเป็นพรหมจารีของพระนางมารีย์ ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าท่านเกลียดชีวิตการแต่งงานและเรียกการแต่งงานว่าเป็นความชั่วร้าย ถึงกับกล่าวว่ าแม้การเป็นมรณสักขีก็ยังไม่สามารถลบล้างมลทินของการแต่งงานนี้จากสตรีได้ เมื่อปัมมาคีอุสถูกกระทำให้ขุ่นเคืองด้วยเรื่องนี้ นักบุ ญเยโรมก็ได้เขียนคำขอโทษต่อปัมมาคีอุส โดยได้อ้างคำพูดในงานเขียนของท่านก่อนหน้านั้นเพื่อแสดงว่าท่านมองการแต่งงานว่าเป็นสิ่งดี ควรให้เกียรติและให้ความเคารพ

           การโต้เถียงอีกเรื่องหนึ่งกับพระสงฆ์ชาวโกล(ฝรั่งเศส)คนหนึ่ง ชื่อวิจิลันซีอุส (นักบุญเยโรมใช้คำพูดถากถางเรียกเขาว่าดอร์มัน ซีอุส ซึ่งแปลว่าเซื่องซึม ตรงข้ามกับวีจิลันซีอุสซึ่งแปลว่าเฝ้าระวัง) เกี่ยวกับเรื่องของการถือโสดของพระสงฆและการให้ความเคารพนับถือต่อพระธาตุของบรรดานักบุญ นักบุญเยโรมปกป้องการถือโสด โดยบอกว่าฤาษีควรจะต้องวิ่งหนีจากการถูกประจญล่อลวงและอันตรายต่างๆที่ไม่ดี เมื่อพวกเขาไม่มั่นใจในพละกำลังของตนเองที่จะสามารถต้านทานการถูกประจญนั้น ส่วนในเรื่องการให้ความเคารพต่อพระธาตุของบรรดานักบุญ ท่านบอกว่าไม่มีคริสตชนคนใด ที่จะนมัสการบรรดามรณสักขีเป็นเหมือนกับพระเจ้าหรือกราบนมัสการพระธาตุของท่าน แต่การที่คริสตชนให้ความเคารพบรรดานักบุญเหล่านั้น เพราะว่าการแสดงความเคารพนี้ จะสะท้อนกลับไปหาพระเจ้านั่นเอง
ปรปักษ์ของนักบุญเยโรมในการโต้แย้งกับลัทธิของออริเจน คือเพื่อนเก่าของท่านเองที่ชื่อรูฟินุส ซึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม อันที่จริงนักบุญเยโรมเป็นผู้ที่นิยมชมชอบท่านออริเจนเป็นอย่างมาก แต่ท่านนักบุญเองรู้สึ กว่ามีความผิดหลงอะไรบางประการที่เข้าไปอยู่ในงานเขียนของท่านโอริเจน รูฟินุสถึงกับกุลีกุจอยืนยันถึงอำนาจบารมีของท่านออริเจน การโต้เถียงกันระหว่างนักบุญเยโรมกับรูฟินุส ทำให้ทั้งสองกลายมาเป็นศัตรูกัน อันทำให
้นักบุญออกัสติน (354-430) รู้สึกเป็นทุกข์ใจอย่างมาก

           จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้นักบุญออกัสตินได้เรียนรู้ว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะทำขัดใจนักบุ ญเยโรม ดังนั้นนักบุญออกัสตินเองจึงไม่อยากที่จะไปโต้เถียงเรื่องอะไรต่างๆกับนักบุญเยโรม ได้เกิดเหตุการ ณ์ที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้ก่อน จากการที่นักบุญออกัสตินไม่เห็นด้วยกับนักบุญเยโรมในบทที่ 2 ของจดหมายขอ งนักบุญเปาโลที่เขียนถึงชาวกาลาเทีย ซึ่งทำให้นักบุญเยโรมรู้สึกโกรธเคือง นักบุญออกัสตินได้ใช้กลยุทธ์หลายอย่างที่จะทำให้ความโก รธของนักบุญเยโรมผ่อนคลายลง แต่ว่าเหตุการณ์กลับเลวร้ายลงไปอีก เมื่อจดหมายของนักบุญเยโรมไปไม่ถึงนักบุญออกัสติน นักบุญเ ยโรมรู้สึกเหมือนถูกหมิ่นประมาทที่นักบุญออกัสตินไม่ยอมตอบจดหมายของท่าน จึงรู้สึกโกรธเคืองเป็นอย่างมาก แต่นักบุญออกัสตินได้ตอบอย่างนุ่มนวลและถ่อมตัวว่า “ข้าพเจ้าขออ้อนวอนท่านครั้งแล้วครั้งเล่า ให้ว่ากล่าวข้าพเจ้าได้อย่างตรงไปตรงมา เมื่อท่านเห็นว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่ในจุดที่ไม่ถูกต้องในสายตาของท่าน แม้ว่าตำแหน่งพระสังฆราช (= นักบุญออกัสติน) นั้นสูงกว่าตำแหน่งสงฆ์ (= นักบุญเยโรม) กระนั้นก็ดี ออกัสตินก็ยังให้ความเคารพนับถือเยโรมอยู่”

           วันเวลาของนักบุญเยโรมในการทำงานและการสวดภาวนาในถ้ำที่เมืองเบธเลเฮม ต้องชะงักลงบ้างหลายปีก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต เมื่อพวกผู้นิยมเปลาจีอุสซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพระสังฆราชยอห์นแห่งเยรูซาเล็ม ได้ส่งพวกอันธพาลกลุ่มหนึ่งบุกเมืองเบธเลเฮม เพื่อขับไล่บรรดาฤาษีและนักพรตหญิงที่อ ยู่ภายใต้การดูแลของนักบุญเยโรมให้กระจัดกระเจิงไป ฤาษีบางท่านถูกเฆี่ยน สังฆานุกรคนหนึ่งถูกฆ่า อารามหลายแห่งถูกวางเพลิง ส่วนนักบุญเยโรมเองก็ต้องหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ปลอดภัย

           นักบุญเยโรมได้ล้มป่วยลงอย่างหนักในช่วงสองปีสุดท้ายของชีวิต สายตาของท่านแย่ลงเกือบม องไม่เห็น และเสียงก็แหบแห้ง น้ำหนักตัวก็ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ร่างกายของท่านซูบผอม ท่านได้สิ้นใจอย่ างสงบในวันที่ 30 กันยายน 420 ศพของท่านถูกฝังไว้ใต้วัดพระกุมารบังเกิดที่เบธเลเฮม แต่ในศตวรรษที่ 13 ได้มีการเคลื่อนย้ายศพของท่านไปยังกรุงโรม ซึ่งในเวลานี้อยู่ในพระมหาวิหารพระนางมารีย์ (Santa Maria Maggiore)

           นักบุญเยโรมเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ท่านของพระศาสนจักรตะวันตกซึ่งประกอบด้วยนักบุญออกัสติน(354-430)นักบุญเยโรม (340-420) นักบุญอัมโบรส (339-397) และนักบุญเกรกอรี่ องค์ใหญ่(พระสันตะปาปา) (540-604) ในห้องของท่านมีเฟอร์นิเจอร์อยู่เพียง 3 ชิ้น คือไม้กางเขน หนังสือพระคัมภีร์และกะโหลกศีรษะ บางครั้งเราจะเห็นรูปของท่านกับสิงโตเพราะท่านได้เคยช่วยเอาหนามออกจากอุ้งเท้าของมัน หรือบางที่จะเห็นรูปของท่านกับนกฮูกอันเป็นสัญลักษณ์ของปรีชาญาณ/ความฉลาดรอบรู้ หรือบางที่จะเห็นรูปของท่านกับอุปกรณ์การเขียนหนังสือและแตรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการพิพากษาประมวลพร้อม ท่านเป็นองค์อุปถัมภ์ของนักโบราณคดี คนเก็บรักษเอกสาร นักห้องสมุด นักศึกษาและล่าม

           นักบุญเยโรมมักจะเตือนสอนบรรดาคริสตชนอยู่เนืองว่า

           “ใครที่ไม่รู้จักพระคัมภีร์ ก็จะไม่รู้จักพระคริสตเจ้าด้วย”

           
                                   พระศาสนจักรเฉลิมฉลองนักบุญเยโรมในวันที่ 30 กันยายน

หน้าหลัก