หน้าหลักเกี่ยวกับคณะฯโรงเรียนของคณะฯติดต่อคณะฯ

           พระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล  ปิตาจารย์และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรสากล  องค์อุปถัมภ์ของนักเทศน์    เกิดที่อันทิโอคประ มาณปี ๓๔๙ และสิ้นใจที่โคมานา แคว้นปอนทุส  เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๔๐๗ ส่วนชื่อคริสซอสโตมนั้น ได้มีการใช้เรียกท่านแทนชื่อเก่าตั้งแต่ศตวรรษที่ ๖ แล้ว

           ภาพลักษณ์ที่แท้จริงและมีชีวิตชีวาของท่านนั้น เกิดจากผลงานเขียนของท่านเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง จากที่ท่านได้มาเป็นพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล(๓๙๗)

ที่อันทิโอค

           ในศตวรรษที่ ๔  เมืองอันทิโอคได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรม เฮเรติ๊ก และกิสมาติ๊ก ที่เมืองนี้ ได้มีคนต่ างศาสนาเป็นจำนวนมากและมีอำนาจมาก ในรัฐบาลและในสถาบันการศึกษาต่างๆ พระสังฆราชส่วนใหญ่เป็นผู้ฝักใฝ่ในลัทธิของอารีอุส ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนี้ ยอห์นได้ถือกำเนิดและได้รับการเลี้ยงดูมา บิดาของท่านเป็นชาวลาติน รั บราชการทหารและมีตำแหน่งสูงในกองทัพ ส่วนมารดา นักบุญอันธูซา เป็นชาวกรีกและเป็นหม้ายตั้งแต่อายุ ๒๐ คือหลังจากให้กำเนิดยอห์นไ ด้ไม่นาน นางไม่ยอมแต่งงานอีก อุทิศตนให้กับการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนยอห์น บุตรชายด้วยความแกร่งกล้าและอย่างศรัทธา ภายหลังในผลงานเขียน “On the Priesthood” ท่านได้กล่าวถึงคุณแม่ของท่านด้วยความชื่นชมว่า เป็นแบบอย่างของมารดาคริสตชนที่ยิ่งใหญ่จริงๆ คุณแม่อั นธูซาได้ส่งยอห์นเข้าเรียนวิชาปรัชญาและวิชาวาทศิลป์ จากการที่ได้รับการศึกษาอบรมแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีกและโรมัน ได้ช่วยสร้างเจตจำนง(will)ที่แข็งแกร่งแบบชาวโรมัน และจิตใจ(spirit)ที่อ่อนโยนแบ บกรีกให้แก่ท่าน เมื่อท่านมีอายุ ๑๘ ขณะยังเป็นคริสตังค์สำรองอยู่ ก็ได้รับการโน้มน้าวให้เข้าสู่ชีวิตแบบนักพรตฤาษี ต่อมาประมาณในปี ๓๖๘ ท่านได้รับศีลล้างบาปในวันสมโภชปัสกา และ ๓ ปีต่อมา ท่านได้รับศีลผู้อ่าน ตั้ งแต่เด็กๆแล้วที่ยอห์นเวลาอยู่ที่บ้านมีความโน้มเอียงที่จะเจริญชีวิตแบบฤาษีนักพรต แลอยากจะเป็นฤาษี ท่านจึงได้ไปเจริญชีวิตอยู่ใกล้เชิงเขาแห่งหนึ่ง ณ ที่นี้ เป็นระยะเวลา ๔ ปี ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนและสวนมนต์ภาวนา ภายใต้การแนะนำของฤาษีผู้เฒ่าท่านหนึ่ง อีก ๒ ปีต่อมาท่านได้เข้าไปเจริญชีวิตในถ้ำแห่งหนึ่ง พลางศึกษาพระคัมภีร์และทำพลีกรรมอย่างเอาจริงเอาจัง อันมีผลทำให้สุขภาพของท่านแย่ลงและจำเป็นต้องกลับไปอันทิโอ ค ในปี ๓๘๑ ท่านได้บวชเป็นสังฆานุกร และได้ทำหน้าที่นี้เป็นเวลา ๕ ปี โดยได้ช่วยในพิธีกรรมต่างๆ อภิบาลคนยากจน ดูกแลคนป่วยและแม่หม้าย และช่วยสอนคำสอนพวกคริสตังค์สำรอง น่าจะเป็นไปได้ที่ในปลายของช่ วงระยะเวลานี้ ที่ท่านได้ออกผลงานเขียนที่มีชื่อเสียงของท่าน “On the Priesthood” ซึ่งพูดถึงความศักดิ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีของหน้าที่สงฆ์

           ในปี ๓๘๖ ยอห์นได้รับบวชเป็นพระสงฆ์ และได้เริ่มหน้าที่สงฆ์อันทำให้ท่านมีชื่อเสียง คือเป็นนักเทศน์ นักอธิบายพระคัมภีร์ และนักจริย ศาสตร์   ในปีถัดมา  ท่านได้พิสูจน์ตัวเองว่า  เป็นนักพูดที่เก่งกาจในช่วงเวลาที่เกิดจลาจล   เกี่ยวกับเรื่องของการขึ้นภาษีที่อันทิโอค  ประช าชนได้พังทลายรูปปั้นของพระราชวงศ์กษัตริย์ลง  และได้ทำการลากรูปปั้นนั้นประจานไปทั่วท้องถนนในเมือง คริสซอสโตมได้เผชิญกับวิกฤตินี้ ด้วยการเทศน์สอนหลายครั้งด้วยกันเป็นตอนๆ  โดยได้ตักเตือนและปลอบโยนบรรดาผู้มาฟังคำเทศน์ของท่าน ให้อดทนและละเว้นจากอะไรที่กำลังเลยเถิดไป  เพราะความโกรธแค้นและหมดหวัง พระสังฆราชแห่งอันทิโอคเองก็รีบรุ ดไปยังเมืองหลวง เพื่อขอร้องจักรพรรดิมิให้เอาผิดกับประชาชน จึงในเทศกาลปัสกา ปี ๓๘๗ ยอห์นสามารถเทศน์ถึงผลลัพท์ที่ออกมา อันทำให้ทุกคนต่างก็มีความสุขในการสมโภชปัสกา

           ยอห์นได้ทำการเทศน์สอนที่อันทิโอคเป็นเวลา ๑๒ ปีอย่างเกิดผลมากมาย  และเป็นช่วงเวลานี้เองที่ท่าน
ได้ผลิตผลงานเขียนมากมายให้เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับพระศาสนจักรสากล เป็นการให้ความรู้ทางเทววิทยาและประวัติศาสตร์    พระศาสนจักรสากลได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นนักปราชญ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเพราะการให้คำอธิบาย อย่างต่อเนื่องในเรื่องของพระคัมภีร์ ที่ท่านได้นำเสนอให้กับนักบวชและบรรดาสัตบุรุษ

พระอัยกา/พระสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล

           พระอัยกา Nectarius แห่งคอนสแตนติโนเปิล ได้สิ้นชีวิตลงในปี ๓๙๗ มีหลายๆคนอยากขึ้นมาเป็นผู้สืบตำแหน่งของท่าน แต่ว่าจักรพรร ดิ เพราะได้รับการปรึกษาจากผู้ใกล้ชิดของพระองค์ ได้ทรงเลือกยอห์นให้เป็นพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ใหม่ คริสซอสโตม
ได้ถูกหลอกล่อให้มาที่เมืองหลวงด้วยเล่ห์เพทุบายต่างๆ และได้รับการอภิเษกเป็นสังฆราช ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๓๙๘

           ทันทีที่ได้พระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล ท่านก็ต้องเผชิญกับปัญหาความยุ่งยาก และอุบายต่างๆทั้งทางพระศาสนจักรและทางอาณาจักร พระอัยกาองค์ก่อนได้ทรงใช้ทรัพย์สมบัติของพระศาสนจักรจนหมดเกลี้ยงยอห์นต้องพยายามตีกรอบของค่าใช้จ่ ายต่างๆได้เปิดโรงพยาบาลหลายแห่ง และได้ช่วยบรรเทาความน่าสงสารของคนจน พระอัยกาองค์ก่อน ได้ปล่อยปละละเลยชีวิตพระศาสนจักรของสังฆมณฑลของท่านทำให้ชีวิตของพระสงฆ์นักบวชหย่อนยานซึ่งยอห์นต้องเข้ามาทำ การปฏิรูปเสียใหม่ ท่านได้ไล่สังฆานุกรคนหนึ่ง เพราะได้ไปทำฆาตกรรม และสังฆานุกรอีกคนหนึ่ง  เพราะไปล่วงประเวณี ท่านได้ห้ามพระสงฆ์นักบวชของท่าน มิให้เก็บหญิงสาวพรหมจารีและสังฆานุกรหญิงไว้ในบ้านพักพระสงฆ์ ซึ่งได้ ก่อให้เกิดการเป็นที่สะดุดอย่างมากมาย ท่านได้สั่งพวกฤาษีจำกัดตัวเองให้อยู่แต่ในอาราม ห้ามออกไปเที่ยวเตร่ตามที่อโคจรต่างๆและได้สั่งให้บรรดาแม่หม้ายที่มีจิตใจฟุ้งซ่านตามประสาชาวโลก ให้แต่งงานใหม่เสีย หรือมิฉะนั้นก็ให้ป ระพฤติตนให้เหมาะสมกับสถานะของตัวเอง ดังนี้เป็นต้น

           การปฏิรูปของท่านนี้  ได้มีผลทำให้มีพระสงฆ์นักบวชจำนวนมากได้ลาสึกออกไปแต่บรรดาสัตบุรุษก็พอใจ
และเป็นที่ยอมรับจากพระราชสำนัก ประชาชนส่วนใหญ่ได้ปรบมือให้กับการให้บริการต่างๆของท่าน เช่นในกรณีที่ท่านได้ช่วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ให้กลับมาได้รับความดีความชอบของจักรพรรดิเสียใหม่ ฯลฯ

           อิทธิพลของยอห์นในช่วงระยะเวลานี้ ได้แผ่ขยายจนถึงขีดสูงสุด แต่ท่านเองก็มีจุดอ่อนที่ทำให้ท่านต้องพบกับโศกนาฎกรรมในภายหลัง คือโดยปกติแล้วท่านเป็นคนสงบ ชอบสันติ และอดทน แต่ความมีใจร้อนรนของท่านต่อพระเจ้า ต่อพระศาสนจักร และถือความยุติธรรมเป็นหลั ก บ่อยๆทำให้ท่านต้องพูดแบบขวานผ่าซากตรงไปตรงมา อันทำให้ท่านต้องมีพฤติกรรมที่แข็งกร้าวต่อบรรดาผู้มีอำนาจในราชสำนัก การประนา มความฟุ่มเฟือยและการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ได้สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ฟังเป็นอย่างมาก แต่ก็ได้สร้างความโกรธเคืองให้กับบรรดาข้าราชบริพา รในราชสำนักเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสตรีในราชสำนัก รู้สึกขุ่นเคืองใจมากเพราะคำตำหนิติเตียนของท่านนี้ จึงได้ไปฟ้องพระราชินี ซึ่งก็ได้รวมหัวกันหาทางที่จะกำจัดพระสังฆราชยอห์นให้พ้นทางออกไป

           ในปี ๔๐๑ ยอห์นได้ไปเข้าร่วมประชุมสภาสังคายนาของพระสังฆราชที่เมืองเอเฟซัส ท่านได้เป็นประธานของการประชุมนี้ซึ่งท่านได้ทำ การถอดพระสังฆราช ๔ องค์ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากค้าขายสิ่งของศักดิ์สิทธิ์(Simony) การแสดงอำนาจในทางพระศาสนจักรของท่านในค รั้งนี้ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้สร้างศัตรูให้ท่านมากขึ้น ดังนั้น เมื่อกลับมายังคอนสแตนติโนเปิล ท่านได้พบกับแขกผู้มาเยี่ยมท่านหนึ่งซึ่งเป็นสังฆร าช และกำลังยุยงบรรดาพระสงฆ์นักบวชให้แข็งข้อกับท่าน พระสังฆราชท่านนี้เป็นที่โปรดปรานของราชสำนักและได้ไปทำการประท้วงกับพระรา ชินี   เมื่อยอห์นขอร้องสังฆราชท่านนั้น ให้กลับไปยังสังฆมณฑลของตนเอง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพื่อป้องกันมิให้เกิดรอยร้าวระหว่างราชสำนักกับพร ะศาสนจักรแห่งคอนสแตนติโนเปิล ยอห์นก็ยินยอมให้สังฆราชท่านนั้นพักอาศัยอยู่ในเมืองหลวงต่อไปได้ แต่พระสังฆราชท่านนี้ เนื่องจากว่าเป็ นคนที่มักใหญ่ใฝ่สูง อยากจะได้ตำแหน่งพระอัยกาของเมืองหลวง จึงได้วางแผนร่วมมือกับพระสังฆราชท่านอื่นๆที่ไม่ชอบยอห์นและข้าราชสำ นักชั้นผู้ใหญ่บางคน หาทางกำจัดยอห์น โดยได้เรียกประชุมพระสังฆราชซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสมัครพรรคพวกของตน เพื่อที่จะทำการถอดถอนยอห์ นออกจากตำแหน่งพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล แต่ว่ายอห์นได้ล่วงรู้เล่ห์กลอันนี้เสียก่อน จึงไม่ยอมมาร่วมประชุมด้วย

           อย่างไรก็ตาม ในปลายปี ๔๐๓ ได้มีการยกรูปปั้นทำด้วยเงินของพระราชินีเอวดอกเซียขึ้น ณ กลางจตุรัส โดยให้หันหน้ารูปปั้นนั้นเข้าหา อาสนวิหาร เสียงตะโกนของการเฉลิมฉลองนี้ ได้รบกวนพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในอาสนวิหาร ยอห์นได้ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ตำหนิการกระทำเช่นนี้ อันเป็นสาเหตุให้พระราชินีเอวดอกเซียใช้เป็นข้ออ้างว่าพระนางถูกยอห์นสบประมาทในที่สาธารณะ และการกล่าวหายอห์นข้อใหม่ได้เกิดขึ้นอีกใน ต้นปี ๔๐๔ โอกาสฉลองนักบุญยอห์น แบปติสต์ เมื่อท่านได้เทศน์เรื่องนางเฮโรเดียสว่า”นางเฮโรเดียสได้ทรงพิโรธอีก...  และนางได้ขอให้ตัดศีรษะของยอห์น แบปติสต์ ใส่ถาดมาให้นาง...” จึงเป็ นโอกาสเหมาะ ที่ทำให้ศัตรูของยอห์นเรียกร้องให้จักรพรรดิทำการเนรเทศท่านเสีย แต่ว่าจักรพรรดิอาร์คาดีอุสเพียงแต่ห้ามมิให้ยอห์นเข้าไปในอาสนวิหารเท่านั้น ณ โอกาสสมโภชปัสกาปีนั้นเอง ค ริสตังค์สำรองจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ คน ซึ่งกำลังเตรียมจะรับศีลล้างบาป ก็มีพวกทหารกลุ่มหนึ่ง ได้ยกกำลังเข้ามาขัดจังหวะในพิธีกรรมโปรดศีลล้างบาป ฆ่าฟันพวกคริสตังค์สำรอง ทำให้น้ำศีลล้ างบาปในบ่อที่ใช้สำหรับโปรดศีลล้างบาปแดงฉานไปด้วยเลือด และได้มีความพยายามที่จะทำการฆาตกรรมยอห์นสองครั้งด้วยกัน แต่ก็ล้มเหลวทั้งสองครั้ง ความตึงเครียดระหว่างยอห์นกับราชสำนั กได้เพิ่มทวีขึ้น พวกที่ต่อต้านยอห์นได้เดินขบวนเรียกร้องจักรพรรดิให้ทำการเนรเทศยอห์น ที่สุดจักรพรรดิก็ยอมทำตาม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการจลาจลขึ้น พระองค์ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้เ นรเทศยอห์น และในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๔๐๔ ยอห์นต้องจำใจออกจากคอนสแตนติโนเปิล

ถิ่นเนรเทศและความตาย

           ขณะที่ลงเรือไปยังถิ่นเนรเทศ ได้เกิดไฟไหม้อาสนวิหารและรัฐสภา ยอห์นและพรรคพวกได้ถูกกล่าวหาว่า เป็นคนวางเพลิงเพื่อจะปกปิด ทรัพย์สิน    ที่พวกเขาขโมยออกมาจากพระคลังของพระศาสนจักร แต่ว่าหลังจากเพลิงได้สงบลงแล้ว และได้มีการตรวจนับทรัพย์สิน ก็ปรากฎว่าไม่มีอะไรสูญหาย

           ก่อนที่ยอห์นจะออกจากเมืองหลวง ท่านได้เขียนจดหมายถึงพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ ที่ ๑ เรี่องการที่ท่านถูกถอดถอนออกจากตำแห น่งพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล ทั้งได้ขอร้องพระสันตะปาปาให้ทำการไต่สวนใหม่ เธโอฟิลุส พระอัยกาแห่งอะเล็กซานเดรียซึ่งเป็นปฏิปัก ษ์กับยอห์น ได้ทำรายงานส่งไปให้พระสันตะปาปาด้วย เมื่อพระองค์ได้ทรงฟังความของทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็ได้ทรงตัดสินพระทัย ที่จะไม่ถอดถอนยอห์นออกจากตำแหน่งพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิล พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ได้ทร งขอร้องจักรพรรดิอาร์คาดีอุส ให้คืนตำแหน่งพระอัยกาให้กับยอห์นและให้ทำการตัดสินเรื่องนี้อีกครั้ง โดยเรียกประชุมสังคายนาของบรรดาพระสังฆราชทั้งกรีกและลาตินที่ซาโลนิกา แต่ก็ไม่ได้มีการประชุมสังคายนาตามที่ว่านี้เลย

           พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ได้ทรงส่งพระสังฆราช ๕ องค์ ให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปหาจักรพรรดิอาร์คาดีอุส พ อไปถึงคอนสแตนติโนเปิล พระสังฆราชทั้ง ๕ องค์นี้ ก็โดนจับเข้าคุกและได้รับการปฏิบัติอย่างน่าอับอาย ที่สุดก็ได้ถูกส่งกลับกรุงโรม พระสันตะปาปา จึงได้ตัดสัมพันธ์กับพระอัยกาเธโอฟิลุสและบรรดาพระสังฆราช ที่เป็นปรปักษ์กับยอห์ น การตัดขาดนี้ได้ยืดเยื้อไปจนถึงหลังอนิจกรรมของยอห์น ต่อมาได้มีการชดเชยความผิดนี้ และชื่อเสียงของยอห์น ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ที่อะเล็กซานเดรีย อันทิโอค และคอนสแตนติโนเปิล

           ยอห์นได้ถูกเนรเทศออกจากเมืองหลวง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการเดินทางที่ใช้เวลาถึง ๓ ปี ครั้งแรกให้ไปอยู่ที่คูคู ซุส(Cucusus)ในอาร์เมเนีย แม้ว่าเป็นหนทางที่ไกลและเต็มไปด้วยอันตราย เพื่อนฝูงก็ยังอุตส่าห์ไปเยี่ยมท่าน ทั้งยังมีการติดต่อกับสัตบุรุษที่อัน ทิโอคและคอนสแตนติโนเปิล พวกศัตรูของท่านเห็นเช่นนี้ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกโกรธเป็นฟืนเป็นไฟที่ความนิยมในระหว่างหมู่ประชาชนที่มีต่อท่านนั้น ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดความร้อนแรงลง และได้ขอร้องจักรพรรดิให้เนรเทศยอห์นออกไปให้ไกลกว่านั้นอีก ให้ไปอยู่ที่ทะเลดำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเป็ นพันกิโลเมตรจากเมืองหลวง ท่านต้องเดินทางข้ามภูเขา ๖ ลูกและข้ามห้วยข้ามลำธารอีกนับจำนวนไม่ถ้วน ทหารยามที่ไปด้วยบังคับท่านให้เ ดิน โดยไม่ให้มีอะไรปกปิดศีรษะท่ามกลางแสงแดดและฝน ท่านได้หมดกำลังลงเพราะความทุกข์ยากลำบากจากการเดินทางและเป็นไข้ ยอห์ นได้สิ้นใจที่โคมานา(Comana)ในแคว้นปอนทุส(Pontus) ขณะที่กำลังจะหมดลมหายใจ ท่านได้เปล่งเสียงภาวนาว่า “พระเกียรติมงคลจงมีแด่พระเจ้าสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง”

           ในปี ๔๓๘ จักรพรรดิเธโอโดซีอุส ที่ ๒  ได้ทรงนำศพของยอห์น กลับมายังคอนสแตนติโนเปิล และได้ทรงทำการปลงศพและฝังอย่างส ง่าในวัดนักบุญอัครสาวก ในปี ๑๒๐๔ พวกชาวเวนิสได้ทำการปล้นสะดมภ์เมืองหลวงนี้ และได้นำพระธาตุของท่านไปกรุงโรม ซึ่งยังคงได้รับการเก็บรักษาไว้ในวัดน้อยของพระมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

อุปนิสัยและวาทศิลป์

           ภาพไอคอน(Icon) ของนักบุญยอห์น คริสซอสโตม ที่เราเห็นบ้างไม่เห็นบ้างนั้น มิใช่เป็นภาพจริงๆของท่าน แต่ว่าธรรมประเพณีได้บอ กเราว่ายอห์นมีลักษณะเป็นฤาษีนักพรต แม้จะไม่สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็นเท่าใดนัก แต่ก็เป็นคนที่ไว้ศักดิ์ศรี ท่านมีสติปัญญาที่เฉียบแหลม และแม้ว่าท่านจะต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านก็ยังออกไปช่วยเหลื อคนจนและคนบาป ท่านเป็นคนที่เต็มไปด้วยจินตนาการ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้การเทศน์สอนของท่านมีพลังอย่างยิ่งและมีความหลากหลาย

           ท่านไม่ได้เป็นนักพูดในรูปแบบคลาสสิค บทเทศน์ของท่านดูเหมือนว่าจะไม่มีความสวยงามทางด้านวรรณกรรม บางครั้งก็ห้วนๆ เป็นหัวข้อๆ ซ้ำไปซ้ำมา แต่ก็มีเอกภาพภายในและให้ประโยชน์ทางด้านจิตใจ บ่อยๆครั้งคำเทศน์สอนของท่านถูกขัดจังหวะ ด้วยการปรบมือให้และด้วยน้ำตา ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ท่านรู้สึกเป็นอิสระที่จะพูดอะไรก็ได้ตามที่ท่า นต้องการ และผู้ฟังเองก็อยากฟังสิ่งที่ท่านพูด มีนักพูดน้อยคนที่สามารถปลุกเร้าความสนใจของผู้ฟังได้เหมือนท่าน เพราะท่านสามารถสะกดผู้ฟังให้ฟังท่านได้อย่างน่าอัศจรรย์

ผลงานเขียน

           ความสำเร็จ หรือความยิ่งใหญ่ของยอห์นในประวัติพระศาสนจักร ในเรื่องของความสามารถทางการปกครอง ยังมีน้อยกว่าพรสวรรค์ของ ท่านในฐานะที่เป็นนักเขียนและนักเทศน์ ปิตาจารย์กรีกน้อยท่านที่ได้ทิ้งผลงานเขียนในรูปแบบของหนังสือทางวิชาการ บทเทศน์และจดหมายอย่างมากมายเหมือนอย่างยอห์น

           หนังสือทางวิชาการ(Treatises) หนังสือทางวิชาการเหล่านี้จะพูดถึงชีวืตนักบวช การบำเพ็ญพรต และการปกป้ องความเชื่อ เรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุด น่าจะเป็นคำตักเตือน ๒ เล่ม เล่มหนึ่งเป็นคำตักเตือนไปยังฤาษีองค์หนึ่งที่ได้พลาดพลั้งไป และอีกเล่มหนึ่งเขียนถึงลูกศิษย์ของท่าน ธีโอดอร์ แห่งม็อปซูเอสเทีย ซึ่งกำลังวางแผนจะกลับไป ดำเนินชีวิตแบบชาวโลกและแต่งงาน นอกนั้น ยังมีหนังสือเล่มอื่นๆอีก เช่น หนังสือที่ประนามธรรมเนียมของพระสงฆ์ที่มีหญิงสาวพรหมจรรย์เป็นแม่บ้าน หนังสือที่พูดถึงความยิ่งใหญ่และศักดิ์ศรีของหน้าที่ทางอภิบาลของพระสงฆ์(De Sacerdotio) หนังสือที่ชี้แสดงให้พวกยิวและคนต่างศาสนาเห็นว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเป็นเจ้า(Contra Judaeos et Gentiles) และหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่เขียนในระหว่างถูกเนรเทศ (Quod nemo laeditur)

บทเทศน์(Homilies) บทเทศน์ของท่านจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน คือ

           ๑.การอธิบายเกี่ยวกับพระคัมภีร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นการอธิบายเกียวกับพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม คือ ๖๗ บทเกี่ยวกับหนังสือปฐมกาล และอีก ๕๙ บทเกี่ยวกับบทเพลงสดุดี ส่วนคำอธิบาย เกี่ยวกับพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ แบ่งออกเป็นพระวรสารของนักบุญมัทธิว ๙๐ บท พระวรสารของนักบุญยอห์น ๘๘ บท หนังสือกิจการอัครสาวก ๕๕ บท และอีกกว่า ๒๐๐ บท เป็นการอธิบายเกี่ยวกับจดหมายของนักบุญเปาโล

           ๒.บทเทศน์พิเศษเฉพาะเรื่อง ที่สำคัญๆมีอยู่ ๒๑ เรื่องด้วยกัน เช่นในโอกาสที่เกิดการจลาจลที่อันทิโอค เรื่องประท้วงพวกคริสเตียนยิว เ รื่องธรรมชาติที่เข้าใจไม่ได้ของพระเป็นเจ้า และเรื่องคำสอนของศีลล้างบาป เป็นต้น
๓.บทเทศน์ในโอกาสต่างๆ เช่นในโอกาสรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ของยอห์น ในโอกาสก่อนที่จะถูกเนรเทศ ในโอกาสฉลองนักบุญบางองค์ และบทเทศน์เรื่องของศีลธรรม

           จดหมาย(Letters) จดหมายที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในจำนวน ๒๓๖ฉบับของท่านนั้น น่าจะเป็นจดหมายที่ยอห์นเขียนถึงพระสันตะปาปาอิ นโนเซนต์ ที่ ๑ และอีก ๑๗ ฉบับ ถึงสังฆานุกรสตรีโอลิมปีอัส และอีก ๑๐๐ กว่าฉบับ ถึงบุคคลต่างๆอันทำให้เห็นภาพของการถูกเนรเทศของท่าน

นักอธิบายพระคัมภีร์และนักปราชญ์

           ในฐานะที่เป็นนักอธิบายพระคัมภีร์ คริสซอสโตมได้ดำเนินตามแบบอย่างของสถาบันการศึกษาแห่งอันทิโอค ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องของวิ ธีการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ แตกต่างจากสถาบันการศึกษาแห่งอะเล็กซานเดรียซึ่งนิยมใช้แบบอุปมา ยอห์นใช้ความลึกซึ้งของท่านในการตีคว ามหมายของพระคัมภีร์ เพื่อจะนำเอาไปประยุกต์กับชีวิตและความประพฤติของสัตบุรุษของท่าน การอธิบายพระคัมภีร์ของท่าน มีจุดมุ่งหมายแต่เพียง เพื่อสอนศีลธรรมและตักเตือนสัตบุรุษของท่านให้ประพฤติคุณธรรม

           ยอห์นมิใช่เป็นนักเทวศาสตร์เชิงวิเคราะห์ ท่านมีความรู้สึกว่ามีน้อยคนที่อยากจะไปวัดเพราะอยากฟังข้อคำสอนที่ลึกซึ้ง แต่ว่าพวกเขาอ ยากจะฟังข้อคำสอนทางศีลธรรมของพระวรสาร อุดมการณ์แห่งความรักเมตตาแบบคริสตชน และความหวังที่พระเจ้าจะทรงช่วยพวกเขาให้รอดพ้นจากความอาภัพน่างสงสารมากกว่า หน้าที่ของท่านคือต้องพยายามบำรุงรักษาพวกเขา ให้เป็นสมาชิกที่เหมาะสมขององค์พระคริสตเจ้า อย่ างไรก็ตามผลงานเขียนของท่าน ก็มั่งคั่งไปด้วยข้อคำสอนต่างๆ และในชีวิตจริง ท่านมักจะเป็นคนแรกๆที่กล้าออกมายืนยันความเชื่ออย่างไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆทั้งสิ้น ท่านได้สอนอย่างตรงไปตรงมาถึงสองพระธรรมชาติของพระเย ซูเจ้า แต่ก็ยังไม่เห็นความพยายามของท่านที่จะอธิบายการเป็นพระบุคคลเดียวของพระคริสต์ ท่านได้ให้คำอธิบายหลายครั้งด้วยกันถึงการสถิตย์อย่างแท้จริง และบทบาทของการไถ่กู้ให้รอดพ้นของพระเยซูคริสตเจ้า ในพิธีมิสซาบูชา ขอบพระคุณ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่พระศาสนจักรให้เกียรติและขนานนามท่านว่า “นักปราชญ์แห่งศีลมหาสนิท” ท่านมิได้อธิบายอย่างแจ้งชัดถึงธรรมชาติและการถ่ายทอดของบาปกำเนิด ทั้งไม่เคยได้กล่าวถึงพระน างมารีย์ว่าเป็นพระมารดาของพระเจ้า หรือพระมารดาของพระคริสตเจ้า หรือพระมารดาของมนุษย์ แต่ก็ได้พูดถึงความเป็นพรหมจรรย์ของพระนางตั้งแต่กำเนิด ท่านได้พูดถึงการรับศีลอภัยบาปแบบสาธารณะ และแบบที่สารภาพบาปต่ อพระเจ้าตัวต่อตัว ซึ่งทำให้คนบาปได้ทำการตัดสินตนเองว่าได้ทำผิด และพระเจ้าได้ทรงอภัยบาปให้แก่เขา ท่านได้ยอมรับความเป็นประมุขสูงสุดของนักบุญเปโตร แต่มิใช่ในระดับเดียวกันที่ท่านได้ให้ ความเป็นประมุขแก่พระสันตะปา ปาผู้สืบตำแหน่งต่อมา แม้ว่า ในเวลาที่ท่านได้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งพระอัยการแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล ท่ านจะได้ขอร้องให้พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที ๑ ให้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องราวให้ท่านและให้คงรักษาความสัมพันธ์กับท่านก็ตาม สำหรับท่า นแล้ว พระศาสนจักรต้องเป็นหนึ่งเดียว กิสมาติ๊ก(Schism) ซึ่งเป็นการแบ่งแยกพระศาสนจักรนั้น ก็ชั่วร้ายเท่าๆกับเฮเรติ๊ก (Heresy) ซึ่งไม่ยอมรับข้อความเชื่อของพระศาสนจักร

           นักบุญยอห์น คริสซอสโตม มิใช่เป็นนักเทศน์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของพระศาสนจักรสากลเท่านั้น แต่ท่านยังเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องของ ความศักดิ์สิทธิ์และในเรื่องของความเอาใจใส่ต่อคนยากจน ซึ่งท่านได้แสดงออกให้เห็นเมื่อท่านเป็นสังฆราชแห่งอันทิโอค และพระอัยกาแห่งคอนสแตนติโนเปิลอีกด้วย
 

หน้าหลัก